วันพฤหัสบดีที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2556

LTF เลือกกองทุนไหนดี


 ใกล้ปลายปีอีกครั้ง 2556 ฤดูกาลแห่งการสอย LTF เพิ่มเติมก็ต้องเร่งกันหน่อยแล้ว
วันนี้ก็เริ่มหาข้อมูลอีกครั้งนึงว่ามีตัวไหนดีดีแนะนำเพิ่มเติมบ้าง

ตัวที่เราถืออยู่

KFLTFDIV  ///  กสิกร /// KTLF70/30


ตอนนี่สนใจ Value-DLTF  เห็นว่าฃื้อได้ตาม ธนาคาร TMB ต้องลองไปถามดูก่อน
AYFLTFDIV AYFLTFD70
-----------------------------------------------

ตามที่พี่เค้าเทียบให้ดูก็น่าสนใจมากหลายตัว
แอบมารีวิวที่ชาวบ้านเค้าแนะนำ

สำหรับผมนั้นถ้าให้เลืกลงทุน 5 กองใน 5 ปี ผมขอเลือก 

1. ABLTF
2. KFLTFDIV
3. VALUE-DLTF
4. B-LTF
5. MS-CORE LTF

------------------------------------------------------------------------

ABLTF สองปีแล้วครับ port ยังไม่ติดลบครับ ปีนี้ก็ไล่ซื้อไปเรื่อยๆครับ สะสมไว้


KFLTFDIV / BLTF75 / B-LTF

B-LTF, KFLTFDIV, CG-LTF, VALUE-D LTF, LTFD


LTFD ของธนชาติครับ ปีนี้ผลประกอบการดี ได้แชมป์ผลประกอบการครึ่งปีแรกด้วย

แนะนำ CG-LTF ของยูโอบี
(เดิมเป็นของ ING) ซื้อได้ที่ธนาคารทหารไทย ทุกสาขาครับ กองนี้ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี เป็นอัดดับหนึ่งของประเทศไทยครับ และเป็นกองทุนที่ มอร์นิ่งสตาร์ จัดอับดับให้เป็นกองทุนห้าดาวด้วยครับ


ถ้าต้องการความเสี่ยงน้อยหน่อยก็ลองดูพวกที่ลงในหุ้นไม่เกิน 70% 
เช่น KFLTFD70, BLTF75 เปรียบเที่ยบผลการดำเนินงานย้อนหลัง 1 ปีhttp://www.thaifundstoday.com/en/funds/197?cmp_list=bltf75&duration=1+Year&graph_percent=1&method=get&usediv=1


ถ้าอยากได้ปันผลด้วยก็ดู KFLTFDIV, VALUE D LTF, MV-LTF >> http://www.thaifundstoday.com/en/funds/353?cmp_list=value-d+ltf%2Ckfltfdiv&duration=1+Year&graph_percent=1&method=get&usediv=1
-----------------------------------------------------------------------

พี่เค้าสรุปผลประกอบการมาให้ดูกัน
-----------------

เลือกซื้อกองทุนไหนดี
ดูผลประกอบการ ถามว่าดูเป็นมั๊ย

ศัพย์แสลง English



แสลง

แสลงไม่มีมีแค่คำที่ใช้ผิดกันบ่อย ๆ


8 ตัวอย่างภาษาอังกฤษแบบผิดๆ ที่ฮิตติดปากคนไทย ในปัจจุบันมีคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่คนไทยใช้กันจนติดปากอยู่มากมาย แต่คุณเคยรู้ไหมว่ามีบางคำที่ฝรั่งเค้าไม่ได้ใช้อย่างที่เราพูดกันติดปาก ผมจึงเสนอคำศัพท์สัก 10 ตัวอย่างที่คนไทยมักใช้อย่างผิดๆพร้อมทั้งคำที่ถูกต้องซึ่งคุณควรนำไปใช้เวลาคุยกับฝรั่ง เริ่มเลยแล้วกันครับ


