น้องหมากำลังท้องและถ่ายออกมาเป็นพยาธิตัวขาวๆ มาดูกันว่าเป็นอะไรได้บ้าง
--
เริ่มแรก สังเกตุลักษณะอึน้องหมากันก่อน --- คำเตือนภาพอาจไม่สบายดีนึดนึง
ในกรณีที่มันมีพยาธิในท้องถ้าหากอึของมันดูเหมือนมีตัวอะไรคล้ายๆ เม็ดข้าว หรือเป็นเส้นๆ ล่ะก็ ชัดเลย มันเป็นพยาธิแน่นอน พยาธิตัวแบนจะเกาะกันเป็นกลุ่มๆ ในกองอึ คล้ายๆ กับเม็ดข้าวเล็กๆ ส่วนพยาธิตัวกลมนั้นจะดูเหมือนเส้นสปาเก็ตตี้แบน ๆ
ในกรณีที่มันได้รับเชื้อโรคต่าง ๆ สังเกตดูว่าอึของมันมีมูกหรือเปล่า อึก้อนนั้นมีลักษณะเหลว ตอนคุณตักมันขึ้นมาหรือเปล่า และส่งกลิ่นเหม็นตลบไปสามบ้านแปดบ้านหรือเปล่า ถ้าใช่แสดงว่าเจ้าเพื่อนแสนรู้ของคุณได้รับเชื้อการ์เดียเข้าให้แล้ว เชื้อโรคชนิดนี้แพร่กระจายได้ทางน้ำดื่มที่สกปรก หรือไม่ก็โดยมันเดินลุยผ่านแอ่งน้ำ แล้วเลียอุ้งเท้าของมันเอง
ในกรณีที่กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ ถ้ามันอึออกมากองโต มีสีเทา หรือเหนียวหนับเหมือนยางมะตอยล่ะก็ เป็นไปได้ว่าระบบย่อยอาหารของมันเกิดทำงานผิดปกติขึ้นมา อาการลักษณะนี้สัตวแพทย์จะเรียกว่าระบบย่อย อาหารผิดปกติหรือระบบการดูดซึมบกพร่อง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มันผอมและเป็นโรคขาดสารอาหาร แม้ว่าคุณจะให้อาหารดีๆ กับมันมากมายเพียงใดก็ตาม
ในกรณีที่ในท้องมีอาการสาหัสอย่างหนัก นอกจากเลือดที่ปนมากับอุจจาระจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าสุนัขมีอาการปวดท้องแล้ว มันยังสามารถชี้ตำแหน่งที่เกิดอาการเจ็บปวดอย่างเฉพาะเจาะจงได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่น เลือดสด ๆ ที่ปนมากับอุจจาระจะเป็นตัวบ่งบอกว่ามีบาดแผลที่ลำไส้ใหญ่ ถ้าอุจจาระมีสีดำหรือเหนียวคล้ายน้ำมันดิน แสดงว่าอาจมีการระคายเคืองที่กระเพาะอาหารหรืออวัยวะย่อยอาหารบางแห่ง โดยสรุปแล้วเลือดที่ออกมากับอุจจาระเป็นสัญญาณว่าสุนัขของคุณมีอาการหนักแล้ว รีบพาไปหาสัตวแพทย์ด่วนจี๋เลย
ในกรณีที่มันกินบางอย่างที่ไม่ควรจะกินการสังเกตอุจจาระของสุนัขอย่างเผิน ๆ จะสามารถให้ร่องรอยบางอย่างกับคุณว่าเจ้าหมาตัวดีของคุณมีอาการที่ไม่น่าไว้วางใจหรือไม่ เพื่อที่คุณจะเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นเผื่อว่ามันจะมีอาการผิดปกติร้ายแรง ตัวอย่างเช่น หมาที่มีเศษของเล่นพลาสติกอยู่ในอุจจาระสมควรที่จะได้รับดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะไม่ไปกินอะไรแผลงๆ เข้าอีก
แล้วเราควรจะมองหาอะไรในอึหมาของเราดีล่ะ อึที่ดีนั้นควรจะจับตัวกันเป็นก้อน มีขนาดพอสมควร ไม่ก้อนเล็กหรือใหญ่เกินไป และไม่ควรจะเหม็นมากเกินไป (หมายความว่าเหม็นได้ แต่อย่ามาก) ถ้าอึหมาของคุณไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่กล่าวมาล่ะก็ รีบไปปรึกษาสัตวแพทย์ดีกว่านะ ขอให้มีความสุขกับการตรวจอึ !
