แมงกะพรุนกล่อง มหันตภัยใต้สมุทร
แมงกะพรุนกล่อง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตัวต่อทะเล" หรือนักพ่นพิษแห่งท้องทะเล เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัม Cnidaria กลุ่ม Cubozoa ลำตัวคล้ายร่มหรือระฆังคว่ำ ที่ด้านสูงมากกว่าด้านกว้าง โดยมีลักษณะโปร่งใส อาจมีสีฟ้าอ่อน น้ำตาล เหลือง หรือชมพู มีหนวดยื่นออกจากมุมทั้ง 4 มุม อาจยาวได้ถึง 3 เมตร หนวดแต่ละเส้นมีเซลล์พิษอยู่ประมาณ 5,000 เซลล์ แมงกะพรุนกล่องสามารถเคลื่อนที่พุ่งขึ้นสู่ด้านบนได้อย่างรวดเร็ว และว่ายน้ำได้เร็วถึง 5 ฟุตต่อวินาที จึงสามารถจับปลา และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่ากินเป็นอาหารได้อย่างง่ายดาย มักอาศัยอยู่ในทะเลเขตอุ่น เช่น ตามชายฝั่งของประเทศออสเตรเลียตอนเหนือ ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะฮาวาย ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าพบในประเทศไทยที่เกาะหมาก จังหวัดตราด และเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
แมงกะพรุนกล่อง จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยพิจารณาจากลักษณะเด่นที่หนวด (Tentacle) ได้แก่
- Single Tentacle คือมีหนวดเส้นเดียว อยู่ที่มุมทั้ง 4 มุม จัดอยู่ในลำดับ (Oder) Carybdeida
- Multi Tentacles คือมีหนวดหลายเส้น อยู่ที่มุมทั้ง 4 มุม จัดอยู่ในลำดับ (Oder) Chrodropida
กลไกการออกฤทธิ์ และพิษของแมงกะพรุนกล่อง
แมงกะพรุนมีหนวด (Tentacle) ซึ่งเป็นที่อยู่ของกระเปาะเก็บเข็มพิษ (Cnidoblast ) ใช้ในการป้องกันตัว และจับเหยื่อ ภายในกระเปาะจะมีเข็มพิษ (Nematocyst) ขดอยู่ เมื่อหนวดของแมงกะพรุนสัมผัสกับผิวหนังจะกระตุ้นให้กระเปาะปล่อยเข็มพิษออก มา พร้อมกับปล่อยพิษออกมาด้วย พิษของแมงกะพรุนเป็นพิษในกลุ่ม Proteolytic Enzyme ซึ่งมีพิษต่อผิวหนัง ระบบประสาท และหัวใจ
ลักษณะการออกฤทธิ์ของพิษแมงกะพรุนกล่อง
1. ทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสตายได้
2. ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกจากพิษที่ซึมเข้าสู่กระแสเลือด ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน
3. ผลต่อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น และกดระบบประสาททำให้หยุดหายใจได้
วิธีการปฐมพยาบาลผู้ที่สัมผัสแมงกะพรุนกล่อง
กรณีที่ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัวดี (หายใจไม่ปกติ และชีพจรเต้นไม่ปกติ)
1. ทำการปั๊มหัวใจให้ผู้ป่วยฟื้นขึ้นมาก่อน โดยกดบริเวณหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่เล็กน้อย
2. บริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนให้ราดด้วยน้ำส้มสายชู นาน 30-60 วินาที (ห้ามใช้น้ำจืดเพราะเป็นการกระตุ้นพิษ)
3. นำหนวดแมงกะพรุนที่ติดร่างกายออกโดยหลีกเลี่ยงการถูบริเวณแผล
4. นำตัวส่งโรงพยาบาล
กรณีที่ผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดี (หายใจปกติ และชีพจรปกติ)
1. บริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนให้ราดด้วยน้ำส้มสายชู นาน 30-60 วินาที (ห้ามใช้น้ำจืดเพราะเป็นการกระตุ้นพิษ)