1) อินเทรนด์ (in trend) คำนี้อินเทรนด์มากๆ เอ๊ย...ฮิตมากๆ ในปัจจุบัน สามารถได้ยินตามรายการวิทยุหรือโทรทัศน์ทั่วไป เพราะใช้กันทั่วบ้านทั่วเมือง เช่น เด็กสมัยนี้ถ้าจะให้อินเทรนด์ต้องตามแฟชั่นเกาหลี ซึ่งบางทีเวลาคุณต้องการพูดว่า "มันทันสมัย" คุณอาจจะติดปากว่า "It is in trend." คำว่า "ทันสมัย" ฝรั่งเค้าไม่ใช้คำว่า "in trend" อย่างคนไทยหรอกครับ เค้าจะใช้คำว่า "trendy" หรือ "fashionable" ซึ่งเป็นคำคุณศัพท์ที่คุณสามารถวางไว้หน้าคำนามที่ต้องการขยาย เช่น a trendy haircut ทรงผมที่ทันสมัย, a fashionable restaurant ร้านอาหารที่ทันสมัย หรือจะไว้หลัง verb to be เช่น It is trendy. หรือ It is fashionable. ก็ได้


2) เว่อร์ (over) เช่น ใยคนนั้นทำอะไรเว่อร์ๆ She is over. ไม่มีความหมายแต่อย่างใดในภาษาอังกฤษ ฝรั่งที่ได้ยินคุณพูดเช่นนี้ คงมึนตึบ พร้อมทำสีหน้างงว่ามันหมายถึงอะไรเหรอ? พูดถึงคำนี้ คนไทยน่าจะหมายถึงการพูดเกินจริงหรือทำเกินจริง ซึ่งถ้าพูดเกินจริง ควรจะใช้คำศัพท์ที่ว่า "exaggerate" เป็นคำกิริยา อ่านว่า เอก-แซ้ก-เจ่อ-เรท เช่น

"He said you walked 30 miles." เค้าบอกว่าคุณเดินตั้ง 30 ไมล์

"No - he's exaggerating. It was only about 15." ไม่หรอก เค้าพูดเว่อร์ (เกินจริง) มันก็แค่ 15 ไมล์เอง

ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า เธอพูดเว่อร์น่ะ ก็บอกว่า You're exaggerating. หรือจะบอกเค้าว่า อย่าพูดเว่อร์ๆ น่ะ อาจใช้ว่า Don't exaggerate. ส่วนอาการเว่อร์อีกแบบคือการทำเกินจริง เราจะใช้คำกิริยาที่ว่า "overact" เช่น You're overacting. เธอทำเว่อร์เกิน (แสดงอารมณ์เกินจริง)


3) ดูหนัง soundtrack เวลาคุณจะบอกใครว่า ฉันต้องการดูหนังฝรั่งที่พากย์ภาษาอังกฤษ อย่าพูดว่า "I want to watch a soundtrack film." แต่ควรจะใช้ว่า "I want to watch an English film." เพราะความหมายของคำว่า "soundtrack" คือ ดนตรีที่อยู่ในภาพยนตร์ ต่างหากล่ะครับ

ถ้าเราจะพูดถึงหนังฝรั่งที่พากย์เสียงภาษาไทย เราต้องบอกว่า "I want to watch an English film that is dubbed into Thai." เพราะคำกิริยาว่า "dub" คือพากย์เสียงจากต้นแบบในหนังหรือรายการโทรทัศน์ไปเป็นภาษาอื่น

ส่วนหนังที่มีคำบรรยายใต้ภาพเราเรียกว่า "a subtitled film" ซึ่งคำบรรยายที่อยู่ใต้ภาพ เราเรียกว่า "subtitles" (ต้องมี s ต่อท้ายเสมอนะครับ) เช่น a French film with English subtitles หนังฝรั่งเศสที่มีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาอังกฤษ


หนังบางเรื่องจะมีคำบรรยายใต้ภาพเป็นภาษาเดียวกับที่นักแสดงพูด เรามีศัพท์เรียกเฉพาะว่า "closed-captioned films/videos/television programs" หรือ อาจเขียนย่อๆ ว่า "CC" เช่น You should watch a closed-captioned film to improve your English. คุณควรจะดูหนังฝรั่งที่มีคำบรรยายภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาภาษาอังกฤษของคุณ


4) นักศึกษาปี 1 คนไทยมักเรียกว่า "freshy" ซึ่งฝรั่งไม่รู้เรื่องหรอกครับ เพราะไม่มีการบัญญัติศัพท์คำนี้ในภาษาอังกฤษ เค้าจะใช้คำว่า "fresher" หรือ "freshman" เช่น He is a fresher. หรือ He is a freshman. หรือ He is a first-year student. เขาเป็นนักศึกษาปี 1 ส่วนปีอื่นๆ คนไทยเรียกถูกแล้วครับ คือ ปี 2 เราเรียก a sophomore, ปี 3 เรียกว่า a junior และ ปี 4 เรียกว่า a senior


5) อัดหรือบันทึก คนไทยมักพูดทับศัพท์ว่า เร็คคอร์ด (record) คำๆ นี้สามารถเป็นได้ทั้งคำนามและคำกิริยา เพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่ง stress กล่าวคือ ถ้าจะใช้เป็นคำนามที่แปลว่า แผ่นเสียงหรือสถิติ ให้ขึ้นเสียงสูงที่พยางค์แรก คือ "เร็ค-คอร์ด" เช่น He wants to buy a record. เขาต้องการซื้อแผ่นเสียง, I broke my own record. ฉันทำลายสถิติของฉันเอง แต่ถ้าคุณจะหมายถึงคำกิริยาที่แปลว่า อัดหรือบันทึก ต้อง stress พยางค์หลัง ซึ่งจะอ่านว่า "รี-คอร์ด" เช่น I'll record the film and we can all watch it later. ฉันจะอัดหนัง เราจะได้เก็บไว้ดูทีหลังได้ ส่วนเครื่องบันทึก เราเรียกว่า "recorder" อ่านว่า รี-คอร์-เดอร์


6) ต่างคนต่างจ่าย เรามักใช้ American share รับรองว่าฝรั่ง(ต่อให้เป็นชาวอเมริกันด้วยครับ) ได้ยินแล้ว งงแน่นอน ถ้าคุณจะหมายถึงต่างคนต่างจ่ายให้ใช้ว่า "Let's go Dutch." หรือ "Go Dutch (with somebody)." อันนี้ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นธรรมเนียมของชาวดัตช์หรือเปล่า? ที่ต่างคนต่างจ่ายเลยมีสำนวนอย่างนี้ หรือคุณอาจจะบอกตรงๆ เลยว่า "You pay for yourself." คือเป็นอันรู้กันว่าต่างคนต่างจ่าย แต่ถ้าคุณต้องการเป็นเจ้ามือ(ไม่ใช่เล่นไพ่นะครับ)เลี้ยงมื้อนี้เอง คุณควรพูดว่า "It's my treat this time." หรือ "My treat." หรือ "It's on me." หรือ "All is on me." หรือ "I'll pay for you this time." ทั้งหมดแปลว่า มื้อนี้ฉันจ่ายเอง ส่วนถ้าจะบอกเพื่อนว่า คราวหน้าแกค่อยเลี้ยงฉันคืน ให้บอกว่า "It's your treat next time."