เก็บตัวอย่างอึอย่างไรให้ได้ผลแม้ว่าจะมีความรู้เกี่ยวกับการสัตวแพทย์เพียงเล็กน้อย เจ้าของก็สามารถบอกอาการของสุนัขได้มากมาย จากการพิจารณาอึของมัน บ่อยครั้งทีเดียวที่สัตวแพทย์ต้องการตรวจตัวอย่างอึของสุนัข นี่เป็นวิธีการเก็บตัวอย่างอึที่ถูกต้อง
อย่าเก็บตัวอย่างมามากเกินไปคุณไม่จำเป็นต้องเก็บอึทั้งกองมาให้สัตวแพทย์หรอก แค่ช้อนชาเดียวก็เหลือแหล่แล้วสำหรับให้สัตวแพทย์หรือนักเทคนิคการแพทย์ตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์
เก็บแต่อึที่ยังใหม่ ๆ อยู่ยิ่งอึเก่าเท่าไร ยิ่งยากแก่การตรวจสอบมากขึ้นเท่านั้น โดยทั่วไปสัตวแพทย์ต้องการได้ตัวอย่างอึที่เพิ่งถูกขับออกมาได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง แต่ถ้าเอาไปแช่ตู้เย็นมันจะช่วยยืดอายุได้เป็น 48 ชั่วโมง (ว่าแต่ว่า คุณจะเอาอึหมาไปแช่ตู้เย็นจริง ๆ รึ)
ขอขอบคุณแหลงข้อมูล -- ChampBKK http://pitbullzone.com/community/discussion/11760/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87...%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2/p1
-------------
ถ้าตัวแบนๆ เป็นปล้องๆ คือพยาธิตัวตืด ติดจากการกินป้องของพยาธิตัวตืดเข้าไป หรือการกินหมัด ซึ่งเป็นพาหะของพยาธิตัวตืดเข้าไปครับ
แต่ถ้าเป็นพยาธิเส้นยาวๆ โดยมากเป็นพยาธิตัวกลมครับ ติดได้หลายทาง เช่นการกินไข่พยาธิเข้าไป หรือติดจากแม่สู่ลูก ทั้งทางเลือดตอนอยู่ในท้อง และทางน้ำนมตอนแรกเกิด
ถ้ามีปริมาณไม่เยอะก็ไม่มีผลให้เห็นชัดเจนครับ แต่ถ้ามีเยอะมากก็จะทำให้ลูกสุนัขขาดสารอาหาร โลหิตจาง ท้องเสีย อาจเกิดปัญหาลำไส้อุดตัน หรือลำไส้แตกจนเสียชีวิตได้ในกรณี่มีปริมาณมากๆ
1. ใช้ยาถ่ายพยาธิชนิดไหนอยู่
ยกตัวอย่างหากใช้ยาถ่ายพยาธิผิดประเภท หรือ โดสไม่เหมาะสมก็ไม่สามารถถ่ายพยาธิบางชนิดได้ครับ
2. อายุสองเดือนแล้ว ใช้ยาถ่ายพยาธิชนิดรวมได้แล้วครับ ปกติถ้าให้ตามน้ำหนักตัวที่ถูกต้อง ป้อนยาทุกๆ2 อาทิตย์ สัก 2-3 ครั้งก็น่าจะถ่ายพยาธิได้หมดครับ
หากถ่ายหมดแล้วจากนั้นก็แนะนำให้ถ่ายทุกๆ 3 เดือนครับ
พยาธิตัวแบนๆเป็นปล้องๆคือพยาธิตัวตืด ก็ต้องสอบถามก่อนว่าป้อนยาถ่ายพยาธิอะไรเข้าไป ขนาดของยาถูกต้องหรือไม่ แล้วป้อนยากี่ครั้ง เว้นระยะห่างเท่าไหร่
ยาถ่ายพยาธิมีหลายชนิดครับ พวกราคาถูกๆหรือยาถ่ายพยาธิของลูกสัตว์จะถ่ายได้แต่พยาธิตัวกลม ไม่สามารถถ่ายพยาธิตัวตืดได้ ถ้าอย่างนั้นจะถ่ายบ่อยแค่ไหนก็ไม่มีประโยชน์ครับ
นอกจากนี้ในด้านวงจรชีวิตของพยาธิตัวตืด ปล้องที่เห็นเป็นระยะติดต่อของพยาธิ หากสุนัขกินปล้องนั้นเข้าไปก็เป็นการติดพยาธิซ้ำ หรือหากสุนัขกินหมัดที่มีระยะติดต่อของพยาธิตัวตืดในตัวก็ติดพยาธิซ้ำได้ครับ เนื่องจากหมัดเป็นพาหะของพยาธิตัวตืด
