วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Orchid กล้วยไม้ดอกเด็ดๆ

ใกล้งานสัปดาห์เกษตรที่ มอ แร้ว
ต้องหาความรู้เรื่องกล้วยไม้สักหน่อย จะได้ไปช้อบปิ้งต้นไม้อย่างสบายใจ

เป้าหมายปีนี้อยากได้มาเพิ่มสัก สามสี่ต้นพอ
เป้าหมายคือ ดอกดก เป็นพุ่ม หรือเป็นช่อยาว ออกดอกทั้งปียิ่งดี

อันแรกเลย




http://www.orchidtropical.com/itemid96.php  กล้วยไม้ขวดเป็นยังไงนะ

http://www.orchidtropical.com/product-small.php  ไม้นิ้ว



ลักษณะลำต้น


กล้วยไม้ สกุลแวนด้า 2

มาดูกล้วยไม้สกุลแวนด้ากันต่อเลย

***แวนด้า สามปอยขุนตาล (Vanda denisoniana)

00677-129-a1[1]
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda denisoniana
แวนด้า สามปอยขุนตาล เป็นกล้วยไม้เจริญเติบโตทางยอด พบได้ตามเทือกเขาทางภาคเหนือ สามปอยขุนตาน ที่พบแต่ละแหล่งจะมีลักษณะของดอกที่แตกต่างกัน ลักษณะ กลีบดอกสีเหลือง ดอกขนาดประมาณ 6 เซนติเมตรมีกลิ่นหอม 1 ช่อมีประมาณ 5 – 7 ดอก ลำต้นกลมยาวประมาณ 10 – 15 ซม. ใบยาว 15 – 20 ซม. กว้าง 1.5 ซม. ฤดูกาลออกดอกอยู่ในช่วงเดือน กุมภาพันธุ์ ยาวนานถึงเดือนกรกฎาคมหรือมากกว่า ดอกของกล้วยไม้ชนิดนี้บานยาวนานถึงหนึ่งเดือนเลยทีเดียว

***แวนด้า สามปอยชมพู (Vanda bensoni)

61560bd8b
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda bensoni
แวนด้า สามปอยชมพู  เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน แหล่งที่พบคือภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีลักษณะใบซ้อนเรียงสลับกัน ใบกว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 12 – 15 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งและยาวประมาณ 50 ซม. ช่อหนึ่งมี 13–15 ดอก ดอกสีน้ำตาล มีลายสมุกคล้ายฟ้ามุ่ย กลีบดอกหนาขอบกลีบเป็นคลื่น ด้านหลังกลีบและกระเป๋าเป็นสีชมพู ดอกห่าง รูปดอกโปร่ง ขนาด 4.4 ซม. ลำต้นยาว 20 – 30 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม

***เอื้องสามปอยหลวง Vanda benbonii

 6156033fa

**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda benbonii
เอื้องสามปอยหลวง  เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ช่อดอกออกด้านข้างไม่ตั้งตรง ช่อดอกสั้น มีดอกประมาณ 5–7 ดอกต่อช่อ รูปดอกโปร่ง กลีบดอกหนาแข็ง ไม่ค่อยซ้อน ดอกมีสีเหลือง บางต้นสีเหลืองเข้ม บางชนิดมีประจุดสีน้ำตาลอยู่ที่โคนกลีบ กลีบหนาแข็งคล้ายดอกไม้เทียน ดอกขนาด 6-7 ซม. ออกดอกเดือนกันยายน-พฤศจิกายน

**เข็มขาว Vanda lilacina

ดาวน์โหลด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda lilacina
เข็มขาว เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลางตอนบน ใบรูปแถบเรียงสลับ ปลายใบหยักเป็นฟัน ออกดอกที่ข้างลำต้น มีหลายช่อ ยาว 12-15 ซม. ช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ดอกขนาด 1.5-2 ซม. กลีบดอกสีขาวรูปแถบแกมรูปไข่กลับ กลีบปากมีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็ก ปลายแผ่เป็นแผ่นสั้นผายออก มีจุดขนาดเล็กสีม่วงหนาแน่น ปลายเส้าเกสรสีเหลือง ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน

***แวนด้า ฟ้ามุ่ย Vanda coerulea

1293536302[1]
ชื่อวิทยาศาสตร์ Vanda coerulea
ฟ้ามุ่ย เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ขึ้นเกาะอยู่กับเปลือกของต้นไม้ในป่า อาศัยเพียงแร่ธาตุที่ชะมากับสายฝนผสานกับความชื้นในอากาศ ก็สามารถถชีวิตผลิดอกให้เราเห็นได้ทุกปี ฤดูกาลออกดอกคือระหว่างเดือน กรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม ลักษณะ ลำต้นตรงแข็งยาวประมาณ 8-20 ซม. ใบยาวประมาณ 20 ซม. ปลายใบหยัก ดอกออกเป็นช่อตั้งจากซอกใบ ช่อดอกยาว 20-40 ซ.ม. ช่อดอกโปร่ง เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาดกว้าง 4-7 ซ.ม. โดดเด่น ด้วยกลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปร่างมน สีฟ้าอ่อนหรือสีฟ้าอ่อนหรือสีฟ้าอมม่วงมีเสน่ห์ดึงดูดสายตา และน้อยนักที่จะพบสีสันอย่างเช่น สีชมพู หรือ สีขาวล้วน ซึ่งเป็นสีที่หายากที่สุด ทั่วกลีบมีลายเส้นร่างแหสีครามเข้มนิยมเรียกกันว่า “ลายตาสมุก” ส่วนกลีบปากมีสีม่วงน้ำเงินงามยิ่ง

