วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

ไฮเดรนเยีย เปลี่ยนสีดอก ยังไง


Hydrangea – ไฮเดรนเยีย

 “ Thank you เป็นความหมายของดอกไม้ชนิดนี้



ไฮเดรนเยีย( hydrangeas)นั้น  เป็นไม้พุ่ม(shrub) มีทั้งสีขาว ชมพู แดง ฟ้า น้ำเงิน หรือม่วง


--เหมาะที่จะปลุกในที่แสงแดดรำไร  และจะเหี่ยวได้ง่ายจากการขาดน้ำ
ชอบอากาศเย็น และขึ้นได้ดีในที่มีแสงรำไร  (ชอบแดดตอนเช้า แต่ไม่ชอบแดดตอนบ่าย)
##ถ้าแดดจัด จะทำให้ใบไหม้ ## และถ้าร่มเกินไปก็จะไม่มีดอก
แต่มีไฮเดรนเยียพันธุ์ paniculataที่ปลูกกลางแจ้ง แดดจัดได้ ถ้าดินมีความชื้นพอเพียง

แต่ไม่ชอบชื้นนะ เพราะจะเป็นเชื้อราได้ง่าย
ส่วนการจะเอาลงดินหรือกระถางแล้วแต่ความชอบ เนื่องจากต้องหมั่นเปลี่ยนกระถางและดินให้เค้าอย่างสม่ำเสมอ ไม่งั้นอาการใบเหลืองจะมาก่อนเลย
แต่ลงดินก็ดูแลเรื่องค่าความเป็นกรดเบสยาก ซึ่งเป็นตัวกำหนดสีดอกของเค้า

การจะเปลี่ยนสีดอกนั้น
เดรนเยียส่วนใหญ่จะมีสีขาวเป็นหลัก แต่บางชนิด เช่น H. macrophylla อาจเป็นสีน้ำเงิน แดง ชมพูหรือม่วง ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดหรือด่างของเครื่องปลูก หากเครื่องปลูกมีสภาพเป็นกรด pH 5.0-5.5 สีดอก จะออกเป็นสีน้ำเงิน ถ้าสภาพเป็นด่างจะให้ดอกสีม่วงหรือชมพู ถ้าปลูกในเครื่องปลูกที่สภาพเป็นกลาง ดอกไฮเดรนเยียจะมีสีครีมซีด ทั้งนี้เพราะไฮเดรนเยียเป็นหนึ่งในบรรดาพืชไม่กี่ชนิดที่สะสมธาตุอะลูมินัม ธาตุนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาจากเครื่องปลูกซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ธาตุนี้จะทำปฏิกิริยากับสารละลายในกลีบดอกทำให้เกิดสีน้ำเงินขึ้นได้ ปกติไฮเดรนเยียต้องการดินที่เป็นกรดอ่อน pH 6.0-6.5 จะเติบโตได้ดี


วิธีทำให้ดอกเป็นสีชมพู 

1.ใส่ปุ๋ยผสมที่มีสัดส่วนฟอสฟอรัสมาก(ปุ๋ยตัวกลางของ N-P-K)   ฟอสฟอรัสจะทำปฏิกิริยากับอลูมิเนียมในดิน เมื่ออลูมิเนียมอยู่ในรูปที่ไม่ละลายน้ำพืชจึงไม่สามารถสร้างสีฟ้าได้ทำให้ดอกเป็นสีชมพู
2. ใส่ปูนโดโลไมท์ (Dolomite Lime สำหรับปรับพีเอชของดินโดยเฉพาะ) ปีละสองสามครั้ง จะทำให้ค่าพีเอชสูงประมาณ 6.0-6.2

วิธีทำให้ดอกเป็นสีฟ้า 

1. ใช้อลูมิเนียมซัลเฟต (สารส้ม) ละลายน้ำอัตราส่วน 1 ช้อนโต๊ะ/น้ำ 4 ลิตร รดทุก 2 อาทิตย์จนดอกเปลี่ยนสีตามต้องการ
2. เอาตะปูเป็นสนิมฝังใต้โคน หรือผงตะไบเหล็กโรยที่โคนต้น


การปลูกและบำรุงรักษา

-ควรปลูกในดินร่วนซุย  และมีความชื้นพอเหมาะ ไม่แห้งหรือแฉะเกินไป
และดินต้องระบายน้ำได้ดี

ถ้าดินแห้งเกินไปจะทำให้เป็น sunburn ถ้าดินแฉะเกินไปจะทำให้รากเน่า

-ใส่พวกปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกผสมกับดินร่วนที่ปลูก (ต้องรดน้ำทุกครั้งหลังจากใส่ปุ๋ย ไม่ว่าปุ๋ยอะไรก็ตาม)

-ใส่ปุ๋ยเคมีละลายช้า สูตรเสมอ  ปีละครั้ง สองครั้ง และควรใส่ตอนหน้าร้อน ถ้าต้นเล็กก็ใส่ประมาณ1/4 cup    แต่ถ้าเป็นพุ่มใหญ่ก็ใส่ประมาณ1-2cup 

:ห้ามใส่ปุ๋ยเคมี ถ้าต้นนั้นอ่อนแอ เป็นโรค หรือเหี่ยวเฉา เด็ดขาด

-การรดน้ำก็ควรรดน้ำให้ชุ่มลงลึกสู่ชั้นล่างๆของดิน (แต่ละครั้งที่รดน้ำ ไม่ต้องรดมาก รอให้น้ำซึมลงใต้ดินให้หมดก่อน แล้วค่อยรดซ้ำ) และไม่ควรจะรดน้ำทุกวัน เมื่อดินเริ่มแห้งแล้วจึงค่อยรดน้ำ