ดังนั้นในการถ่ายพยาธิตัวตืดให้ได้ผล ต้องเลือกใช้ยาให้ถูกชนิด ขนาดยาเหมาะสม ป้อนซ้ำตามระยะเวลาจนกว่าจะถ่ายพยาธิออกหมด และต้องควบคุมกำจัดหมัดซึ่งเป็นพาหะของพยาธิตัวตืดด้วย
โดยมากถ้าเป็นลูกสุนัขอายุยังไม่เกินสองเดือนมักจะให้เริ่มถ่ายจากยาน้ำก่อนครับ เพราะปลอดภัยกว่า แต่จะได้แค่พยาธิตัวกลมครับ
เมื่อสุนัขอายุมากกว่าสองเดือน ก็สามารถใช้ยาถ่ายพยาธิชนิดรวม (ถ่ายพยาธิตัวกลม และตัวตืด) ซึ่งโดยมากจะเป็นยาเม็ดครับ แล้วยาถ่ายพยาธิที่ให้ที่ฉีดหมายความว่าอย่างไรครับ เป็นยาฉีดเข้าใต้ผิวหนังหรือครับ หรือว่าเป็นยากิน เม็ด/น้ำ ครับ กลุ่มยาถ่ายพยาธิชนิดรวม ที่สามารถถ่ายได้ทั้งพยาธิตัวกลมและตัวแบน โดยมากเป็นยากินครับ (ยาเม็ด) ถ้าใช้ยาฉีดจริงๆ น่าจะเป็นยา ivermectin ซึ่งถ่ายได้แค่พยาะิตัวกลมเท่านั้นครับ ไม่ได้ถ่ายพยาธิตัวตืด
กรณีถ่ายเหลว และ ฉี่บ่อยไม่น่าจะเกี่ยวกับยาที่ฉีดนะครับ
แต่ถ้าเป็นการกินยาสัตว์หลายๆตัวที่กินยาถ่ายพยาธิก็เกิดอาการถ่ายเหลวได้ครับ แต่โดยมากแค่ 1-2 ครั้งแล้วก็กลับมาเป็นปกติครับ ดังนั้นลองดูอาการครับ หากยังถ่ายเหลวอยู่นานกว่านั้น ส่วนตัวคิดว่าอาจจะป่วยด้วยปัญหาท้องเสียมากกว่าครับ
ที่นิยมกันมากสุดก็คือใช้ยาถ่ายพยาธิ Parax ครับ http://www.click2vet.com/index.php?lay=show&ac=cat_show_pro_detail&pid=87339
พยาธิทางเดินอาหารไม่ได้ทำให้เกิดอาการคันครับ (ที่พบได้มีแค่อาการคันก้น เอาก้นไถพื้นครับ) ดังนั้นหากสุนัขมีอาการเกาคันตามผิวหนังตามลำตัว แล้วหมอบอกว่าสาเหตุมาจากพยาธิ แนะนำให้เปลี่ยนสถานที่ตรวจรักษาครับ
แนะนำให้พาไปตรวจผิวหนังที่โรงพยาบาลสัตว์ครับ หากสงสัยเรื่องโรคผิวหนัง ควรเริ่มจากการขูดผิวหนังส่องกล้องจุลทัศน์ครับ เพื่อตรวจหาไรขี้เรื้อน เชื้อรา ยีสต์ และแบคทีเรียครับ
ปล. กรณีตรวจผิวหนัง ไม่ควรอาบน้ำก่อนพาไปตรวจนะครับ เพราะการอาบน้ำจะฟอกเอากลิ่น เอาสะเก็ดรังแค่ และสิ่งต่างๆที่ใช้ในการตรวจออกไปหมด ทำให้อาจจะตรวจไม่พบอะไรครับ
ใช้เวลานานเท่าไหร่เมื่อให้ลูกสุนัทกินยาถ่ายพยาธิแล้วเค้าถึงจะอึออกมา โดยทั่วไป 1 วันครับ
พยาธิที่ออกมากับอึให้เห็นเป็นตัวๆส่วนใหญ่ไม่ใช่ระยะติดต่อครับ ระยะติดต่อส่วนใหญ่ของพยาธิตัวกลมคือไข่ที่ปนออกมากับอึ และติดสู่คนสู่สัตว์อื่นโดยการกินเข้าไป กินโดยตรง ปนเปื้อนในอาหาร ติดมือแล้วไปหยิบจับอาหาร ครับ จะมีที่ออกมาแล้วเป็นระยะติดต่อคือปล้องแก่ของพยาธิตัวตืด จะเป็นเส้นสั้นๆแบนๆ ขยับไปมาได้ แต่การติดต่อก็คือการกินอยู่ดีครับ
ส่วนพยาธิที่เป็นตัวอ่อนที่อยู่ตามพื้นดินและเป็นระยะติดต่อคือตัวอ่อนของพยาธิปากขอครับ แต่เป็นการฟักออกมาจากไข่แล้วเป็นตัวอ่อนระยะติดต่อนะครับ ไม่่ใช่การที่สัตว์อาเจียนหรือถ่ายออกมาแล้วเป็นระยะติดต่อ