7) ขอฉันแจม (jam) ด้วยคน ในกรณีนี้คำว่า "แจม" น่าจะหมายถึง "ร่วมด้วย" เช่น We are going to eat outside. Do you want to jam? เรากำลังจะออกไปกินข้าวข้างนอก เธอจะไปด้วยมั้ย? ในภาษาอังกฤษไม่ใช้คำว่า jam ในกรณีแบบนี้ ซึ่งควรจะใช้ว่า "Do you want to join us?", "Do you want to come with us?" หรือ "Do you want to come along?" จะดีกว่าครับ


8) เขามีแบ็ค (back) ดี "He has a good back." ฝรั่งคงงงว่ามันเกี่ยวอะไรกับข้างหลังของเค้า เพราะ back แปลว่า หลัง (อวัยวะ) แต่คุณกำลังจะพูดถึงมีคนคอยสนับสนุน ซึ่งต้องใช้ "a backup" ซึ่งหมายถึง คนหรือสิ่งของที่ช่วยสนับสนุน ช่วยเหลือ เกื้อกูล เป็นกำลังใจให้


เครดิต BevernetworK

nsaid allergy ใช้ยากลุ่มไหนไม่ได้อีกบ้าง

ยากลุ่ม NSAIDs เป็นยาแก้ปวดอักเสบ ที่มีกลไกในการออกฤทธิ์ คือ ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ cycloxygenase (COX) ซึ่งจะลดการสร้างสารเหนี่ยวนำต่างๆซึ่งให้เกิดการอักเสบ (inflammatory mediators) ในร่างกาย โดยเฉพาะ prostaglandin E 2 (PGE2)(1)

ยากลุ่มนี้มีโครงสร้างยาหลายแบบ ดังนี้

1. Nonselective COX Inhibitors(1): Salicylic acid derivatives (aspirin), Para-aminophenol derivatives (Acetaminophen), Indole and indene acetic acids (Indomethacin, Sulindac), Heteroaryl acetic acids (Diclofenac, Ketorolac), Arylpropionic acids (Ibuprofen, Naproxen, Ketoprofen), Anthranilic acids (Metfenamic acid), Enolic acids (Piroxicam), Alkanones (Nabumetone)

2. Selective COX-2 Inhibitors(1): Diaryl-substituted furanones (Rofecoxib) , Diaryl-substituted pyrazoles (Celecoxib), Indole acetic acids (Etodolac), sulfonanilides (Nimesulide)

ยา Piroxicam เป็นยาที่มีโครงสร้างเป็น Enolic acids

ยา Diclofenac เป็นยาที่มีโครงสร้างเป็น Heteroaryl acetic acids

ซึ่งจะเห็นได้ว่ายาทั้ง 2 ตัวมีโครงสร้างหลักที่แตกต่างกัน

การแพ้ยากลุ่ม NSAIDs มีการแพ้ 2 แบบ คือ

1. Immunologic type (2,5,6) โดยกลไกการเกิดจะเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกัน ต้องอาศัยเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ในการสร้างantibody หรือกระตุ้น lymphocyte ให้ต่อต้านกับยา นอกจากนี้ ยังมี lymphocyte บางส่วนเปลี่ยนแปลงไปเป็น memory cell เพื่อจดจำยาชนิดนี้ไว้ และทำให้เกิดอาการแพ้ขึ้น และเมื่อได้รับยานี้ในครั้งต่อมาการแพ้จะเกิดได้เร็วขึ้น ซึ่งการแพ้ยาแบบนี้มีทั้งหมด 4 type โดยลักษณะการแพ้ยาที่เป็นปฎิกิริยาทางภูมิคุ้มกัน ได้แก่ rash, anaphylaxis, asthma, urticaria และ angioedema การแพ้ยาแบบนี้ สามารถเกิดได้กับยากลุ่ม NSAIDs โดยมักจะเป็นการแพ้แบบ type I คือ anaphylaxsis3 ผู้ป่วยต้องเคยได้รับยามาก่อนและเกิดการสร้าง IgE ขึ้น ดังนั้นเมื่อได้รับครั้งต่อมาจึงเกิดปฏิกิริยาการแพ้ได้ เป็นการแพ้แบบรุนแรงและเกิดขึ้นหลังจากได้รับยาเป็นนาที หรือเป็นชั่วโมง ซึ่งจะแพ้ข้ามกลุ่มได้กับยาที่มีกลุ่มโครงสร้างหลักเดียวกัน