***แวนด้า เทอเรส ,เอื้องโมกข์ (Vanda teres)

images
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Vanda teres
แวนด้า เทอเรส หรือเอื้องโมกข์   เป็นกล้วยไม้ป่าพื้นเมืองของไทย พบเกาะอาศัยเลื้อยอยู่ตามต้นไม้สูง มีลำต้นกลมขนาดเท่าดินสอ จัดเป็นแวนด้าใบกลมพันธุ์แท้ ใบกลมยาวประมาณ 10 ซม. ก้านช่อดอกยาว มีดอกน้อย กลีบนอกสีขาวหรือชมพูม่วง กลีบในใหญ่กว่ากลีบนอก มีรูปเกือบเป็นวงกลม ขอบหยิกเป็นคลื่น ปากมีสามแฉกสีเหลืองมีสีแดงด้านในหูปากม้วนหุ้มเส้าเกสร ปลายปากสีม่วงชมพูเหลือง ขนาดของดอกแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ โดยเฉลี่ยประมาณ 7–10 ซม.
 http://maisaun.com/
แวนด้า เป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ พบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40 ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์ แวนด้าได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของแวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น 4 ประเภท คือ แวนด้าใบกลม แวนด้าใบแบน แวนด้าใบร่อง และแวนด้าก้างปลา ในบรรดาแวนด้าทั้ง 4 ประเภทนี้ แวนด้าใบกลมเป็นแวนด้าที่เลี้ยงง่ายที่สุด สามารถปลูกลงแปลงกลางแจ้งได้โดยไม่ต้องมีโรงเรือน แต่ดอกมักจะบานไม่ทน ส่วนที่เลี้ยงยากที่สุดคือ แวนด้าใบแบน มีหลายพันธุ์ ทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ ฟ้ามุ่ย เพราะดอกใหญ่ สีสวย การเลี้ยงแวนด้าใบแบนจำเป็นต้องมีโรงเรือนเพราะต้องการแสงที่พอเหมาะ สำหรับแวนด้าใบร่องเป็นลูกผสมระหว่างใบกลมและใบแบน ถูกผสมขึ้นเพื่อให้ปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น แต่ดอกมักจะสีไม่สวยและปากหักง่าย
ยกตัวอย่างกล้วยไม้สกุลแวนด้าว่ามีอะไรบ้าง

***แวนด้าฮุกเคอเรียน่า (Vanda hookerriana)

 1200540375

**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda hookerriana
แวนด้าฮุกเคอเรียน่า  เป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของประเทศไทย จัดเป็นแวนด้าใบกลมพันธุ์แท้ ลักษณะลำต้นกลม ใบกลมคล้ายแวนด้าเอื้องโมกข์ แต่ใบเล็กแหลมปลายตัดขนาดลำต้นสูงตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป ช่อดอกออกใกล้ยอด ยาวประมาณ 20 ซม. ออกดอกตั้งแต่ 3–5 ดอกต่อช่อ กลีบนอกบนสีขาวอมม่วงเป็นรูปไข่กลับ กลีบดอกคู่ล่างสีขาวล้วน กลีบในรูปไข่ขอบหยักสีขาวเหลือบม่วงประจุดสีม่วงแก่ ปาก 3 แฉกสีม่วงมีเส้นสีอ่อน เส้าเกสรกลมสีม่วง ดอกใหญ่ขนาดประมาณ 7 ซม.

***แวนด้าไตรคัลเลอร์ (Vanda tricolor)

OLYMPUS DIGITAL CAMERA
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda tricolor
แวนด้า ไตรคัลเลอร์ (เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของชวา ลักษณะ กลีบดอกสีเหลืองปนขาว จุดสีน้ำตาลแดง ปากสีม่วง 1 ช่อมีประมาณ 5 – 10 ดอก ใบยาวประมาณ 40 ซม.  กว้าง 4 ซม.

***แวนด้าแซนเดอเรียนา (Vanda sanderiana) 

615607500

**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda sanderiana
แวนด้าแซนเดอเรียนา เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศฟิลิปปินส์ จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน หน้าตัดของใบเป็นรูปตัว  ปลายใบเป็นฟันแหลมๆ ไม่เท่ากัน ใบเรียงซ้อนค่อนข้างถี่มีลักษณะเป็นแผง ช่อดอกตั้งแข็งตั้งยาวประมาณ 20–30 ซม. ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5–15 ดอก ดอกเรียงรอบช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกเป็นพุ่มสวยงาม ดอกมีกลีบนอกคู่ล่างใหญ่ มีสีแตกต่างจากกลีบนอกบนและกลีบในทั้งคู่สีคล้ายครึ่งล่างและครึ่งบน ครึ่งบนเป็นสีชมพูม่วงอ่อน ครึ่งล่างเป็นน้ำตาลไหม้อยู่บนพื้นสีเขียว เป็นลายตาสมุก ปากยาวประมาณ 3 ซม กระเป๋าและคอปากสีเหลืองอมเขียว และมีเส้นสีแดงบางๆ แผ่นปากมีสีน้ำตาลไหม้ รูปดอกใหญ่ ขนาดดอกโตประมาณ 8–12 ซม.

***แวนด้า เดียรีอิ (Vanda dearei)

vanda_dearei
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda dearei
แวนด้า เดียรีอิ เป็นกล้ายไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบอเนียว จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน มีลักษณะของลำต้นอ้วนใหญ่ ใบกว้างและบิดเล็กน้อย ช่อดอกสั้นมีดอกน้อย กลีบนอกและกลีบในกว้าง แข็งหนา เนื้อละเอียด ดอกสีเหลืองนวลสะอาด หูปากสองข้างเล็กขาว โคนแผ่นปากสีขาว ปลายสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม

**เอื้องสามปอยขาว (Vanda denisoniana)

61560a078
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda denisoniana
เอื้องสามปอยขาว Vanda เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีลักษณะใบซ้อนแบบฟ้ามุ่ย แต่ใบบางและยาวกว่า ก้านช่อยาว ดอกมีสีขาว ปากใหญ่สีขาว ในปากเป็นสีเหลือง กลีบดอกด้านนอกและกลีบในมีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน

***แวนด้า อินซิกนิส  (Vanda insignis)

1223529959
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda insignis
อินซิก เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของเกาะโมลูกัส จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน ใบยาวประมาณ 15–20 ซม. ช่อดอกไม่ยาว มีดอกประมาณ 4–7 ดอก มีกลีบนอกและกลีบในห่างสีเหลืองอมเขียว มีจุดสีช๊อกโกแลต หูปากเล็กสีขาว แผ่นปากกว้างสีม่วงกุหลาบขนาดโตประมาณ 6 ซม.