2. นำหนวดแมงกะพรุนที่ติดตามร่างกายออกโดยหลีกเลี่ยงการขัดถูบริเวณแผล
3. นำตัวส่งโรงพยาบาล
ขอบคุณข้อมูล จาก
ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
http://www.fisheries.go.th/mf-emdec/mainweb/km_boxjellyfish.html
Jelly fish dermatitis
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการ Toxic reaction มากกว่า allergic reaction
เมื่อแรกเริ่ม ผู้ป่วยจะมีอาการ sharp burning pain บริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน ต่อมาจะมีรอยโรยในเวลาเป็นนาที เป้นเส้นซิกแซกบวมแดง อาการปวดมักไม่แน่นอน แต่โดยมากมักจะหายภายใน 30 นาที อาการบวมหายไปใน 3 ชั่วโมง แต่บิเวณที่สัมผัสจะมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นสีน้ำตาลคล้ำ ซึ่งจะยังคงอยู่นาน 1-2 สัปดาห์
โดยส่วนมากแมงกะพรุนมักไม่ทำให้เสียชีวิต
การรักษา
1 ยาชาเฉพาะที่ ซึ่งอาจจะเป็นขี้ผึ้ง โลชั่น หรือสเปรย์ เพื่อช่วยลดอาการคัน บริเวณที่สัมผัส ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของ benzocaine เพราะอาจจะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสได้
2 ทาพวก cortisone ที่รอยโรค หากจะจำเป็นอาจเพิ่ม oral route ด้วย
3 Anitihistamine ลดอาการคัน ระคายเคือง
4 ถ้ามีแผลให้ทำแผลวันละ 2-3 ครั้ง ด้วย antiseptic solution แล้วตามด้วย antibiotic cream เพื่อลดการติดเชื้อ
5 ให้ oral antibiotic ที่เหมาะสม
6 พิจารณา tetanus vaccine ในเคสที่มีข้อบ่งชี้
7 ประคบด้วยน้ำแข็ง สามารถช่วยลดอาการปวพดที่ไม่รุนแรงได้
8 ให้ paracetamol หรือ aspirin อย่างเดียว หรือให้ร่วมกับ codeine จะช่วยลดอาการปวดที่เป็นอยุ่นานๆได้
----
อาการแสดง
พิษจากแมงกะพรุนไฟ
พิษจากแมงกะพรุนเป็นปัญหาที่พบบ่อยพอสมควรสำหรับคนที่ไปเที่ยวชายทะเลแล้วไปถูกแมงกะพรุนไฟ ซึ่งมีพิษอยู่บริเวณหนวดของมัน เมื่อกระเปาะพิษมาสัมผัสกับผิวหนังจะเกาะติดแน่นและปล่อยสารพิษออกมา
แมงกะพรุนกล่อง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตัวต่อทะเล" หรือนักพ่นพิษแห่งท้องทะเล เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัม Cnidaria กลุ่ม Cubozoa ลำตัวคล้ายร่มหรือระฆังคว่ำ ที่ด้านสูงมากกว่าด้านกว้าง โดยมีลักษณะโปร่งใส อาจมีสีฟ้าอ่อน น้ำตาล เหลือง หรือชมพู มีหนวดยื่นออกจากมุมทั้ง 4 มุม อาจยาวได้ถึง 3 เมตร หนวดแต่ละเส้นมีเซลล์พิษอยู่ประมาณ 5,000 เซลล์ แมงกะพรุนกล่องสามารถเคลื่อนที่พุ่งขึ้นสู่ด้านบนได้อย่างรวดเร็ว และว่ายน้ำได้เร็วถึง 5 ฟุตต่อวินาที จึงสามารถจับปลา และสัตว์น้ำที่มีขนาดเล็กกว่ากินเป็นอาหารได้อย่างง่ายดาย มักอาศัยอยู่ในทะเลเขตอุ่น เช่น ตามชายฝั่งของประเทศออสเตรเลียตอนเหนือ ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ หมู่เกาะฮาวาย ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าพบในประเทศไทยที่เกาะหมาก จังหวัดตราด และเกาะลันตา จังหวัดกระบี่
แมงกะพรุนกล่อง จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยพิจารณาจากลักษณะเด่นที่หนวด (Tentacle) ได้แก่
- Single Tentacle คือมีหนวดเส้นเดียว อยู่ที่มุมทั้ง 4 มุม จัดอยู่ในลำดับ (Oder) Carybdeida