2. Non-immunologic type (2,5,6) โดยกลไกการเกิดจะไม่เกี่ยวข้องกับทางระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย จะเกิดอาการได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับยา เพราะเป็นฤทธิ์จากยาโดยตรง ซึ่ง

กลไกการเกิดการแพ้ยาแบบ non-immunologic type ที่เกิดกับยา NSAIDs เป็นการแพ้แบบ Pseudoallergic reactions เป็นปฎิกิริยาที่คล้ายการแพ้แบบ type I คือ anaphylaxsis แต่การเกิดไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันหรือ IgE เพราะเกิดยาไปกระตุ้น mast cell ให้ปล่อย histamine โดยตรง ซึ่งการแพ้ยากลุ่ม NSAIDs จะมีอาการ คือ bronchospasm, urticaria และ angioedema ผู้ป่วยที่แพ้ยา NSAIDs แบบ pseudoallgeric reactions หรือที่เรียกว่า anaphylactoid(3) ซึ่งกลไกยังเกิดไม่แน่ชัด แต่น่าจะเกิดจากการที่ยา NSAIDs ไปยับยั้งCyclooxygenase ส่งผลให้เกิดการยับยั้งการสร้าง PGE2 และมีการผลิตสารทางด้าน lipoxygenase pathway มากขึ้น ซึ่ง mast cell จะถูกกระตุ้นได้ เนื่องจากมี PGE2 น้อย และมี Lecotriene มาก ดังนั้นการเกิดภาวะเช่นนี้อาจเกิดได้จากยาทุกตัวที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้าง PGE2 ได้ ผู้ป่วยที่มีการแพ้ยาแบบนี้จึงไม่ควรใช้ยาตัวใดในกลุ่ม NSAIDs อีกเลย กรณีที่ผู้ป่วยต้องได้รับยากลุ่ม NSAIDs ควรให้ในกลุ่มที่ยับยั้งเฉพาะ COX-2

การแพ้ยาข้ามกัน (Cross Reactivity)

ผู้ป่วยรายนี้ได้รับยา piroxicam แล้วเกิดผื่นตามลำตัว และตาบวมทั้ง 2 ข้าง ซึ่งควรมีข้อมูลการแพ้ยาของผู้ป่วยให้มากกว่าเพื่อที่จะยืนยันว่าผู้ป่วยรายนี้แพ้ยาแบบ anaphylaxsis หรือ แพ้ยาแบบ pseudoallergic ซึ่งต้องทราบประวัติการแพ้ยาอื่น ประวัติการใช้ยากลุ่ม NSAIDs ก่อนหน้านี้ และระยะเวลาของการเริ่มเกิดอาการแพ้ยาของผู้ป่วย และ ประเมินการแพ้ยาของผู้ป่วย ซึ่งถ้าผู้ป่วยแพ้ยาแบบ anaphylaxsis ซึ่งการแพ้ข้ามกลุ่มของยา NSAIDs สามารถเกิดได้ในยาที่มีโครงสร้างหลักเหมือนกัน(1) ซึ่งยาpiroxicam และยา diclofenac มีโครงสร้างที่ต่างกัน จึงไม่น่าจะการแพ้ยาข้ามกันได้ แต่หากผู้ป่วยรายนี้แพ้ยาแบบ pseudoallergic reaction ซึ่งเป็นการแพ้แบบที่เกิดจากกลไกของยากลุ่ม NSAIDs ในกลุ่มที่เป็น potent inhibitor สำหรับ cyclooxygenase ทุกชนิด(2,4) ซึ่งยา piroxicam และ diclofenac เป็นยาที่เป็น Nonselective COX Inhibitor จึงไม่ควรใช้ยากลุ่ม NSAIDs(1) แต่หากจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้อาจลองเลือกใช้กลุ่ม Selective COX-2 แทน ทั้งนี้มีการศึกษาว่ามีความปลอดภัยในผู้ป่วย chronic idiopathic urticaria ที่แพ้ NSAIDs ทั่วไป(5) หรือใช้ยากลุ่ม Opioids เช่น Tramadol