กล้วยไม้ สกุลช้าง

กล้วยไม้สกุลช้าง ที่มีอยู่ในโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศในแถบอินโดจีน อินเดีย ศรีลังกา ภาคใต้ของหมู่เกาะในทะเลจีน และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก สำหรับในประเทศไทยพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างมีกระจายพันธุ์อยู่ทุกภาคของประเทศ บางภาคอาจมีกล้วยไม้สกุลช้างชนิดหนึ่งแต่อาจไม่มีอีกชนิดหนึ่ง กล้วยไม้สกุลช้างที่พบตามธรรมชาติเพียง 4 ชนิด คือ ช้าง (Rhynchostylis gigantea) ไอยเรศหรือพวงมาลัย (Rhynchostylis retusa) เขาแกะ (Rhynchostylis coelestis) และช้างฟิลิปปินส์ (Rhynchostylis violacea) สำหรับ 3 ชนิดแรกมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง ส่วนช้างฟิลิปปินส์มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์
กล้วยไม้สกุลช้าง เป็นล้วยไม้ที่ ฮิตติดลมบนมานานในกลุ่มผู้รักการเลี้ยงกล้วยไม้ แทงช่อดอกเดือน พย-ธค ดอกบานช่วง ธค-กพ โดยเฉพาะปีนี้อากาศเย็นช้างจะชอบอากาศเย็นเป็นพิเศษ ให้ดอกชมกันมากมายสมใจคนเลี้ยงกล้วยไม้ปีนี้ วัสดุปลูกที่ช้างชอบคือกระเช้าไม้สัก ขอนไม้ต่างๆ ต้นไม้ก็ชอบเอาไปเกาะรากเดินดีมาก ดีกว่าเลี้ยงในกระถางพลาสติก วัสดุปลูกที่ใช้ปลูกในกระถางพลาสติกก็ถ่านก้อนเล็กๆใส่ เป็นหลัก
**ไอยเรศหรือพวงมาลัย
13443297162244091470_513f90f029
 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis retusa (L.) Blume วงศ์ : Orchidaceae
     เอื้องไอยเรศมีชื่อพื้นเมืองหลายอย่างไม่ว่า ไอยเรศ, เอื้องพวงหางรอก, เอื้องหางฮอก, เอื้องไอยเรศมีลักษณะมีลำต้นใหญ่แข็งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้าง แต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า ใบยาวประมาณ 40 ซม.กว้างประมาณ 4 ซม. มีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง ปลายใบมีลักษณะเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก โค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 ซม.ดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 150 ดอก รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พวงมาลัย” ต้นใหญ่ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกขนาดมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 ซม.สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน แผ่นปากมีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไปข้างหน้า มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ฤดูกาลออกดอกอยู่ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย
**ช้าง
84091246712376chang0020
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis gigantea  วงศ์ : Orchidaceae
กล้วยไม้ช้างมีรูปร่างใหญ่โตกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน ใบหนา แข็ง ยาวประมาณ 25-30 ซม. กว้างประมาณ 5-7 ซม. ปลายใบเป็นแฉก 2 แฉก มน และสองแฉกของใบไม่เท่ากัน รากเป็นรากอากาศ มีขนาดใหญ่ ปลายรากมีสีเขียว ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกโค้งลง ช่อดอกยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ช่อละ 25-60 ดอก ขนาดดอกประมาณ 2.5-3.0 ซม. กลีบนอกคู่ล่างกว้างยาวพอๆ กันกับกลีบนอกบน ส่วนกลีบในเรียวกว่ากลีบนอก เดือยดอกอยู่ในลักษณะเหยียดตรงไปข้างหน้า ปลายแผ่นปากหนา แข็งและปลายสองข้างเบนเข้าหากัน ปลายปากมี 3 แฉก สองแฉกข้างมน แฉกกลางมนและมีขนาดเล็กกว่ามาก ใกล้โคนปากด้านบนมีสันนูนเตี้ยๆ 2 สัน ดอกมีกลิ่นหอมฉุน หอมไกล ดอกบานในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และบานทนได้ประมาณสองหรือสามสัปดาห์ ช้างแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะสีของดอก คือ ช้างกระ ช้างแดง และช้างเผือก ทั้งสามประเภทเป็นพันธุ์แท้พันธุ์เดียวกัน มีลักษณะลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกคล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันตรงที่สีของดอก กล้วยไม้ช้างเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากเนื่องจากเลี้ยงได้ง่าย ออกดอกทุกปี การที่กล้วยไม้ชนิดนี้ได้ชื่อว่า “ช้าง” อาจมาจากสองกรณีคือ ลักษณะที่มีลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกใหญ่กว่ากล้วยไม้ชนิดอื่น อีกกรณีหนึ่งอาจเป็นเพราะดอกตูมของกล้วยไม้ชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายหัวช้างและมีเดือยดอกคล้ายกับงวงช้าง
**เขาแกะ
1367504945-Picture115-o1367505002-Picture110-o
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis coelestis วงศ์ : Orchidaceae
เขาแกะ ในธรรมชาติเรามักพบได้ทั่วไปบนคาคบไม้เตี้ย-สูงในป่าโปร่งร้อน เขาแกะ นับได้ว่าเป็นกล้วยไม้ที่ทนร้อนได้อย่างสุด ๆ ลักษณะของเขาแกะ ลำต้นเขาแกะ มีรูปทรงใบเป็นรูปทรงกระบอก ค่อนข้างเตี้ย ตั้งตรง เจริญเติบโตทางยอด ใบออกเรียงสลับซ้ายขวา โคนใบเป็นแผงชิดกันแน่น ปลายใบโค้งลงเล็กน้อย มองดูคล้าย เขาแกะ หรือเขาควาย แผ่นใบบางและเหนียวห่อเข้าหากัน ยาว 10-15 ซม. ดอกเป็นช่อตั้งตรง ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกเบียดกันแน่น ขนาดดอกราว 1.5-2.0 ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปรีแกมรูปไข่กลับ กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปไข่กลับ กลีบดอกรูปขนานแกมรูปไข่ กลีบทั้ง 5 กลีบมีสีขาว ขอบกลีบมีขลิบเป็นสีม่วงคราม บางต้นอาจมีสีออกไปทางแดง หรือไปทางสีน้ำเงินก็มี ปลายกลีบมน กลีบปากรูปลิ่ม มีเดือย ดอกแบนและปลายโค้งลง ดอกบานทนนาน ประมาณ 2 สัปดาห์ และมีกลิ่นหอม ช่วงเวลาที่ออกดอก คือฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม เขาแกะบางต้นอาจมีสีต่างออกไป เช่น มีสีม่วงมากจนเกือบแดง เรียกว่า “เขาแกะแดง” บางต้นมีสีไปทางสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน บางต้นดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ เรียกว่า “เขาแกะเผือก” ซึ่งค่อนข้างหาได้ยาก เดือยดอกยาวกว่าและแคบกว่าของไอยเรศ ปลายของเดือยดอกโค้งลง ดอกบานทนประมาณสองสัปดาห์
**ช้างฟิลิปปินส์
11082735_850603578320901_805549469_n
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis violacea วงศ์ : Orchidaceae
      ช้างฟิลิปปินส์ ไม่มีถิ่นกำเนิดในไทย เป็นกล้วยไม้ที่มีรูปทรงของต้นและใบคล้ายกับช้างไทย แหล่งที่พบ ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว กัมพูชา ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกของไทย ลักษณะ กลีบดอกสีขาว สีขาวจุดม่วงแดง สีม่วงแดง กลิ่นหอมฉุน ใบหนาแข็ง ปลายใบหยักใบกว้างประมาณ 5 – 7 ซม. ยาว 25 – 30 ซม. รากมีขนาดใหญ่ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์