- Multi Tentacles คือมีหนวดหลายเส้น อยู่ที่มุมทั้ง 4 มุม จัดอยู่ในลำดับ (Oder) Chrodropida
กลไกการออกฤทธิ์ และพิษของแมงกะพรุนกล่อง
แมงกะพรุนมีหนวด (Tentacle) ซึ่งเป็นที่อยู่ของกระเปาะเก็บเข็มพิษ (Cnidoblast ) ใช้ในการป้องกันตัว และจับเหยื่อ ภายในกระเปาะจะมีเข็มพิษ (Nematocyst) ขดอยู่ เมื่อหนวดของแมงกะพรุนสัมผัสกับผิวหนังจะกระตุ้นให้กระเปาะปล่อยเข็มพิษออก มา พร้อมกับปล่อยพิษออกมาด้วย พิษของแมงกะพรุนเป็นพิษในกลุ่ม Proteolytic Enzyme ซึ่งมีพิษต่อผิวหนัง ระบบประสาท และหัวใจ
ลักษณะการออกฤทธิ์ของพิษแมงกะพรุนกล่อง
1. ทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณที่สัมผัสตายได้
2. ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกจากพิษที่ซึมเข้าสู่กระแสเลือด ผลที่ตามมาคือเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน
3. ผลต่อหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจหยุดเต้น และกดระบบประสาททำให้หยุดหายใจได้
วิธีการปฐมพยาบาลผู้ที่สัมผัสแมงกะพรุนกล่อง
กรณีที่ผู้บาดเจ็บไม่รู้สึกตัวดี (หายใจไม่ปกติ และชีพจรเต้นไม่ปกติ)
1. ทำการปั๊มหัวใจให้ผู้ป่วยฟื้นขึ้นมาก่อน โดยกดบริเวณหน้าอกบริเวณเหนือลิ้นปี่เล็กน้อย
2. บริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนให้ราดด้วยน้ำส้มสายชู นาน 30-60 วินาที (ห้ามใช้น้ำจืดเพราะเป็นการกระตุ้นพิษ)
3. นำหนวดแมงกะพรุนที่ติดร่างกายออกโดยหลีกเลี่ยงการถูบริเวณแผล
4. นำตัวส่งโรงพยาบาล
กรณีที่ผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดี (หายใจปกติ และชีพจรปกติ)
1. บริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนให้ราดด้วยน้ำส้มสายชู นาน 30-60 วินาที (ห้ามใช้น้ำจืดเพราะเป็นการกระตุ้นพิษ)
2. นำหนวดแมงกะพรุนที่ติดตามร่างกายออกโดยหลีกเลี่ยงการขัดถูบริเวณแผล
3. นำตัวส่งโรงพยาบาล
ขอบคุณข้อมูล จาก
ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
http://www.fisheries.go.th/mf-emdec/mainweb/km_boxjellyfish.html
Jelly fish dermatitis
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะเกิดอาการ Toxic reaction มากกว่า allergic reaction
เมื่อแรกเริ่ม ผู้ป่วยจะมีอาการ sharp burning pain บริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน ต่อมาจะมีรอยโรยในเวลาเป็นนาที เป้นเส้นซิกแซกบวมแดง อาการปวดมักไม่แน่นอน แต่โดยมากมักจะหายภายใน 30 นาที อาการบวมหายไปใน 3 ชั่วโมง แต่บิเวณที่สัมผัสจะมีจุดเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นสีน้ำตาลคล้ำ ซึ่งจะยังคงอยู่นาน 1-2 สัปดาห์
โดยส่วนมากแมงกะพรุนมักไม่ทำให้เสียชีวิต
การรักษา
1 ยาชาเฉพาะที่ ซึ่งอาจจะเป็นขี้ผึ้ง โลชั่น หรือสเปรย์ เพื่อช่วยลดอาการคัน บริเวณที่สัมผัส ได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนผสมของ benzocaine เพราะอาจจะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบจากการสัมผัสได้
2 ทาพวก cortisone ที่รอยโรค หากจะจำเป็นอาจเพิ่ม oral route ด้วย
3 Anitihistamine ลดอาการคัน ระคายเคือง
4 ถ้ามีแผลให้ทำแผลวันละ 2-3 ครั้ง ด้วย antiseptic solution แล้วตามด้วย antibiotic cream เพื่อลดการติดเชื้อ