ดังนั้นการที่สุนัขถ่ายออกมามีพยาธิ ถ้าไม่ใช้ตัวตืด ตัวพยาธิที่เห็นไม่ใช่ระยะติดต่อครับ ส่วนถ้าเป็นตัวตืดการติดต่อก็คือการกินปล้องแก่เข้าไปครับ
ยังไงเรื่องพยาธิเป็นเรื่องการแก้ไขรักษาง่ายครับ ก็แค่ป้อนยาถ่ายพยาธิชนิดรวมของสุนัขโดยตรง ตามน้ำหนักตัวครับ
http://www.click2vet.com/index.php?lay=boardshow&ac=webboard_show&WBntype=2&No=1396098
--------------------------------
โรคพยาธิปากขอ (Hookworm)ขนาด เป็นพยาธิตัวกลมขนาดเล็กยาวเพียงแค่ 1.6 เชนติเมตรมีเขี้ยวแหลม 3 คู่ เอาไว้ดูดเลือดในลำไส้เล็กของลูกสุนัข
การติดต่อโดยถูกพยาธิตัวอ่อนไชเท้าทางผิวหนัง หรือถูกถ่ายทอดทางน้ำนมจากแม่สุนัข
อาการป่วย ลูกสุนัขมักจะมีอาการซีดของเยื่อเมือกในปาก ตา เกิดภาวะโลหิตจาง มีการถ่ายเหลวมีเลือดปน ลักษณะอุจจาระจะเป็น สีแดงคล้ำๆ ลูกสุนัขอ่อนเพลีย ผอม และไม่โต
การตรวจวินิจฉัย ท่านเจ้าของสุนัขควรเก็บอุจจาระนำไปให้ สัตวแพทย์ตรวจหาไข่ของพยาธิ
การรักษา ควรถ่ายพยาธิทุก 14 วัน เพื่อนำเอาตัวแก่ของพยาธิ ออกไปเป็นช่วง ๆ
โรคพยาธิไส้เดือน (Ascariasis)ขนาด เป็นพยาธิตัวกลม ขนาดค่อนข้างใหญ่ ยาวเกือบ 10 – 18 เซ็นติเมตร ตัวสีน้ำตาลขาว คล้ายๆ เส้นบะหมี่
การติดต่อ โดยการถ่ายทอดผ่านทางรกของแม่สุนัขไปสู่ลูกสุนัข
อาการป่วย ถ้าลูกสุนัขที่ป่วยเนื่องจาก การเคลื่อนที่ของตัวอ่อน พยาธิไปตามอวัยวะภายใน มักจะตายใน 2 – 3 สัปดาห์หลังเกิดโดย ที่เรามักจะไม่ทราบสาเหตุ ถ้าลูกสุนัขโตขึ้นมามีการป่วย มักจะมี อาการถ่ายเหลว ท้องป่อง กินอาหารจุแต่ผอม บางครั้งจะอาเจียน ออกมาและ มีตัวพยาธิปนออกมากับอาเจียนด้วย
การตรวจวินิจฉัย ควรเก็บอุจจาระมาให้สัตวแพทย์ตรวจหาไข่ พยาธิ หรือถ้าลูกสุนัขอาเจียน ถ่ายอุจจาระออกมา พร้อมกับมีพยาธิ ไส้เดือน ให้เก็บมาให้สัตวแพทย์ตรวจดูด้วย
การรักษา ควรถ่ายพยาธิทุก 14 – 21 วัน เพื่อขจัดเอาตัวแก่ ของพยาธิออกไปเป็นช่วงๆ
โรคพยาธิเส้นด้าย (Enterobiasis)ขนาด เป็นพยาธิตัวกลม ขนาดเล็กยาวเพียง 0.2 เซนติเมตร
การติดต่อ โดยการถูกพยาธิไชผ่านผิวหนัง และสุนัขกินตัวอ่อน ระยะติดต่อเข้าไป
อาการป่วย ขึ้นอยู่กับจำนวนพยาธิที่มีอยู่ในตัวลูกสุนัข ถ้ามี น้อยอาจจะมีอาการถ่ายเหลวเฉยๆ ถ้ามีมากจะมีอาการถ่ายเหลวและ มีเลือดปน สุนัขจะซึม เบื่ออาหาร ไม่กินอาหาร น้ำหนักตัวลดลง
การตรวจวินิจฉัย ต้องนำเอาอุจจาระของลูกสุนัขมาตรวจหาไข่พยาธิ
การรักษา ใช้ยาถ่ายพยาธิตัวกลมติดกัน 3 – 5 วัน เพราะตัว อ่อนของพยาธิเส้นด้ายจะออกจากไข่ทุกๆ 24 ชั่วโมง
โรคพยาธิตืดเม็ดแตงกวา (Dipylidium Caninum)ขนาด เป็นพยาธิตัวแบนเป็นท่อน ๆ ขนาดประมาณ 2.5 เซนติเมตร เวลาที่เราเห็นมักจะยังมีชีวิตขยับได้ อยู่ปนกับก้อนอุจจาระ ของสุนัข ออกจะเป็นเหลืองขาว