กล้วยไม้ สกุลหวาย 2

ต่อจากโพสที่แล้ว เรื่องกล้วยไม้สกุลหวานมายกตัวอย่างกันต่อเลยดีกว่า

***เอื้องผึ้ง

1396345419-biodiversi-o
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium lindleyi Steud. เอื้องผึ้ง มักขึ้นอยู่บริเวณของป่าดิบแล้ง สูงจากระดับน้ำทะเลราว ๆ 300 – 1,500 ม. โดยเกาะอยู่กับต้นไม้ตามคาคบสูง  ลักษณะต้นของ เอื้องผึ้ง จะมีผิวลำลูกกล้วยที่คล้ำคือมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะกลมรีและหนา และที่ดูง่ายที่สุด 1 ลำลูกกล้วยจะมีเพียง 1 ใบเท่านั้น เอื้องผึ้ง จะให้ดอกเร็วกว่าเอื้องคำ ดอก เอื้องผึ้ง จะออกดอกในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ดอกมีกลิ่นหอมแรงในช่วงกลางวัน สีเหลืองสดใส ช่อห้วยย้อยชลงยาวตั้งแต่ 15-40 ซ.ม. มีจำนวนดอกไม่แน่นจนเกินไปและพลิ้วไหวได้ง่ายยามต้องลม ดอกบานเต็มที่ขนาด 2-3 ซ.ม. แรกบานจะมีสีเหลืองอมเขียว ระยะต่อ ๆ มาสีจะเข้มขึ้น จนเป็นสีเหลืองอมส้มแสด ดอกของ เอื้องผึ้ง บานได้นานสุดราว ๆ 4 – 5 วันนับจากวันที่บานได้เต็มที่แล้ว แต่หากดอกของเอื้องผึ้งถูกน้ำจะบานได้เพียง 2-3 วันเท่านั้น

***พวงหยก, หยปมวา

b_265_3
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium findlayanum Par. & Rchb.f. เอื้องพวงหยก  กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นสีเขียวอ่อน ผิวเป็นมันใส ปล้องโป่ง ส่วนโคนคอด ยาว 25-40 ซม.ดอก ออกเป็นช่อจากข้อใกล้ปลายยอด จำนวน 1-3 ดอกต่อช่อ ดอกบานเต็มที่ กว้าง 5-7 ซม. มีกลิ่นหอม สีม่วงอ่อนหรือสีขาว กลีบปากมีแต้มใหญ่ สีเหลือง บ้างก็มีสีดำเรียก พวงหยกตาดำ บานนานทน พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ออกดอกช่วงเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม

***เหลืองจันทบูร

DSC03300
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  DENDROBIUM FRIDERICKSIANUM RCHB.F. เหลืองจันทบูร เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญเติบโตทางด้านข้าง  โดยเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้แต่ไม่ได้ ดูดน้ำเลี้ยงหรือแย่งอาหารเหมือน อย่างพวกกาฝาก เพียงอาศัยเกาะอยู่เท่านั้น เพราะเป็นกล้วยไม ที่มีระบบรากเป็นรากอากาศ ออกดอกเป็น ช่อทั้งต้น ดอกบานทนนาน ออกดอกปีละครั้ง ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม  กลีบดอกสีเหลืองสดเป็นมัน อาจมีแต้มสีแดงภายในคอขนาดต่าง ๆ กันหรือเป็นเพียงขีดสีแดง หรือไม่มีแต้มเลย ชนิดที่มีแต้มมักเรียกว่าเหลืองขมิ้นหรือเหลืองนกขมิ้น

**เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง, เอื้องไม้ตึง

original_DSCN1927
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Dendrobium tortile Lindl. เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง, เอื้องไม้ตึง เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย สูง 30-50 ซม. ลำต้นค่อนข้างแบน เป็นสันเหลี่ยม  กว้าง 1.4-1.8 ซม. โคนเรียวคอด  ใบ รูปรี แกมขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-15 ซม. ทิ้งใบเมื่อผลิดอก ดอก ออกเป็นช่อตามข้อ ที่ใกล้ปลายยอด จำนวน 2-3 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีม่วงอมแดงเรื่อๆ  กลีบปากห่อคล้ายแตร สีเหลือง และมีขีดสีม่วงแดง ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-7 ซม. มีกลิ่นหอม พบตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 100-1,000 ม. ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ออกดอกช่วงเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน

**เอื้องสายประสาท, เอื้องสายน้ำผึ้ง

J7691012-1
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Dendrobium primulinum Lindl. เอื้องสายประสาท, เอื้องสายน้ำผึ้ง เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นยาวรูปแท่งดินสอกลม เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 0.8-1.3 ซม. ยาว 40-80 ซม. ห้อยลง ใบ รูปรีแกม ขอบขนาน กว้าง 3 ซม. ยาว 10-12 ซม. ทิ้งใบเมื่อผลิดอก ดอก ออกตามข้อตลอดความยาวต้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอก สีชมพูเข้ม กลีบปากแผ่มนเกือบกลมสีเหลืองอ่อน มีขนนุ่ม ขอบกลีบ หยักละเอียด ดอกบานเต็มที่กว้าง  4.5 ซม. มีกลิ่นหอมพบตามป่าผลัดใบถึงป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 700-1,600 ม. ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม

**เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย

1138164057
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Dendrobium pulchellum Roxb. ex Lindl.เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควายเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นรูปแท่งกลม สูง 0.8-1.5 ม. ใบรูปรีแกมขอบขนาน ยาว 10-12 ซม. กาบใบมีลายสีม่วงแดง ทิ้งใบเมื่อผลิดอก ดอกออกเป็นช่อใกล้ปลายยอด กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีครีม ขอบกลีบสีชมพู กลีบปากมีแต้มสีแดงเลือดหมูที่โคนด้านในทั้งสองข้าง ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน

**เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย

DSCN0424

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium anosmum Lindl. เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย เป็นกล้วยไม้ที่มีความสวยงามโดดเด่นไปจากสกุลหวายชนิดอื่น ๆ เนื่องจาก สายหลวง จะให้ดอกพลั่งพลูตลอด ลำเป็นที่ตรึงตาตรึงใจของนักเลี้ยงหลาย ๆ คน และด้วยรูปร่างที่ ใหญ่มหึมาของกล้วยไม้สกุลหวายชนิดนี้นี่เอง มันจึงได้รับชื่อสม ยานามว่า สายหลวง ลักษณะของเอื้องสายหลวงลำต้นเป็นลำลูกกล้วยทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5-1.3 ซม. ยาว 60-100 ซม.ใบ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2 ซม. ยาว 8-10 ซม. ปลายใบแหลม ดอก ออกตามข้อ มี 1-2 ดอก ขนาด 4-5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีสีชมพูอ่อน กลีบปากห่อเข้าหากัน ขอบกลีบหยัก ฤดูออกดอก เดือนเมษายน-กรกฎาคม