จากการศึกษาการแพ้ยากลุ่ม NSAIDs พบว่าการใช้ยากลุ่มนี้จะเกิดการแพ้ยาแบบ immunologic type ได้ 1-2%(6) การแพ้ยากลุ่มนี้ส่วนมากมักจะเป็นการแพ้ยาแบบ pseudoallergic type มากกว่า(6) และนอกจากการแพ้ยาทั้ง 2 แบบดังกล่าวแล้ว ยังมีการศึกษาที่พบว่า มีการแพ้ยาแบบ intolerance ซึ่งเป็นการแพ้ยาที่จำเพาะกับผู้ป่วยแต่ละรายไปขึ้นกับความไวต่อยากลุ่ม NSAIDs ของผู้ป่วยคนนั้น อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีการศึกษาที่สนับสนุนว่าการที่ผู้ป่วยเคยแพ้ยา piroxicam จะแพ้ยา diclofenac ด้วย

Reference


1. Hardman JG, Limcird LE. Goodman&Gilmans The Pharmacological Basis of therapeutics. 10th ed. USA: The McGraw-Hill Companies. 2001

2. ธิดา นิงสานนท์, จันทิมา โยธาพิทักษ์. ตรงประเด็น เรื่องAdverse Drug Reaction. กรุงเทพฯ: สมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล(ประเทศไทย), 2549

3. DiPiro JT, Talbert RL, Yee GC, Matzke GR, Wells BG, Posey LM. Pharmacotherapy A Pathophysiologic Approach. 6th ed. USA: The McGraw-Hill Companies. 2005

4. Pozo MDD, Lobera T, Blasco A. Selective hypersensitivity to diclofenac. Allergy. 2000;55:418-19.

5. Zembowicz A, Mastalerz L, Setkowicz M, Radziszewski W, Szczeklik A. Safety of Cyclooxygenase 2 Inhibitors and Increased Leukotriene Synthesis in Chronic Idiopathic Urticaria With Sensitivity to Nonsteroidal Anti-inflammatory Drugs. Arch Dermatol. 2003;139:1577-1582

6. Nettis E, Colanardi MC, Ferrannini A, Tursi A. Update on sensitivity to nonsteroidal anti-inflammatory drugs. Current Drug Targets - Immune, Endocrine & Metabolic Disorders. 2001;1:233-40.

อ้างอิง
http://dailymed.nlm.nih.gov/dailymed/lookup.cfm?setid=b8ad0b63-76cf-4fa8-9326-d4b750f02374#nlm34070-3

http://www.medsafe.govt.nz/profs/datasheet/c/celebrexcap.pdf

ประกันการเดินทาง ต่างประเทศ จำเป็นแค่ไหน

ประกันการเดินทาง สำคัญแค่ไหน?

ขึ้นชื่อว่าความไม่แน่นอนแล้ว ความเจ็บไข้ได้ป่วย หรืออุบัติเหตุอาจเกิดได้ระหว่างที่คุณเดินทาง
แล้วจะเป็นอย่างไรถ้ามันเกิดตอนที่เราอยู่ต่างบ้านต่างเมือง

....
อุบัติเหตุขณะปั่นรถลงเขา ฟันหัก ดีนะที่ประกันกัยมอนเดียลไว้
เคสนี้ชักระหว่างเที่ยวที่เกาหลี
หนักกว่าเคสแรกมาก ต้องใส่ท่อช่วยหายใจ
อ่านกระทู้ตามไปแล้ว ก็แอบเครียดตาม ลุ้นตามไปด้วย
สุดท้ายคุณป้อม อาการดีขึ้น ฟื้น และยิ้มได้ ดีใจด้วยค่ะ
อันนี้เป็นความต่อ อ่านแล้วซึ้ง
ในเคราะห์ร้ายยังมีความโชคดีแฝงอยู่