การติดต่อ โดยการกินแมลงพวกหมัดที่อยู่บนตัวของสุนัข ตัวหมัดจะเป็นที่อาศัยกึ่งกลางของตัวอ่อนพยาธิชนิดนี้ ถ้าสุนัขมีหมัดโอกาสที่จะเป็นพยาธิตัวตืดเม็ดแดงกวามีสูงมาก
อาการป่วย มีอาการคันก้น อาจจะมีการเอาก้นไถพื้น น้ำหนัก ลด ขนแห้งหยาบ สุนัขไม่สมบูรณ์
การตรวจวินิจฉัย สามารถดูจากตัวแก่ที่อยู่ในก้อนอุจจาระและบริเวณรูก้น
การรักษา ให้ยาถ่ายพยาธิตัวตืด ทุก 2 – 3 อาทิตย์ เพื่อตัดวงจรของพยาธิตัวแก่ออกไป นอกจากนั้นยังต้องกำจัดหมัดที่เป็นที่อยู่อาศัยกึ่งกลางของพยาธิให้หมดไปด้วย
อ้างอิงรูปภาพจาก futurity.org, health.tipsdiscover.com, married2medicine.hubpages.com
ขอขอบคุณที่มา-- http://dognjoy.com/2014/09/worm-in-dogs-alimentary-system/
-------------------
โรคพยาธิตัวกลมคืออะไร มีสาเหตุจากอะไร
โรคพยาธิตัวกลมหรือ Toxocariasis เกิดจากการที่สุนัขหรือแมวติดพยาธิตัวกลมซึ่งพบในทางเดินอาหาร
สัตว์ชนิดใดเป็นโรคพยาธิตัวกลมได้บ้าง
สุนัขและแมวจะพบพยาธิในทางเดินอาหาร พยาธิตัวกลมในสุนัขคือ Toxocara canis และพยาธิตัวกลมในแมว
คือ Toxocara cati
สัตว์ติดโรคพยาธิตัวกลมได้อย่างไร
สุนัขและแมวทุกอายุสามารถติดพยาธิตัวกลมได้ แต่มักพบการติดพยาธิตัวกลมได้มากในสัตว์ที่อายุน้อย ในสุนัข พยาธิสามารถเคลื่อนที่ผ่านจากแม่ไปสู่ลูกสุนัขได้เมื่อแม่สุนัขตั้งท้อง
โรคพยาธิตัวกลมมีผลต่อสัตว์อย่างไร
สัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการ สัตว์บางตัวอาจมีอาการอาเจียน เบื่ออาหารหรือน้ำ หนักลด
การติดเชื้ออย่างรุนแรงทำ ให้ลูกสุนัขและลูกแมวตายได้
คนติดโรคพยาธิตัวกลมได้หรือไม่
สุนัขและแมวที่ติดมีพยาธิจะปล่อยไข่ของพยาธิออกมาในอุจจาระทำ ให้เกิดการปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ไข่พยาธิ
สามารถอยู่ได้เป็นเวลานานในสวนสาธารณะและสนามเด็กเล่น การติดเชื้อสามารถเกิดจากการกินไข่ของพยาธิใน
อุจจาระที่ปนเปื้อนในดิน ทราย หรือพืชได้เด็กมักติดเชื้อจากการเล่นในบริเวณที่อาจมีการปนเปื้อนอุจจาระของสุนัข และแมวที่มีไข่พยาธิส่วนใหญ่แล้วการที่คนได้รับไข่พยาธิจะไม่ทำ ให้เกิดอาการหรือความเสียหายต่ออวัยวะ ในบาง
รายตัวอ่อนของพยาธิตัวกลมสามารถเคลื่อนที่ไปในร่างกายของผู้ป่วยทำ ให้เกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อในร่างกายได้ (visceral larva migrans) ตัวอ่อนสามารถทำความเสียหายต่อเส้นประสาทหรืออาจเข้าไปอยู่ในตาซึ่งเป็นผลให้เส้น ประสาทเสียหายถาวรหรืออาจทำ ให้ตาบอดได้ โรคพยาธิตัวกลม (Toxocariasis)
ควรติดต่อใครเมื่อสงสัยว่าเกิดโรคพยาธิตัวกลม
กรณีสัตว์: แจ้งสัตวแพทย์