5 ให้ oral antibiotic ที่เหมาะสม
6 พิจารณา tetanus vaccine ในเคสที่มีข้อบ่งชี้
7 ประคบด้วยน้ำแข็ง สามารถช่วยลดอาการปวพดที่ไม่รุนแรงได้
8 ให้ paracetamol หรือ aspirin อย่างเดียว หรือให้ร่วมกับ codeine จะช่วยลดอาการปวดที่เป็นอยุ่นานๆได้
----
อาการแสดง
พิษจากแมงกะพรุนไฟ
พิษจากแมงกะพรุนเป็นปัญหาที่พบบ่อยพอสมควรสำหรับคนที่ไปเที่ยวชายทะเลแล้วไปถูกแมงกะพรุนไฟ ซึ่งมีพิษอยู่บริเวณหนวดของมัน เมื่อกระเปาะพิษมาสัมผัสกับผิวหนังจะเกาะติดแน่นและปล่อยสารพิษออกมา
พิษของมันจะทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อน คัน มีอาการไหม้คล้ายแผลถูกนำ้ร้อนลวก อาจ
พบผื่นมีลักษณะเป็นเส้น ๆ เป็นแนวยาว เมื่อได้รับการรักษาจะดีขึ้น บางรายเกิดผื่นสีดำคลำ้และค่อย ๆ
จางลง แต่บางรายเกิดอาการคันอย่างมาก ผู้ป่วยบางรายเกาจนเป็นแผลนูน บางรายผื่นโตมากจนมี
ลักษณะคล้ายคีลอยด์ (keloid)
นอกจากนั้นในรายที่แมงกะพรุนไฟได้ปล่อยพิษออกมา อาจจะปวดมากจนหมดสติถึงขั้นจมน้ า
ตายได้ พบว่านอกจากอาการปวดบริเวณที่สัมผัสกับแมงกะพรุนแล้วบางครั้งยังเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว กล้ามเนื้อแข็งเกร็งด้วย
เมื่อทราบดังนี้เวลาจะเล่นน้ำคุณควรหาทางป้องกัน อาจต้องใส่เสื้อผ้าแขนยาว กางเกงขายาว และ
โปรดเตือนเด็ก ๆ ของท่านว่า ถ้าพบแมงกะพรุนไฟซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้นให้อยู่ห่าง ๆ อย่าไปไกล้ตัวมัน
เพราะกระเปาะพิษของมันยังคงมีพิษ อาจทำให้เกิดอาการเจ็บปวดได้
เมื่อถูกแมงกะพรุนไฟแล้วต้องรีบรักษา โดยใช้น้ าส้มสายชูเทราดตรงบริเวณที่ถูกแมงกะพรุนไฟเพื่อ
ท าลายพิษ อาจใช้ผักบุ้งทะเล หรือใช้น้ำทะเลล้างทำลายพิษ โปรดอย่าใช้น้ำจืดหรือแอลกอฮอล์ เพราะจะท้าให้กระเปาะพิษแตก ตามหลักการของออสโมซิส ควรรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อจะได้ทำการ
รักษาโดยฉีดยาแก้แพ้ ยาแก้คัน ยาฉีดกันบาดทะยัก บางรายอาจต้องให้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อ แบคทีเรียแทรกซ้อน ถ้าเริ่มมีแผลเป็นนูนหนาอาจต้องฉีดสตีรอยด์เข้าบริเวณใต้ผื่น
ขอบคุณที่มา
http://www.mfu.ac.th/school/anti-aging/admin/uploadCMS/research/fuWed10521.pdf
---
แมงกระพรุนที่ตัวใส ๆ จะไม่มีพิษ แต่ตัวที่ออกสีแดง ๆ เป็นแมงกระพรุนมีพิษเรียกว่าแมงกระพรุนไฟ แมงกะพรุนมักเข้าฝั่งเวลาหลังฝนตก เพื่อกินอาหารที่ถูกพัดจากแผ่นดิน เลี่ยงการไปทะเลหลังฝนตก เวลาลงทะเลมองดูน้ำรอบๆตัวไว้ด้วย หรือไม่ก็เลิกไปทะเลหน้าฝนมันซะเลยย่อมปลอดภัยสุดๆ
แมงกะพรุนไฟ
สัตว์พวกแมงกะพรุนไฟ มีพิษที่เหล็กใน อยู่ที่บริเวณหนวดเส้นเล็ก ๆ ซึ่งจะปล่อยออกมาแทงผิวหนังของคน ทำให้ปวดแสบปวดร้อนไปนาน ผิวหนังบริเวณนั้นจะบวมเป็นผื่นแดง พอง แตก และแผลหายช้า ถ้าโดนมากคนไข้อาจถึงช็อก หายใจลำบาก จนถึงสิ้นสติตายได้
อาการ