กล้วยไม้ สกุลหวาย 1

        กล้วยไม้ สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นสกุลหนึ่งของพืชวงศ์กล้วยไม้ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2342 โดย Peter Olof Swartz ชาวสวีเดน มาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ dendron (ต้นไม้) และ bios (ชีวิต) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบนต้นไม้อื่น ทั่วโลกพบกล้วยไม้ที่อยู่ในสกุลนี้ถึง 900 ชนิด ในไทยพบ 184 ชนิด
        กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์
กล้วยไม้หวายป่าของไทยมีสีสวยงาม ก้านช่อสั้น สำหรับกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็นกล้วยไม้อยู่ในป่าของไทย มีหลายชนิดอันได้แก่พวก “เอื้อง” ต่างๆ เช่น

**เอื้องเงิน

biodiversity-12840-1
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium draconis Rchb.f.  เอื้องเงิน หรือ เอื้องตึง เอื้องงุม เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย สูง 60-80 ซม. ลำต้นรูปแท่งดินสอกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2-1.7 ซม. กาบใบมีขนสีดำสั้นๆประปราย ใบ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1.5 ซม. ยาว 6-8 ซม. มักทิ้งใบ เมื่อผลิดอก ดอก ออกเป็นช่อตามข้อใกล้ปลายยอด จำนวน 3-5 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากห่อ รูปกระทง ปลายสอบเรียว โคนกลีบมีแต้มสีแสดอมแดง ดอกบานเต็มที่ กว้าง 6 ซม.  มีกลิ่นหอม พบตามป่าดิบ ที่ระดับความสูง 500-1,000 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม

**เอื้องคำ

1323311090
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium chrysotoxum  Lindl. เอื้องคำ เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยโดยมากพบบนคาบไม้ ลำต้นมีลักษณะเป็นลำลูกกล้วยยาวรี โคนลำเล็ก และพองโป่งบริเวณตรงกลาง ผิวสีอมเหลืองหรือเหลืองเป็นร่องตามความยาวของลำ สูงประมาณ 15-30 ซม. ใบมีลักษณะแข็ง เป็นรูปไข่ เรียงสลับกันใกล้ๆยอด มีประมาณ 3-6 ใบ สีเขียวเข้ม ยาวประมาณ 10-15 ซม. ดอกเป็นช่อก้านช่อดอกแข็ง และห้อยลง ยาวประมาณ 20-30 ซม. กลีบดอกสีเหลืองสด มีสีเหลืองอ่อนเรื่อๆอยู่ในส่วนปาก กลีบปากมีขนระเอียดนุ่ม ขนาดดอกประมาฌ 5 ซม. ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ถ้าจะให้สวยควรเลี้ยงเป็นกอใหญ่เวลาออกดอกจะออกทีละหลายช่อ

**เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน

farmlandbyinspiration186074
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium thyrsiflorum Rchb.f.  เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย สูง 30-50 ซม. พบตามป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 1000-1500 ม. ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลำต้นรูปแท่งดินสอกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. ผิวมีร่องตามยาว ใบรูปรี กว้าง 4 ซม. ยาว 7-10 ซม. มันจะทิ้งใบเมื่อผลิดอก ดอก ออกเป็นพวง ออกตามข้อ ห้องลงด้านล่าง ยาว 20-25 ซม. กลีบเลี้ยงและกลิบดอกสีขาว กลีบปากสีเหลืองมีขนนุ่ม ขอบกลีบหยักละเอียด ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 ซม. มีกลิ่มหอม ออกดอกช่วงเดือนกุมมภาพันธ์ถึงมีนาคม

**เอื้องมะลิ, แส้พระอินทร์

หวายตะมอย1
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium  crumenatum  Sw. เอื้องมะลิ, แส้พระอินทร์  เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีการเจริญเติบโตทางด้านข้าง ลำต้นเป็นลำลูกกล้วยอ้วนกลมบริเวณโคนต้น สูงเรียวประมาณ 50-80 ซม. ใบเป็นรูปไข่ หนา ยาวประมาณ 5-12 ซม. บริเวณปลายมา ดอก มีกลีบดอกสีขาว และมีแต้มสีเหลืองบริเวณคอปาก ดอกโตประมาณ 4 ซม. มีกลิ่นหอม ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ดอกบานแล้วจะร่วงภายในสามวัน แต่เป็นกล้วยไม้ที่ปลูกง่ายและให้ดอกดี

**เอื้องครั่ง

1206413519
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium parishii Rchb.f.   เอื้องครั่ง เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีการเจริญทางข้าง พบตามกิ่งไม้ในป่าดิบเขา พบตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 800-1,800 เมตร ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นลำลูกกล้วยรูปทรงกระบอกเป็นสัน ยาวประมาณ 25 – 60 ซม. ใบเรียว ปลายใบแหลม ใบยาวประมาณ 5 – 8 ซม. กว้างประมาณ 1 – 21 ซม. ออกดอกเป็นช่อ ที่ข้อของลำลูกกล้วย แต่ละช่อมีประมาณ 1 – 4 ดอก กลีบทุกกลีบสีส้มแดง โคนกลีบสีขาว กลีบดอกและกลีบเลี้ยงแคบ ยาวเรียว มีความกว้างไล่เลี่ยกันและกลีบมีลักษณะม้วนโค้งออก กลีบปากสีครีม โคนกลีบปากม้วนขึ้นเป็นหลอปลายกลีบแผ่ออก มีเส้นสีน้ำตาลอมแดงตามความยาวของกลีบปาก ขอบของกลีบปากเรียบ ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน

**เอื้องแปรงสีฟัน

5_03898509
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium secundum (Blume) Lindl. เอื้องแปรงสีฟัน จึงได้รับฉายาที่หลากหลาย เช่น เอื้องหงอนไก่,แปรงสีฟันพระอินทร์, คองูเห่า และ กับแกะ เป็นต้น ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นลำกลม ยาวประมาณ 15-30 ซม. ขึ้นเป็นกอ ผิวต้นเป็นร่องตื้นๆ ปลายเรียว ใบ เป็นรูป ขอบขนานแกมรูปรีปลายมนหยักเว้าตื้นๆ แผ่นใบบาง ทิ้งใบก่อนออกดอก ดอกเป็นช่อดอกเกิดใกล้ยอดเอื้องแปรงสีฟันเป็นกล้วยไม้ รูปคล้ายกรวยเรียงแนวตั้ง ยาวประมาณ 6-12 ซม. มีดอกแน่นช่อ ที่มีดอกขนาดเล็ก 1 ช่อดอกจะประกอบด้วยดอกย่อยได้มากถึง 50-60 ดอก ดอกจะทยอยบานจากโคนไปสู่ปลายช่อ ใช้เวลานานหลายอาทิตย์ กลีบดอกสีม่วงแดง โคนกลีบดอกสีขาว ปากสีเหลืองส้ม ขนาดดอกประมาณ 6 มม สีดอกมีตั้งแต่สีขาว ชมพูอ่อน ชมพูอมม่วง ไปจนถึงม่วงเข้มราก ฤดูกาลออกดอกช่วงกุมภาพันธ์ – เมษายน ออกดอกปีละครั้ง นิยมปลูกเลี้ยงเกาะติดขอนไม้ หรือเครื่องปลูกถ่านหุงข้าว กาบมะพร้าว เพื่อให้รากเกาะ