กรณีคน : พบแพทย์พร้อมแจ้งประวัติการสัมผัสสัตว์ป่วย
จะป้องกันสัตว์จากโรคพยาธิตัวกลมได้อย่างไร
การถ่ายพยาธิให้กับสัตว์เลี้ยงเป็นประจำ สามารถป้องกันและกำ จัดพยาธิตัวกลมในสัตว์เลี้ยงได้ ลูกสุนัขและ
ลูกแมวต้องได้รับการตรวจและถ่ายพยาธิจากสัตวแพทย์ในช่วงแรกของชีวิต บริเวณที่เลี้ยงสัตว์ต้องสะอาดและกำจัดอุจจาระอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ควรฝังหรือทิ้งอุจจาระในถุงขยะ
จะป้องกันตัวจากโรคพยาธิตัวกลมได้อย่างไร
การดูแลให้สัตว์เลี้ยงมีสุขภาพดีและปลอดจากพยาธิตัวกลมจะช่วยป้องกันไม่ให้ติดพยาธิได้ สุขอนามัยส่วนบุคคล
มีความสำคัญในการลดโอกาสการติดพยาธิ ล้างมือทุกครั้งที่สัมผัสตัวสัตว์หรือทำ กิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ทำ สวน
การล้างมือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องทำก่อนกินอาหาร และเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสอนให้เด็กรู้และปฏิบัติไม่ควรอนุญาตให้เด็กเล่นในบริเวณที่มีอุจจาระสุนัขหรือแมวปนเปื้อน ดูแลสนามเด็กเล่น สนามหญ้า หรือสวนในบ้านให้ปลอดจากสิ่งขับถ่ายของสัตว์ควรสอนให้เด็กทราบถึงอันตรายจากการกินสิ่งสกปรกหรือดิน
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
CFSPH Technical Fact Sheets. Toxocariasis at http://www.cfsph.iastate.edu/DiseaseInfo/
CDC website. Toxocariasis at http://www.cdc.gov/ncidod/diseases/submenus/ sub_toxocariasis.h
---------------------
ปกติแล้วพยาธิ มักจะมีขนาดเล็กกว่าสิ่งมีชีวิตซึ่งเป็นบ้านที่พยาธิเข้าไปอาศัยอยู่เสมอ เค้าต้องการอาหารเพื่อความอยู่รอด เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์ไม่ให้หมดไปจากโลก เหมือนไดโนเสาร์ และจะไม่พยายามทำลายสภาพแวดล้อม บริเวณที่เป็นแหล่งอาหารของเค้าอีกด้วย สมัยก่อนคนในโลกก็ไม่มากมายเท่าทุกวันนี้ พยาธิต้องใช้ ความพยายามสูงมาก ในการหาบ้านแต่ละครั้ง ตรงกันข้ามกับปัจจุบัน ผู้คนอยู่กันอย่างหนาแน่น แออัด การขยายเผ่าพันธุ์หรือหาที่อยู่ใหม่ ไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก อีกต่อไป รู้จักภูมิหลังของพยาธิพอสังเขปแล้ว คราวนี้เราไปดูกันว่าในทางเดินอาหารของสุนัขมีพยาธิชนิดไหนบ้าง ที่พบว่า เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเจ็บป่วย ในสุนัขอยู่บ่อยๆ
พยาธิไส้เดือน