อาการเฉพาะที่ เมื่อถูกหรือสัมผัสกับสัตว์ที่มีพิษเหล่านี้จะรู้สึกเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน บริเวณที่ถูกจะมีสีแดงเข้ม บางครั้งเหมือนรอยไหม้ ประมาณ 20-30 นาที จะบวมนูนขึ้นเป็นทางยาวตามผิวหนัง ต่อไปจะเกิดเป็น Vesicle เล็ก ๆ หรืออาจเป็น Bleb ใหญ่ และแตกเป็นแผลเรื้อรัง กว่าจะหายกินเวลานานแม้ว่าตกสะเก็ดแล้วก็เกิดแผลใหม่อีก อาการที่เกิดขึ้นจะมีความรุนแรงแตกต่างกันไปสุดแล้วแต่ชนิดและอาการ กระทบ******ตลอดจนบาดแผลที่ได้รับว่าอยู่ที่ส่วนใดของร่างกายและเนื้อที่มาก น้อยเพียงใด พวกที่มีพิษน้อยก็จะรู้สึกคันๆ แสบร้อนเล็กน้อยแล้วก็หายไป พวกที่ทำอาการรุนแรง ได้แก่ พวกแมงกะพรุนไฟ พวกสาหร่าย พวกเรือรบปอร์ตุเกส พวกปะการังเขากวางแบน และพวกแอนีโมนส์ เป็นต้น บริเวณที่ถูกถ้าเป็นเนื้ออ่อน เช่น บริเวณขาอ่อน ตามซอกคอและหน้า อาการก็จะมาก
อาการโดยทั่วไป ชนิดที่ไม่มีพิษมาก อาจไม่มีอะไร บางชนิดจะมีอาการรุนแรงมาก เช่น พวกสาหร่าย แมงกะพรุนไฟ เรือรบปอร์ตุเกส พวกนี้จะมีอาการปวดอย่างรุนแรง ต่อมาประมาณ 30 นามี 1 ชั่วโมง จะมีชาตามมือ เท้าและกล้ามเนื้อหดเกร็ง ทำให้จุกเสียด หายใจไม่สะดวก ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อโดยทั่วไปและมีไข้ กว่าจะทุเลากินเวลา 24 ถึง 48 ชั่วโมง
ในรายที่รุนแรงและผู้ป่วยมีอาการแพ้มาก อาการกล้ามเนื้อเกร็งจะมีมากโดยทั่วไปทั้งร่างกาย อันตรายที่จะเกิดขึ้นก็คือ เกิดที่กล้ามเนื้อบริเวณลำคอ กล่องเสียง ทำให้หายใจไม่สะดวก มีน้ำเมือกออกมาในหลอดลม ถ้าอาการมากขึ้นผู้ป่วยเกิดอาการเขียวคล้ำ และในที่สุดเกิดหัวใจอ่อน เลือดไปถึงสมองได้น้อย เพ้อ พูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ต่อไปแรงดันเลือดตก เหงื่อออกตัวเย็น ซ็อค และถึงแก่ความตายได้ ในบางรายอาจเกิด Anaphylactic shock ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้ภายในเวลา 10-15 นาที
การปฐมพยาบาล ให้ปฏิบัติดังนี้
1.) เมื่อถูกแมงกะพรุนไฟในตอนแรก ให้ใช้ทรายที่หาดนั้นถูบนผิวหนังเบาๆ หรือผ้าเช็ดตัวเช็ด
เพื่อขัดเอาน้ำเมือก ๆ จากตัวแมงกะพรุนไฟบนผิวหนังออกล้างด้วยน้ำทะเล ห้ามใช้น้ำจืด
2.) ให้ใช้พวกด่างอ่อน ๆ เช่นน้ำแอมโมเนีย หรือแอมโมเนียหอม หรือน้ำยา
โซดาไบคาบอเนต หรือน้ำปูนใสชุบปิดแผลนั้นไว้ หรือขยำต้นและใบผักบุ้งทะเลให้ได้วุ้นลื่นๆมาพอกแผล
3.) หลังจากนั้นใช้พวก แอนติฮิสตามีนครีม หรือพวกคอร์ติโคสเตอรอยครีม (เช่น เพร็ดนิโซโลนครีม ฯลฯ)
4.) ถ้ามีอาการปวดให้รับประทานยาแก้ปวด เช่นแอสไพริน เอ.พี.ซี. นำส่งโรงพยาบาล เพราะอาจมีอาการร้ายแรงอื่น ๆ ร่วมด้วย (ถ้ามีอาการมาก แพทย์อาจให้พวก 10% แคลเซียมกลูโคเนทเข้าเส้นช้า ๆ และยาอื่น ๆ ตามอาการ)
การป้องกัน
การทาน้ำมันตามตัว เช่น น้ำมันโอลีฟ (olive oil) จะช่วยกันไม่ให้เหล็กในแทงเข้าในผิวหนังได้ หรือการใส่เสื้อผ้าหุ้มร่างกายในการว่ายน้ำในย่านที่มีแมงกะพรุน จะเป็นการป้องกันที่ดีที่สุด เพราะเหล็กในของสัตว์เหล่านี้ไม่สามารถที่จะแทงทะลุผ้าเข้ามาได้
-
คยดู สารคดีในทีวีเมื่อเร็วๆนี้ค่ะ มีแมงกะพรุนชนิดหนึ่งตัวนิดเดียว แต่หางยาวเป็นเมตรๆ แค่เราไปเฉียดสัมผัสหางมัน ก็จะโดนหนามเล็กๆที่มองไม่เห็นทิ่มผิวหนังเราเข้าไปและมันจะปล่อยสารพิษที่ อันตรายมากๆ บางคนถึงกับเสียชีวิตก็มี ชื่อเป็น ญี่ปุ่นๆ จำไม่ได้ว่าอะไร น่ากลัวมากค่ะ
ในไทยพบแมงกะพรุนที่กินได้คือแมงกะพรุนจานหรือ แมงกะพรุนหนัง