ไม้นิ้ว เข็มม่วง(Ascocentrum ampullaceum)

 เข็มม่วง เป็น กล้วยไม้ที่มีลักษณะใบแบน กว่า กล้วยไม้สกุลเข็มชนิดอื่นๆ มีระบบรากแข็งแรงและเจริญเติบโตไว เหมาะสำรับการปลูกในเขตร้อน ทั่วไป กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นกล้วยไม้เลี้ยงง่าย นิยมปลูกใส่กระถางหรือกระเช้าแขวน หรือมัดติดไม้ได้ ชอบแสงค่อนข้างจัด และอดทนต่อความแห้งแล้งมากกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นๆได้ดี ดอกรูปร่างกลม สีม่วงชมพูอ่อน ไปจนถึงสีม่วงเข้ม ออกดอกเป็นช่อแน่นดอกดกได้มากกว่า๒o ดอกขึ้นไป ก้านช่อดอกตั้งตรงแทงออกที่ข้อระหว่างใบ ข้างลำต้น ในต้นที่สมบูรณ์ ก้านช่อดอกยาวได้ประมาณ๑o-๑๕ ซม. ซึ่งในต้นเดียวสามารถออกดอกได้หลายช่อต่อครั้ง ทำให้ดูพรูแน่นสวยงาม หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่่ยวกับ กล้วยไม้ เข็มม่วง และรายละเอียดของกล้วยไม้ชนิดต่างๆในสกุลนี้ ติดตามคลิ๊ก เข้าไปอ่านได้ที่นี่ครับ >>กล้วยไม้สกุลเข็ม<< 

เอื้งจำปาน่าน บวกมัจฉาเหลือง

กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้หวายไทยลูกผสม ต้นแม่คือเอื้องจำปาน่านนำมาผสมกับต้นพ่อคือ เอื้องมัจฉาเหลือง โดยกล้วยไม้ทั้งสองชนิดมีช่อแน่นห้อยลงมาเป็นพวงสีเหลืองสด ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ลํกษณะของต้นที่ได้มีลักษณะกึ่งกลมกึ่งแบนซึ่งเป็นการถ่ายทอดสายเลือดมาจากต้นพ่อแม่ เนื่องจากเอื้องจำปาน่าน จะมีลำต้นแบน ในขณะที่เอื้องมัจฉาเหลืองจะมีลำต้นเป็นเหลื่ยมค่อนข้างกลม 
      ดอกที่คาดว่าจะได้น่าจะเป็นลักษณะดอกสีเหลืองสดมีกลิ่นหอม ออกดอกที่ข้อด้านบน ดอกเป็นช่อแน่นห้อยย้อยลงมาเป็นพวงคล้ายกล้วยไม้ในกลุ่มเดียวกันเช่นเอื้องมอนไข่ 
      กล้วยไม้ป่าลูกผสมชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายแตกกอได้เร็วครับ เลี้ยงได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศร้ิอน ในทุกพื้นที่ของไทย การปลูกเลี้ยงก็เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลหวายทั่วไป ใช้เครื่องปลูกที่ระบายน้ำได้ดี เช่นถ่านผสมกับกาบมะพร้าวสับ หรือรากเฟินชายผ้าสีดาหั่นเป็นชิ้น สถานที่ปลูก ควรมีแสงรำไร อากาศถ่ายเทสะดวก ให้น้ำวันละครั้งให้ชุ่ม ช่วงเช้าตรู่ หรือช่วงค่ำ บำรุงต้นด้วยการฉีดพ่น ปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำสูตรเสมอ21-21-21 อาจใช้สลับกับปุ๋ยสูตรตัวกลางตัวท้ายสูง16-21-27เป็นบางครั้ง ตามอัตราส่วนอาทิตย์ละครั้งหรืออาจเสริมด้วยปุ๋ยเม็ดละลายช้าสูตร3เดือน โรยเพียงหยิบมือ(ประมาณ10-15เม็ด)บริเวณใกล้โคนต้น บนผิวหน้าของเครื่องปลูก -สารเคมีป้องกันเชื้อรา ฉีดพ่นสลับกันเป็นระยะ การดูแลที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ จะทำให้กล้วยไม้โตเร็วขึ้น และออกดอกสวยงามครับ



วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

CPG Cerebrovascular disease


Cerebrovascular disease – เรียกทั่วไป ว่า Stroke

แบ่งเป็น

1.       Ischemic stroke หลักการเบื้องต้น มี 4 ขั้นตอนดังนี้

1.1                         acute resuscitation

-          A  maintenance adequate of  airway and  ventilation

-          B  maintenance adequate of blood volume and blood pressure

-          C  Correction of hyperglycemia

ภาวะ hyperglycemia จากภาวะ stress ถ้าน้ำตาลสูงอัตราการตายเพิ่ม ควรควบคุมให้น้อยกว่า 140  จะส่งผลให้อาการทางสมองแย่ลง ควรได้ NSS, hyperthermia and low cardiac out put

    

1.2                         reperfusion of ischemic brain

-          Thrombolytic therapy (การลดอุณหภูมิกาย)

-          Hypervolemic (การให้ IV เพื่อให้ความดันโลหิตสูง) Hemodilution

-          Anticoagulant

1.3                        Decreasing cerebral metabolism demands—hypothermia 27-30 and barbiturate แต่ถ้าลดมากไปร่างกายจะมี cardiac arrhythmia และ cardiac arrest  ตามมา

1.4                         Inhibition the degradative ischemic cascade

-          Calcium antagonist (ลดอาการหลอดเลือดเกร็งตัว)

-          Excitatory amino acid antagonist

-          Free radical scarvengers

2.       Hemorrhagic stroke หลักการเบื้องต้น คือ พยายามลด ICP คือให้ hyperventilation และ osmotic diuretic ร่วมกับยาขับปัสสาวะ ระยะแรกมักจะอาการความดันสูงเนื่องจากร่างกาย พยายามที่จะปรับเพิ่มเลือดไปเลี้ยงที่สมอง การดูแลจึงเพียงคุมความดันไม่ให้สูงเกินไป เนื่องจากอาจจะมีภาวะเลือดออกซ้ำได้ โดยให้ systolic ไม่ต่ำกว่า 160-170  ส่วน diastolic ไม่ต่ำกว่า 90-100