ตัวกลมๆ ยาวๆ คล้ายไส้เดือน เป็นรูปร่างของพยาธิชนิดนี้ ครั้งแรกที่เราอุ้มเจ้าตูบไปถ่ายพยาธิกันตอนเด็กๆ อายุประมาณ 1 เดือน คุณหมอก็จะให้กินยา เพื่อถ่ายพยาธิชนิดนี้แหละค่ะ หลายๆ ท่านสงสัยและไม่ลังเลที่จะถามว่า แล้วเจ้าตูบไปติดพยาธิมาจากไหนคะหมอ อายุก็น้อยนิด แถมยังไม่เคยออกไปพ้นชายคาบ้าน ด้วยซ้ำไป ก็ติดมาจากแม่เค้านั่นแหละค่ะ หลังคลอดลูกแล้วแม่ต้องให้นมลูก เจ้าพยาธิไส้เดือนก็จะอพยพตัวเองไปใช้เส้นทางใหม่ ผ่านทางน้ำนมเข้าสู่ตัวลูกได้เช่นกัน คุณหมอก็เลยต้องถ่ายพยาธิชนิดนี้ให้กับเจ้าตูบ ด้วยประการฉะนี้แหละค่ะ นอกจาก 2 วิธีการ ที่เล่ามาแล้ว สุนัขยังติดพยาธิโดยการกินไข่พยาธิ (ซึ่งปนมากับ อุจจาระของสุนัขที่ติดพยาธิ) หรือโดยการกินสัตว์ชนิดอื่น ที่ติดพยาธิชนิดนี้โดยบังเอิญ เจ้าตูบที่มีพยาธิชนิดนี้ ตั้งรกรากอยู่ในลำไส้ จะมีลักษณะที่สังเกตง่ายๆ คือ พุงป่อง แคระแกรน ขนหยาบกระด้าง ท้องเสีย อาเจียน บางครั้งในอุจจาระ หรือของเก่าที่อาเจียนออกมา อาจจะพบพยาธิปนออกมาด้วย การมีพยาธิจำนวนมากๆ จะทำให้เกิดการอุดตันของทางเดินอาหาร เกิดการระคายเคือง จนเป็นสาเหตุให้เกิดลำไส้กลืนกัน หรือบางครั้งก็ถึงกับเกิดลำไส้ทะลุได้ อยู่ในลำไส้นานๆ ก็เบื่อพยาธิไส้เดือนก็เลยเริ่มออกทัวร์ สถานที่โปรดปรานก็คือ ปอดของลูกสุนัข การไชผ่านของพยาธิก็จะทำให้ปอดเสียหาย และเกิดการอักเสบรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ พยาธิชนิดนี้อันตรายมากในลูกสุนัข ควรป้องกันก่อนที่จะสายเกินแก้นะคะ ส่วนจะแก้ไขและป้องกันอย่างไร ต้องติดตามต่อไปค่ะ
พยาธิปากขอ
ได้ชื่อมาอย่างนี้ ก็เพราะลักษณะปากของพยาธิชนิดนี้ จะมีฟันที่มีลักษณะเหมือนตะขอ มีหน้าที่คอยเกาะเกี่ยวหนังลำไส้ และดูดเลือด การติดพยาธิชนิดนี้ นอกจากจะติดได้ โดยวิธีการเช่นเดียวกับพยาธิไส้เดือนแล้ว ยังสามารถติดได้ โดยการกินเอาตัวอ่อนของพยาธิ (พยาธิในวัยเด็ก) เข้าไป หรือไม่ตัวอ่อน ก็ไชผ่านผิวหนังเข้าไปได้ ซึ่งทั้ง 2 วิธีนี้ พบได้บ่อยมาก อันตรายจากการพยาธินี้ ก็คือ การที่พยาธิดูดเลือด และของเหลวจากเนื้อเยื่อของร่างกายเจ้าของบ้าน เจ้าตูบจะมีอาการถ่ายเป็นเลือด ซีด อ่อนเพลีย ผอมแห้ง ร่างกายขาดน้ำ การขาดเลือดอย่างรุนแรง ทำให้ลูกสุนัขเสียชีวิตได้ ส่วนสุนัขโต มักไม่ค่อยพบ อาการผิดปกติถึงขั้นรุนแรง
พยาธิแส้ม้า
เพียงรูปร่างเท่านั้นนะคะ ที่บังเอิญไปพ้องรูปเข้ากับแส้ม้า อันตรายไม่ได้เกิดจาการใช้แส้เฆี่ยนตีเจ้าตูบ พยาธิชนิดนี้ชอบโลเกชั่นแถวๆ ลำไส้ใหญ่ หลังจากนั้น มันฝังลงไปที่ผนังลำไส้ ก็จะตั้งหน้าตั้งตาดูดเลือดจากเจ้าของบ้าน นอกจากจะเสียเลือดแล้ว ยังเสียเนื้ออีกด้วย เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบของผนังลำไส้ด้วย เจ้าตูบติดพยาธิโดยการกินไข่พยาธิชนิดนี้เข้าไป ความสำคัญของพยาธิชนิดนี้นอกจากอันตรายแล้ว ยังทรหดอดทนอย่างน่าชื่นชม เพราะสามารถมีชีวิตอยู่ที่พื้นดิน หรือสนามในบ้านเราได้ถึง 4-5 ปี ไม่ต้องบอกต่อ ก็คงพอนึกออกว่าจะเกิดอะไรขึ้นตามมา
พยาธิเส้นด้าย