ส่วนแมงกะพรุนมีพิษได้แก่ แมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย ทั้งยังมีสายพันธุ์ที่พบในน้ำจืดอีกด้วย มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่
1.Craspedacusta sowerbyi หรือ แมงกะพรุนสายน้ำไหล ในต่างประเทศพบที่ยุโรปและสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยพบในลำน้ำเข็ก อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ 2.Craspedacusta sinensis หรือ แมงกะพรุนสายน้ำนิ่ง พบในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี, กรุงเทพ ฯ ,แม่น้ำโขง ที่ จ.หนองคาย, จ.เลย, จ.มุกดาหาร 3.Craspedacusta iseana พบในประเทศญี่ปุ่น ค่ะ
แมงกะพรุนไฟสายพันธุ์ที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก มีชื่อภาษาอังกฤษเรียกว่า "Portuguese man-of-war" (แมงกะพรุนหมวกโปรตุเกส)
เจ้าแมงกะพรุนไฟตัวร้ายจะมีลักษณะที่แตกต่างจาก แมงกะพรุนธรรมดาๆ อย่างเห็นได้ชัด สามารถสังเกตได้จาก จากสีสันที่ค่อนข้างสด และ หนวดที่เป็นสายยาว ตัวมันออกสีแดงๆค่ะ
ส่วนตัวนี้"แมงกะพรุนกล่อง" พบแล้วที่เกาะหมาก จ.ตราด บริเวณอ่าวน้ำบ่อ และบริเวณเกาะลันตา จ.ภูเก็ต รวบรวมได้หลายชนิดรวมจำนวน 13 ตัวอย่าง บางชนิดโดนแล้วเดี้ยงได้ค่ะ น่ากลัวมาก ดูรูปและอ่านข่าวเพิ่มเติมได้ค่ะ
http://www.thaitownusa.com/frontnews/frmNews_View.aspx?Conn=Thai&NewsNo=0810000321
แมงกะพรุนกล่องมีหลายชนิด บางชนิดตัวเล็กแค่3-4 ซม. บางชนิดทำให้ถึงตายได้ ในประเทศไทยสำรวจพบบ้าง โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย บริเวณที่น้ำตื้น เนื่องจากคนที่ถูกพิษแมงกะพรุนกล่องมักจะจมน้ำตายเสียก่อน บางทีไม่รู้หรอกว่าโดนพิษมันเข้าไปแล้ว เพราะมองไม่เห็นค่ะ นึกว่าหมดแรงจมน้ำทะเลตายไปก็มี แมงกะพรุนกล่องนี้มีไม่มากในไทย เพราะช่วงชีวิตสั้น ทำให้พบไม่บ่อยนัก และอาจพบได้ช่วงปลายฝนต้นหนาวและช่วงฝนตกหนัก น้ำทะเลขุ่นค่ะ
วิธีป้องกันหากทราบว่าบริเวณใดพบแมงกะพรุนมีพิษอยู่ควรใส่เสื้อแขนยาวและ กางเกงขายาวเล่นน้ำจะช่วยได้ การดูว่ามีพิษหรือไม่ ต้องศึกษาดูเอาเองว่าแต่ละแบบแต่ละพันธุ์ตัวไหนมีพิษ ตัวไหนไม่มี เลี่ยงไม่ได้หากต้องเจอ ถ้าเจอก็ต้องรีบหลบห่างๆไว้ก่อนดีกว่าค่ะ บางทีเล่นน้ำอยู่ในทะเล เราก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ต้องศึกษาธรรมชาติของมันว่ามันชอบอยู่ที่ไหน เวลาไหน ทะเลแถบไหน และไม่ควรเล่นน้ำในที่ๆเขาปักป้ายเตือนไว้หรือที่ๆเราไม่รู้จักดี
หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำทะเลบริเวณที่มีแมงกะพรุนชุกชุม หรือ ช่วงหลังพายุฝน เพราะจะมีกระเปาะพิษของแมงกะพรุนหลุดลอยไปในน้ำทะเลแม้จะไม่ได้สัมผัสกับแมง กะพรุนโดยตรงก็ตาม จะช่วยลดความเสี่ยงไปได้ค่ะ
เมื่อถูกพิษแมงกะพรุน
ให้ใช้น้ำส้มสายชู น้ำอุ่น หรือน้ำร้อนที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป ล้างบริเวณที่ถูกพิษ ห้ามใช้น้ำเย็นหรือน้ำจืดล้างเด็ดขาด ล้างแผลเพื่อไม่ให้นีมาโตซีสต์ปล่อยน้ำพิษภายในกระเปาะออก ถ้าไม่มีน้ำให้ถูผิวหนังบริเวณนั้นด้วยทราย หรือผ้าเช็ดตัว เพื่อขัดเอาน้ำเมือก ๆ ของแมงกะพรุนบนผิวหนังออก ล้างแผลแล้วให้ใช้พวกด่างอ่อน ๆ ทาผิวหนัง เช่น น้ำปูนใส น้ำแอมโมเนีย หรือแอลกอฮอล์ น้ำแอมโมเนียหอม ชุบสำลีให้ชุ่มปิดติดต่อเป็นเวลานานหลาย ๆ ชั่วโมง หลังจากนั้นควรรีบนำส่งแพทย์ด่วน หรือหากไกลหมอ ก็งัดตำรา ยากลางบ้านที่มักใช้กัน คือนำใบผักบุ้งทะเลบดแล้วพอกบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน จะช่วยให้อาการต่างๆบรรเทาลงได้ แล้วรีบนำส่งแพทย์ด่วน แต่ถ้าไปแจ๊คพอตโดนแมงกะพรุนตัวแสบสุดๆก็แย่หน่อยค่ะ