เมื่อไหร่ต้องปรึกษา neurological Sx

1.       GCS <= 13

2.       Hematoma >30 ml (0.5  * X*Y*Z) ขนาดก้อนในแนวระนาบ z=จำนวนสไลด์ * ความหนาฟิลม 1//x y วัดในสไลด์ที่ก้อนเลือดออกใหญ่ที่สุด

3.       Midline shift > 0.5 cm

4.       ก้อนเลือดที่ temporal lobe /cerebellum มีโอกาส early brain herniation

แบ่งเป็น

2.1                        Lobar Hemorrhage คือ intracerebral hemorrhage แบ่งเป็น cortical or subcortical มักไม่ได้เกิดจาก HT มักเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น aneurysm ,AVM  ถ้าพบข้อบ่งชี้ด้านบนมากกว่าเท่ากับ 2 ข้อควรผ่าตัด  พิจารณาทำ angiography  ในเคสอายุน้อยกว่า 45 และไม่ได้เป็นโรคความดันโลหิตสูง หากสงสัยว่ามีความผิดปกติของเส้นเลือด คือเห็น enlarged vessel หรือ calcified ที่ของของ hematoma , hyperdensity of dura venous sinus และ cortical vein ที่น่าจะเป็น venous drainage  ของ hematoma

2.2                         Non-lobar hemorrhage คือ intracerebral hemorrhage ที่ basal ganglia (putamen) , thalamus , cerebella (มักจะตามมาด้วยการ IICP และกดก้านสมอง) ,brain stem <pons> มีความเสี่ยงสูงถ้ามีการผ่าตัด หรืออาจะมั repeated episode// ถ้าอายุมากกว่า 45 และมี HT มักจะเป็น Hypertensive hemorrhage ถ้าพบข้อบ่งชี้ด้านบนมากกว่าเท่ากับ 2 ข้อควรผ่าตัด

2.3                         SAH subarachnoid hemorrhage ปวดหัวรุนแรงทันที อาจจะหมดหรือไม่หมดสติกะได้ สาเหตุ ได้แก่ ruptured aneurysm , AVM ,blood dyscrasia , head injury , parasite สงสัยให้ทำ CT ถ้าไม่เจอให้ LP

***หน้า 43 /44ยาแนวทางปฏิบัติ***

Hydrocephalous  evans ratio .0.3

แบ่งตาม clinical

1.       TIA transient ischemic attack  ความผิดปกติหายสมบูรณ์ภายใน 24 ชั่วโฒง

2.       RIND reversible ischemic neurological deficit ความผิดปกติหายสมบูรณ์ใน weeks

3.       Cerebral infarction อาการจะดีขึ้นในเวลาเป็นเดือน แต่จะไม่หายเป็นปกติ

3.1   lacunar infarction มักมีอาการชาอ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่ง หรืออาการเซอย่างเดียว แต่มักไม่มีซึมลง กลุ่มนี้เป็นปกติค่อนข้างเร็ว จะอาการดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์

3.2   minor cerebral infarction มักเป็นอาการขาดเลือดที่ตำแหน่งไม่ใหญ่มาก ผู้ป่วยมักจะซึม  แต่มักไม่มีอาการสองบวม หรือ IICP

3.3   major cerebral in farction เป็นอาการขาดเลือดเป็นบริเวณกว้าง ผู้ป่วยมักซึมตั้งแต่แรก หรือค่อยซึมลงใน 72 ชั่วโมง เนื่องจากสอมงบวม และ IICP ที่ตามมา ผุ้ป่วยมักมีอาการผิดปกติหลายอย่างรวมกัน เช่น แขนขาอ่อน หน้าเบี้ยว หรือตามองเห็นครึ่งซีก

สาเหตุ

Thrombosis มักเป็นตอนเช้า  อาการมากที่สุดทันที หรือค่อยๆมีอาการมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 1-2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน มักไม่มีอาการชัก อาจจะสมองบวมภายใน 72 ชั่วโมง

Embolism มักเกิดหลังจากตื่นนอน หรือเวลาใดก็ได้ อาการเป็นมากที่สุดทันที อาการชักมีได้บ่อย เนื่องจากหลุดของ emboli ทำให้สมองขากออกซิเจน  สมองบวมภายใน 72 ชั่วโมง

Hemoorrhage  เกิดขณะที่ออกแรง เป็นมากที่สุดทันที อาจจะมีอาการชักได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งเลือดออก สมองบวมภายใน 24 ชั่วโมง

Guideline For the Early Management Of Patients with ischemic Stroke

Acute Ischemic Stroke

เป้าหมายคือการให้ fribrinolytic ภายใน 60 นาที หลังจากที่มา ER

การใช้ Stroke rating scale

Work up อะไรบ้าง

-          Hematologic,coagulation,

-          Biochemistry

-          blood glucose ก่อนให้ intravenous rTPA

-          ตรวจคลื่นหัวใจ Lab troponin

-          Chest x-ray เป็นข้อมูล Baseline แต่ต้องไม่ทำให้เสียเวลาในการให้intravenous rTPA

-          Blood test • High cholesterol, sugar level, blood clotting time

-          Brain Imaging Test • CT Scan - detect bleeding in brain (hemorrhagic stroke) • MRI – detect damaged brain tissue • MRA (Magnetic Resonance Angiography) – visualize narrowing blood vessel

-          Heart & Blood Vessel Test • Carotid ultrasonography- clotting in arteries leading to brain

-          Catheter angiography (arteriography)

-          Leg Ultrasound • Detect blood clot in deep vein in legs • Clot movement to brain leads to stroke

-          Electrocardiogram (ECG) • Identify problem with electrical conduction of heart • Regular heart beat rhythmic pattern smooth blood flow • Defect arrhythmia form blood clot stroke

-          Transcranial Doppler (TCD) • Sound waves – measure blood flow blood vessel of hemorrhagic area

การวินิจฉัย

จาก Brain and Vascular imaging • ทา CT non contrast เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ • CT non contrast and MRI ความทำก่อนให้ intravenous rTPA

ควรให้ intravenous rTPAในระยะเริ่มต้นเมื่อมีอาการ • Noninvasive intracranial vascular study is strongly recommended • intravenous fribrinolysis ควรให้ทันทีภำยใน 45 นาที หลังอ่ำนผล CT

การดูแลและรักษาภาวะแทรกซ้อนอย่างฉับพลัน

• Cardiac monitoring เพื่อดูภาวะ cardiac arrhythmia หรือภาวะ Atrial fribrillation