เป็นพยาธิตัวกลมขนาดเล็กๆ ค่ะ เจ้าตูบติดได้โดยการกินตัวอ่อนของพยาธิ หรือตัวอ่อนไชผ่านทางผิวหนัง ความรุนแรงมักเกิดกับลูกสุนัข เช่นเดียวกับพยาธิชนิดอื่น โดยจะทำให้เกิดลำไส้อักเสบ แบบมีเลือดออกอย่างเฉียบพลัน อาจถึงแก่ชีวิตได้
พยาธิตัวแบน
ที่พบบ่อยๆ ก็ได้แก่ พยาธิเม็ดแตงกวา โดยมีพาหะของพยาธิ เป็นหมัดและเหาอีกที พยาธิตัวแบนตัวอื่นๆ อาจจะไม่คุ้นหูนักเรียกรวมๆ เป็นกลุ่มนี้จะเข้าใจง่ายกว่านะคะ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรุนแรงมาก ทำให้ร่างกายไม่แข็งแรงสมบูรณ์เท่าที่ควร บางชนิด เช่น พยาธิเม็ดแตงกวา จะทำให้เกิดการคันบริเวณก้น เนื่องจากปล้องของพยาธิ สามารถเคลื่อนไหวได้ ถ้าเจ้าของสังเกตสักหน่อย จะเห็นว่า สุนัขจะชอบเอาก้นไปถูไถกับพื้นอยู่บ่อยๆ
จะรู้ได้อย่างไรว่าเจ้าตูบติดพยาธิ
http://dogclub0.tripod.com/Articles/Ar009.html
---------------------
ปกติลูกสุนัขเริ่มมีอายุได้ 40 วันขึ้นไป ก็เริ่มให้กินยาถ่ายพยาธิได้แล้วน่ะค่ะ เวลาถ่ายพยาธิต้องดูด้วยว่า พยาธิที่ออกมาเป็นพยาธิตัวกลม หรือพยาธิตัวตืด เราจะได้เลือกใช้ยาถ่ายพยาธิได้ถูกชนิดกับพยาธิที่มี หรือถ้าไม่แน่ใจให้เลือกใช้ยาถ่ายพยาธิที่ถ่ายได้ทั้งพยาธิตัวตืดและพยาธิตัวกลมในทางเดินอาหารค่ะ ซึ่งช่วงนี้พยาธิจะปนเปื้อนออกมากับอุจจาระอยู่เรื่อย ๆ การให้ยาถ่ายพยาธิให้ทำทุก 2 อาทิตย์ไปอย่างน้อย 4-5 ครั้ง ระหว่างนี้ก็เก็บอุจจาระทิ้งด้วย เพราะการถ่ายอุจจาระทุกครั้งจะมีไข่พยาธิปนออกมาด้วยต้องเก็บทิ้ง ไปเรื่อย ๆ 4-6 สัปดาห์ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและกระจายลงไปในสิ่งแวดล้อม ค่ะ ซึ่งพยาธิในทางเดินอาหารของสุนัขบางชนิดสามรถติดคนได้ ต้องระวังด้วยค่ะ
----------------
ตัวตืด
แต่ถ้าคุณยืนยันไม่ไปหาหมอ จะซื้อยากินเอง โดยมุ่งจะรักษาพยาธิในลำไส้เท่านั้น ผมแนะนำให้ทำสองยกดังนี้
ยกที่หนึ่ง กินยา Niclosamide (Yomesan) เม็ดละ 500 mg กินทีเดียว 4 เม็ด แล้วรอดูเชิงไปว่าได้ผลเกลี้ยงเกลาไหม ยานี้เป็นยาเก่าคลาสสิกมาก งานวิจัยสมัยก่อนบอกว่าได้ผลระดับ 85-98% ถ้าดูเชิงไปแล้วเงียบไปได้ไม่กี่สัปดาห์ก็มีพยาธิไชออกมารบกวนอีก คราวนี้คุณก็ไปยกที่สอง
ยกที่สอง กินยา Praziquantel เม็ดละ 600 มก. ครั้งละสองเม็ด (1,200 mg) รวมสามครั้ง (3,600 mg) จบในวันเดียว ยานี้มีผลพลอยได้คือช่วยกวาดล้างพยาธิใบไม้ในตับไปให้หมดได้ด้วย
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์
http://visitdrsant.blogspot.com/2013/02/blog-post_8.html
http://www.petpowergrand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539212416&Ntype=2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น