แหล่งข้อมูล:
http://tnews.teenee.com/crime/28171.html
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%99
-
ที่มา
https://th.answers.yahoo.com/question/index?qid=20081103171222AA1C8co
---
ภาพประกอบ
ภาพถ่ายหลังจากโดนพิษแมงกะพรุน (3 ก.ค. 2551)
ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ โรงแรมโนโวเทล ริมเพ จ.ระยอง ที่ดูแลเป็นอย่างดี เอื้อเฟื้อข้อมูลและคำแนะนำในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังกล่าว
ภาพถ่ายหลังจากโดนพิษแมงกะพรุน (3 ก.ค. 2551)
ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ โรงแรมโนโวเทล ริมเพ จ.ระยอง ที่ดูแลเป็นอย่างดี เอื้อเฟื้อข้อมูลและคำแนะนำในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ดังกล่าว
ผู้ที่โดนพิษแมงกะพรุน เมื่อรู้สึกตัวว่าโดนพิษแมงกะพรุนควรจะขึ้นจากน้ำทะเลโดยเร็ว
จะเกิดรอยผื่น บวมแดง และเกิดอาการปวดแสบปวดร้อนดังภาพ
นำใบผักบุ้งทะเลที่เกิดใกล้ริมหาดทรายมาขยี้กับน้ำส้มสายชู 5%
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดยนำใบผักบุ้งทะเลขยี้กับน้ำส้มสายชูแล้วมาประคบผิวหนังบริเวณโดนพิษไว้
และห่อด้วยผ้าขาวบาง ทิ้งไว้ประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับอาการปวดแสบปวดร้อนจะบรรเทาลง
ทิ้งไว้รอให้อาการปวดแสบปวดร้อนคลายลงและดูอาการแพ้พิษอื่นๆ และรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น
จากประสบการณ์ดังกล่าว อาจจะเป็นอุทาหรณ์ช่วยเตือนภัย สำหรับคนที่ชอบเที่ยวทะเลในฤดูฝน หรือต้องการที่จะไปเที่ยวทะเลในช่วงฤดูนี้ ขอให้สังเกตุและระวังอันตรายจากการเล่นน้ำทะเลหลังฝนตกใหม่ๆ โดยส่วนมากแล้ว ที่พักเขาจะมีป้ายเตือนระวังอันตรายจากภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยจากธรรมชาติ คลื่นทะเลแรง หรือสัตว์ทะเลที่มีพิษ ฤดูฝนซึ่งเป็นช่วงขยายพันธุ์ของแมงกะพรุน เขาจะลอยตัวมากับคลื่นทะเลกระทบฝั่งจะมีมากตามชายฝั่งทะเล และโดยธรรมชาติแล้วชายฝั่งทะเลไหน มีแมงกะพรุนมาก ธรรมชาติก็จะให้ผักบุ้งทะเลเกิดบริเวณใกล้ๆ ริมหาดทรายเหล่านั้นด้วย ซึ่งเป็นคำบอกเล่าของชาวบ้านคนที่อาศัยอยู่ใกล้กับทะเลนั้น ได้ถ่ายทอดความรู้นี้ และถ้าคุณบังเอิญโชคร้ายโดนพิษแมงกะพรุนขึ้นมา ขอให้รู้จักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก่อนที่จะเกิดอาการที่ร้ายแรงยากที่จะเยียวยารักษา
ป้ายเตือนภัยต่างๆ ริมหาดทราย ที่นักท่องเที่ยวชอบเล่นน้ำทะเล
ภาพ "ป้ายเตือนภัย" จาก ริมหาดทราย โรงแรมโนโวเทล ริมเพ จ.ระยอง
สถานภาพของแมงกะพรุนปัจจุบันเป็นที่น่าสนใจมาก
แมงกะพรุนบางชนิดสามารถนำมาใช้เป็นอาหารได้
และการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมโลก เกิดภาวะโลกร้อน น้ำทะเลร้อนขึ้นฆ่าแหล่งอาหารของปลาอันได้แก่ Phytoplankton