ผมใช้ของ Travel Guard แล้วบังเอิญเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างรุนแรงตอนไปเที่ยวที่ต่างประเทศ 
ทางบริษัทฯ ประสานงานดีครับ ส่ง Guarantee letter ไปให้ที่ finance ของโรงพยาบาล 
ทำให้ผมไม่ต้อง advance เงินไปก่อน แล้วยังประสานงานเรื่อง clearance ต่าง ๆ กับหมอ สายการบิน และ medical escort เพื่อพาผมกลับเมืองไทยด้วยครับ แต่ม claim เฉพาะเรื่องอุบัติเหตุและการส่งตัวกลับประเทศเพื่อมารักษาต่อนะครับ ไม่ได้ claim เรื่องอื่น

ทั้งนี้เป็นประสบการณ์ส่วนตัวนะครับ แต่ไม่อยากให้คนอื่นมีประสบการณ์เจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุครับ


-----
เวบนี้รวมทุกบริษัท
-----
แต่จากการศึกษาในพันทิป ก็มีที่แนะนำดังนี้
.
.
.
^

1 Mondial Assistance จัดว่าดี ลูกค้าเคลมคืนได้เร็ว ไม่ค่อยมีปัญหา

2 Thai vivat Insurance บริษัทของไทย ใจดี ป่วยไม่ต้องสำรองจ่าย ถูกใจคนไทย

3 Bangkok Insurance ค่าเบี้ยค่อนข้างสูง แต่คลอบคลุมทุกเรื่องแต่ไม่เคยใช้

4 NZI ค่อนข้างถูก แต่มีปัญหาเรื่องเคลมช่วงหลัง ลูกค้าร้องเรียนเยอะ

5 ACE - generali ราคาถูก มีลูกค้าเลือกใช้ค่อนข้างเยอะ แต่รู้สึกว่าถ้าป่วยแบบโอพีดี 
ที่เมืองนอกต้องสำรองจ่ายไปก่อน

6 BUPA Inter ตัวแรกที่มาแรง แต่ชะตาเริ่มหลิบหลี่ เพราะทุกสิ่งทุกอย่าง
ต้องให้ลูกค้าสำรองเงินออกไปก่อน แล้วค่อยเคลมคืนได้เงินคืนรอ 3 เดือน ลูกค้าอาฆาตมาก

8 Tippaya Insurance ราคาถูกมากเกินไป การโคฟเวอร์และช่วยเหลือค่อนข้าง
จำกัดและบางอย่างไค่อยทันสมัย ลูกค้าไม่ค่อยเลือกเพราะราคาถูกเกินไป

9 AXA เป็นที่นิยมของลูกค้า แต่ราคาสูงและเมื่อเที่ยบกับการช่วยเหลืออยู่ในเกณฑ์โอเค 
โดยเฉพาะลูกค้าที่โดนอุบัติเหตุต่างๆ มีศูนย์มากมายในยุโรป

* ขอแนะนำและฉมังดี คือ Mondial Assistance , Thai Vivat, AXA อย่างอื่นไม่แนะนำเพราะไม่มีสปิริท ในการช่วยเหลือลูกค้าเท่าที่ควร


คราวนี้มาดูกันมาซื้อยี่ห้อไรดี----สุดท้ายมาเลือก Travel guard  ค่า
-------------------------
ไปเที่ยวมาแล้วกลับมาแล้ว เกือบได้ใช้เพราะเกือบโดนเลื่อนไฟล์ท
ซึ่งประกันการเดินทางที่เลือกนั้นได้ครอบคลุมการยกเลิกการเดินทางด้วย
แต่ก็โชคดีไม่อยากใช้ประกัน อยากเที่ยวมากกว่า

-------
แต่ประกันนั้นจะบอกได้ว่าดีหรือไม่ ก็ต่อเมื่อมีการเคลมเกิดขึ้นนั่นแล