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและรักษาโดยให้ intravenous rTPA ควรคุม systolic<185 mmHg,Diastolic<110 mmHg และ <180/105 mmHg อย่ำงน้อยภำยใน 24 ชัว่โมงหลังได้ intravenous rTPA

ผ้ปู่วย BP สูงไม่ควรได้รับ fribrinolysis

• Airway and ventilation support O2 sat>94%

หากมีภาวะ Hyperthermia (BT>38 c ) ควรให้ยาลดไข้

ติดตาม BP ในผู้ที่ต้องทา intervention เกี่ยวกับหลอดเลือด

รักษา

-Hypovolemia ด้วย intravenous NSS

-รักษา hypoglycemia CBG<60 mg%

- การให้ antihypertensive therapy ภายใน 24ชม ค่อนข้างปลอดภัย

-Hyperglycemia เกิดภายใน 24 ชม แรกให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างแย่ keep 140-180 mg%

- การให้oxygen ไม่แนะนาในผู้ป่วยที่ไม่ได้มีภาวะ Hypoxic

Intravenous Fribrinolysis

Dosage 10% bolus in 1 min 90% infuse in 60 min

Consider Thrombolytic Treatment -18+ -Onset 3hr -BPs<185mmHg, BPd<110 mmHg -No seizure, No Wafarin , PT < 15 sec., INR < 1.7 -No heparin within 48 hrs. Plt >100,000 -BS 50-400 mg% -No acute MI, AVM, aneurysm, IICP, เนื้องอกในสมอง -ไม่เคยผ่าตัดในระยะ 14 วัน,ไม่บาดเจ็บในสมอง ระยะ3 เดือน - ไม่อยู่ในระยะหลังคลอด หรือ ให้ นมบุตร 30 วัน

Intravenous Fribrinolysis • Intravenous rtPA ให้ยาภายใน 3-4.5 ชม มีผลคล้ายคลึงกับให้ยา ภายใน 3 ชม. ยกเว้นในกลุ่ม อายุ >80ปี,ใช้ anticoagulants.NIHSS score >25,Ischemic injury >1/3ของพนื้ที่ middle cerebral artery,ผู้ป่วยที่มีประวัติทั้ง stroke and DM อยู่เดิมการให้ Intravenous rtPA ควรคุม BP<185/110 mmHg • ผู้ที่ได้รับFribrinolysis เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนเช่น Bleeding,Angioedema(สาเหตุของทางเดินหายใจอุดตัน)

Intravenous Fribrinolysis การใช้Intravenous Fribrinolysisในผู้ป่วย mild stoeke deficit,หลังผ่าตัดใหญ่ช่วง 3 เดือน และมีภาวะ MI ควรระวังการใช้ยา

Endovascular intravention • Sonothrombolysis,Tenecteplase,Desmoteplase,Urokinase ,Streptokinase ไม่เป็นที่นิยมและไม่แนะนาให้ใช้ผู้ที่รักษา 3-4.5 ชมหลังเกิด stroke แตอ่ายุ >80ปีใช้ anticoagulants(แม้ INR<1.17)มีส่วนให้ Intravenous rtPA ออกฤทธ์ไม่ดีควรให้ Intravenous rtPA ถึงแม้ว่าจะรักษาด้วย Intra-arterial fribrinolysis • Intra-arterial fribrinolysis ใช้รักษา major ischemic stroke มีระยะเกิด <6 hr สาเหตุเกิดจากการอุดตันของ middle cerebral artery

Anticoagulants • Argatroban and Thrombin inhibitor รักษา Acute ischemic stroke ไม่เป็นผลดี • Anticoagulantsในผู้มีภาวะ severe stenosis at internal caroiid arteryไม่เป็นผลดีให้ Anticoagulants อย่างเร่งด่วนอาจ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดภาวะ ICH • ไม่แนะนาให้ Anticoagulants ร่วมกับ rtPA ใน 24ชม

Antiplatelet Agent • การให้ยา ASA 325 mg ภายใน 24 – 48 ชม หลังเกิด stroke แนะนาในการรักษา ผู้ป่วยส่วนใหญ่การใช้ยา Clopidogrel(Plavix) รักษา Acute ischemic stroke ไม่เป็นผลดีประสิทธิภาพของยา Tirofibon and Eptifibatide ไม่เป็นผลดี • ASA ไม่แนะนาใช้ร่วม Intravenous fibrinolysis ภายใน 24 ชั่วโมง

Volum expansion,Vasodilators,Induced Hypertension • Vasopressors ช่วยเพิ่ม crerebral blood flow • ให้ albumin high does ไม่เป็นผลดีการทา ให้ความเข้มข้นของเลือดลดลงโดยเพิ่ม volum เพิ่ม ไม่เป็นผลดีการให้ Vasodilater : Pentoxifyline ไม่แนะนา

Neuroprotective Agent • การให้statin รักษาอย่างต่อเนื่องในช่วง acute period • ภาวะ Hopothermia รักษาภาวะ รักษา Acute ischemic stroke ไม่เป็นผลดีการทา transcranial near-infrared laser ไม่เป็นผลดี • Neuroprotective Agent และใช้ Hyperbonic oxygen ไม่เป็นที่แนะนา Surgical intervention ผู้ป่วย unstable neurological status ประสิทธิภาพของการทา carotid endaterctomyไม่เป็นผลดี

Admission to the hospital and General acute traetment Stroke unit ควรมี Rehabilitation เข้ามามีส่วนร่วมผู้ที่สงสัยมีภาวะ Pnemonia or UTI ควรได้รับยา ATB • การให้ยา anticoagulation ในผู้ป่วยไม่มีการเคลื่อนไหวควรป้องกันภาวะ DVT • ประเมินการกลืนก่อนให้ผู้ป่วยเริ่มกินหรือดื่ม หากไม่สามรถกินได้ NG feed • กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้เคลื่อนไหว • ASA สามารมให้ในผู้ป่วย ที่ไม่สามารรับ anticoagulationได้เพื่อป้องกันภาวะ DVT • การให้สารอาหาร ,ATB routine ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ไม่แนะนาให้ retian foley’s cath เสี่ยง UTI ได้

Treatment of acute Neurological complication • ผู้ป่วยที่ Major infraction high risk for Brain edema และเพิ่ม IICP ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด • Decompressive surgical เพ่อืป้องกันภาวะ Herniation and Brain stem compression

Recurrent seizure after storke รักษาด้วย antiepileptic agent พิจารณาใน ผู้ป่วยแตล่ะรายการใส่ Venticular drain ใช้ในผู้ป่วย hydrocephalus • การให้ยา Hydrocortisone,anticonvoulsants เป็น prophylactic ไม่แนะนา