ชนิดต่างๆ (นอกจากเป็นอาหารแล้ว
ยังแปลงคาร์บอนไดออกไซด์เป็นออกซิเจนแบบเดียวกับพืชด้วย)
ส่วนปลาบางพันธุ์ เช่น eelpouts และ cod นั้นก็อาจไม่สามารถทนต่อปริมาณออกซิเจนที่ลดลงได้
จนเป็นสาเหตุให้ปริมาณของปลาเหล่านี้ลดลง
ผกผันกับอุณหภูมิที่สูงขึ้น แต่แมงกะพรุน (jellyfish)จะทนได้
สถานการณ์นี้จึงเป็นข่าวร้ายสำหรับปลาหลายๆ ชนิด เช่น
cod,salmon และอื่นๆ
เพราะนอกจากแมงกะพรุนจะแย่งอาหารปลาแล้ว
ยังกินปลาเป็นอาหารด้วย ดั้งนั้นในอนาคต จ้าวทะเล
น่าจะเป็นแมงกะพรุน
สำหรับมนุษย์เราควรต้องมีการปรับตัว หันมาบริโภคแมงกะพรุนเป็นอาหาร ก่อนที่แหล่งอาหารสำคัญของเราจะลดน้อยถดถอยตามไปด้วย
("Global Warming Sunday, แมงกะพรุนจะครองทะเล" สืบค้น 26 ก.ค. 2551 : http://www.rangwan.com/category/global-warming/)
ชาวจีนได้มีการนำแมงกะพรุนมาเป็นอาหารนับ 1,000 กว่าปีแล้ว ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นได้เป็นผู้นำในการแปรรูปอาหารจากแมงกะพรุนหลายสายพันธุ์ และประเทศทางตะวันตกได้มีการศึกษาและสนใจจะนำมาเป็นอาหารใหม่ของเขา ข้อดีของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรี่ต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาส่วนหนึ่งของนักวิจัยจาก Harvard Medical School พบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรค Arthritis(ข้ออักเสบ) และ Bronchitis(หลอดลมอักเสบ) ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย
("แมงกะพรุน: อาหารใหม่สำหรับประเทศตะวันตก" สืบค้น 30 ก.ค. 2551: http://library.uru.ac.th/webdb/images/charpa_jellyfish.html)
สำหรับมนุษย์เราควรต้องมีการปรับตัว หันมาบริโภคแมงกะพรุนเป็นอาหาร ก่อนที่แหล่งอาหารสำคัญของเราจะลดน้อยถดถอยตามไปด้วย
("Global Warming Sunday, แมงกะพรุนจะครองทะเล" สืบค้น 26 ก.ค. 2551 : http://www.rangwan.com/category/global-warming/)
ชาวจีนได้มีการนำแมงกะพรุนมาเป็นอาหารนับ 1,000 กว่าปีแล้ว ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นได้เป็นผู้นำในการแปรรูปอาหารจากแมงกะพรุนหลายสายพันธุ์ และประเทศทางตะวันตกได้มีการศึกษาและสนใจจะนำมาเป็นอาหารใหม่ของเขา ข้อดีของแมงกะพรุน คือ มีโปรตีนสูงและแคลอรี่ต่ำ เป็นโปรตีนประเภทคอลลาเจนสามารถรับประทานได้ ซึ่งจากการศึกษาส่วนหนึ่งของนักวิจัยจาก Harvard Medical School พบว่าคอลลาเจนจากแมงกะพรุนอาจจะมีส่วนรักษาโรค Arthritis(ข้ออักเสบ) และ Bronchitis(หลอดลมอักเสบ) ตลอดจนทำให้ผิวหนังนุ่มนวลด้วย
("แมงกะพรุน: อาหารใหม่สำหรับประเทศตะวันตก" สืบค้น 30 ก.ค. 2551: http://library.uru.ac.th/webdb/images/charpa_jellyfish.html)
ที่มา--
http://www.lib.ru.ac.th/journal/jellyfish.html
****“ฤทธิ์น้ำส้มสายชูจะไปสกัดไม่ให้เซลล์ยิงเข็มพิษ ที่ผ่านมามีการใช้น้ำส้มสายชูจัดการกับพิษแมงกะพรุนมานานกว่า 30 ปี แต่ปัญหาคือ ล่าสุดเมื่อปีที่แล้วมีงานวิจัยข้างเคียงออกมาระบุว่า แม้น้ำส้มสายชูจะหยุดการทำงานของเข็มพิษที่ยังไม่ยิงออกมา....... อ่านต่อได้ที่ : http://www.posttoday.com/analysis/report/379991
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น