-ควรตัดแต่งกิ่งที่ดอกร่วงโรยแล้ว และกิ่งแก่หรือแห้ง ทิ้งไปเหลือไว้แต่กิ่งที่ยังไม่มีดอกและสมบูรณ์ เพื่อจะได้ออกดอกในปีต่อไป

โรคและแมลง
-โรคที่มักเกิดกับไฮเดรนเยียได้แก่โรคพวกใบจุด(leaf spots) รากเน่า และราน้ำค้าง
-พวกเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง แมงมุมแดง ฯลฯ

การขยายพันธุ์ 
สำหรับการขยายพันธุ์ใโดยวิธีการปักชำกิ่งช่วงที่เหมาะสมสำหรับการ ขยายพันธุ์คือช่วงฤดูฝนเพราะสภาพอากาศชื้น และเป็นช่วงที่ต้นพันธุ์แตกหน่อกิ่งก้านมาก ทำให้มีกิ่งพันธุ์จำนวนมาก

การเพาะชำอาจปักชำในกระบะชำที่มีทรายหยาบและแกลบดำเป็นวัสดุปักชำและใช้ ฮอร์โมนเร่งราก ช่วยให้มีจำนวนและความยาวรากเพิ่มขึ้นจากนั้นจึงย้ายกิ่งลงถุงพลาสติกดำ

-ใช้กิ่งปักชำ (กิ่งที่มียอดติดอยู่)จะขึ้นง่ายมาก
-การโน้มกิ่งโดยโน้มกิ่งที่มียอดอ่อน  และติดอยู่กับต้นลงมาที่ดิน เอาดินกลบกิ่งที่โน้มนั้น แล้วเอาหินทับไว้ ให้เหลือยอดโผล่ขึ้นเหนือดิน เมือรากออกแล้วก็ตัดกิ่งนั้นออกจากต้นแม่ แล้วนำไปปลูกได้

ส่วนที่เป็นพิษ:  ทุกส่วนของต้นโดยเฉพาะใบและยอดอ่อน
สารพิษ:          Hydragenol, Hydrangenic acid
อาการพิษ:      ถ้ารับประทานพืชนี้สดๆ โดยมิได้นำมาหุงต้มหรือดอง เพื่อให้เอนไซม์หมดฤทธิ์ ก็จะเกิดพิษขึ้น ทำให้คลื่นไส้ อาเจียน หายใจขัด ชักกระตุก กล้ามเนื้อไม่มีแรง หายใจลำบาก อาจหมดสติ โคม่า
รายที่มีอาการรุนแรงมาก ลมหายใจจะมีกลิ่นไซยาไนด์
 
ถ้ารับประทานในปริมาณน้อยทำให้มึนงง แต่ถ้าในปริมาณมากพอ ทำให้หน้าเขียว เล็บเขียว (cyanosis) เพราะขาดออกซิเจน หายใจขัด และถึงแก่ความตายได้
 
การรักษา: ทำให้อาเจียนแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อทำการล้างท้อง

การทำไฮเดรนเยียให้เป็นดอกไม้แห้ง


วิธีแรกเป็นวิธีธรรมชาติที่ง่ายๆ เราจะปล่อยให้ดอกไฮเดรนเยียบานค้างอยู่บนต้นจนดอกแก่จัด (จะได้ดอกที่มีสภาพคลาสสิกหน่อย) จึงตัดมาปักแจกัน จะใส่น้ำหรือไม่ก็ได้ ทิ้งไว้ให้เขาแห้งไปเลย จะมีสภาพเหมือนดอกกระดาษ 

วิธีนี้ถ้าก้านดอกไม่แข็งแรงพอ จะใช้วิธีผึ่งแบบห้อยหัวลงก็ได้
อีกวิธีหนึ่งคือใช้ silica gel แบบทรายละเอียด ซึ่งมีขายตามร้านขายเคมีทั่วไป (ราคากิโลละประมาณ 200 บาท) นำมาใช้ดูดความชื้นออกจากดอกไม้ ซึ่งผง silica gel นี้สามารถนำกลับมาใช้ได้เรื่อยๆ โดยการนำไปอบไล่ความชื้นในเตาไมโครเวฟ

1.การเลือกดอกไม้ใดๆที่จะนำมาทำดอกไม้แห้ง ต้องคำนึงถึงอายุของดอกนั้นด้วยว่า เขาถึงจุดอิ่มตัวหรือยัง คือรอจนดอกไม้ไม่เปลี่ยนสีอีกแล้ว ตัดดอกให้ติดก้านประมาณ 1 นิ้ว

2.ใช้กล่องเหล็ก หรือขวดแก้วที่มีฝาปิดสนิท ใส่ silica gel ที่แห้งสนิทลงไปหนาสัก 1-2 นิ้ว วางดอกไม้ลงไป อย่าให้แน่นนักถ้ามีหลายดอก 

3.ค่อยๆตัก silica gel กลบดอกไม้ โดยโรยเข้าไปทุกซอกมุมของกลีบดอกจนทั่วถึงเมื่อดอกถูกฝังกลบจนมิด แล้วจึงปิดฝาภาชนะให้แน่น เก็บไว้ในที่แห้ง ประมาณ 4-5 วัน อย่าทิ้งไว้นานเกินไปจะทำให้กลีบดอกไม้กรอบและเปรา
เมื่อถึงเวลาก็ค่อยเทออกมาจากภาชนะ บรรจงใช้พู่กันปัดผงทรายออกเบาๆ ถ้าต้องการให้ดอกแห้งคงทนก็ให้ spray ด้วยแล็กเกอร์ หรือจะเก็บดอกใส่ขวดแก้วซึ่งบรรจุเม็ด silica เพื่อกันความชื้นแล้วผนึกให้แน่น

ที่มา:
pantip

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น