ต้องหาความรู้เรื่องกล้วยไม้สักหน่อย จะได้ไปช้อบปิ้งต้นไม้อย่างสบายใจ
เป้าหมายปีนี้อยากได้มาเพิ่มสัก สามสี่ต้นพอ
เป้าหมายคือ ดอกดก เป็นพุ่ม หรือเป็นช่อยาว ออกดอกทั้งปียิ่งดี
อันแรกเลย
http://www.orchidtropical.com/itemid96.php กล้วยไม้ขวดเป็นยังไงนะ
http://www.orchidtropical.com/product-small.php ไม้นิ้ว
ลักษณะลำต้น
กล้วยไม้ สกุลแวนด้า 2
มาดูกล้วยไม้สกุลแวนด้ากันต่อเลย
***แวนด้า สามปอยขุนตาล (Vanda denisoniana)
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda denisoniana
แวนด้า สามปอยขุนตาล เป็นกล้วยไม้เจริญเติบโตทางยอด พบได้ตามเทือกเขาทางภาคเหนือ สามปอยขุนตาน ที่พบแต่ละแหล่งจะมีลักษณะของดอกที่แตกต่างกัน ลักษณะ กลีบดอกสีเหลือง ดอกขนาดประมาณ 6 เซนติเมตรมีกลิ่นหอม 1 ช่อมีประมาณ 5 – 7 ดอก ลำต้นกลมยาวประมาณ 10 – 15 ซม. ใบยาว 15 – 20 ซม. กว้าง 1.5 ซม. ฤดูกาลออกดอกอยู่ในช่วงเดือน กุมภาพันธุ์ ยาวนานถึงเดือนกรกฎาคมหรือมากกว่า ดอกของกล้วยไม้ชนิดนี้บานยาวนานถึงหนึ่งเดือนเลยทีเดียว
***แวนด้า สามปอยชมพู (Vanda bensoni)
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda bensoni
แวนด้า สามปอยชมพู เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน แหล่งที่พบคือภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีลักษณะใบซ้อนเรียงสลับกัน ใบกว้าง 1.5 เซนติเมตร ยาว 12 – 15 เซนติเมตร ช่อดอกตั้งและยาวประมาณ 50 ซม. ช่อหนึ่งมี 13–15 ดอก ดอกสีน้ำตาล มีลายสมุกคล้ายฟ้ามุ่ย กลีบดอกหนาขอบกลีบเป็นคลื่น ด้านหลังกลีบและกระเป๋าเป็นสีชมพู ดอกห่าง รูปดอกโปร่ง ขนาด 4.4 ซม. ลำต้นยาว 20 – 30 เซนติเมตร ออกดอกช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม
***เอื้องสามปอยหลวง Vanda benbonii
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda benbonii
เอื้องสามปอยหลวง เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ช่อดอกออกด้านข้างไม่ตั้งตรง ช่อดอกสั้น มีดอกประมาณ 5–7 ดอกต่อช่อ รูปดอกโปร่ง กลีบดอกหนาแข็ง ไม่ค่อยซ้อน ดอกมีสีเหลือง บางต้นสีเหลืองเข้ม บางชนิดมีประจุดสีน้ำตาลอยู่ที่โคนกลีบ กลีบหนาแข็งคล้ายดอกไม้เทียน ดอกขนาด 6-7 ซม. ออกดอกเดือนกันยายน-พฤศจิกายน
**เข็มขาว Vanda lilacina
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda lilacina
เข็มขาว เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีถิ่นกำเนิดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคกลางตอนบน ใบรูปแถบเรียงสลับ ปลายใบหยักเป็นฟัน ออกดอกที่ข้างลำต้น มีหลายช่อ ยาว 12-15 ซม. ช่อดอกค่อนข้างโปร่ง ดอกขนาด 1.5-2 ซม. กลีบดอกสีขาวรูปแถบแกมรูปไข่กลับ กลีบปากมีลักษณะเป็นถุงขนาดเล็ก ปลายแผ่เป็นแผ่นสั้นผายออก มีจุดขนาดเล็กสีม่วงหนาแน่น ปลายเส้าเกสรสีเหลือง ออกดอกเดือนมกราคม-เมษายน
***แวนด้า ฟ้ามุ่ย Vanda coerulea
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda coerulea
ฟ้ามุ่ย เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ขึ้นเกาะอยู่กับเปลือกของต้นไม้ในป่า อาศัยเพียงแร่ธาตุที่ชะมากับสายฝนผสานกับความชื้นในอากาศ ก็สามารถถชีวิตผลิดอกให้เราเห็นได้ทุกปี ฤดูกาลออกดอกคือระหว่างเดือน กรกฎาคมถึงเดือนธันวาคม ลักษณะ ลำต้นตรงแข็งยาวประมาณ 8-20 ซม. ใบยาวประมาณ 20 ซม. ปลายใบหยัก ดอกออกเป็นช่อตั้งจากซอกใบ ช่อดอกยาว 20-40 ซ.ม. ช่อดอกโปร่ง เมื่อดอกบานเต็มที่มีขนาดกว้าง 4-7 ซ.ม. โดดเด่น ด้วยกลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปร่างมน สีฟ้าอ่อนหรือสีฟ้าอ่อนหรือสีฟ้าอมม่วงมีเสน่ห์ดึงดูดสายตา และน้อยนักที่จะพบสีสันอย่างเช่น สีชมพู หรือ สีขาวล้วน ซึ่งเป็นสีที่หายากที่สุด ทั่วกลีบมีลายเส้นร่างแหสีครามเข้มนิยมเรียกกันว่า “ลายตาสมุก” ส่วนกลีบปากมีสีม่วงน้ำเงินงามยิ่ง
***แวนด้า เทอเรส ,เอื้องโมกข์ (Vanda teres)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda teres
แวนด้า เทอเรส หรือเอื้องโมกข์ เป็นกล้วยไม้ป่าพื้นเมืองของไทย พบเกาะอาศัยเลื้อยอยู่ตามต้นไม้สูง มีลำต้นกลมขนาดเท่าดินสอ จัดเป็นแวนด้าใบกลมพันธุ์แท้ ใบกลมยาวประมาณ 10 ซม. ก้านช่อดอกยาว มีดอกน้อย กลีบนอกสีขาวหรือชมพูม่วง กลีบในใหญ่กว่ากลีบนอก มีรูปเกือบเป็นวงกลม ขอบหยิกเป็นคลื่น ปากมีสามแฉกสีเหลืองมีสีแดงด้านในหูปากม้วนหุ้มเส้าเกสร ปลายปากสีม่วงชมพูเหลือง ขนาดของดอกแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ โดยเฉลี่ยประมาณ 7–10 ซม.
http://maisaun.com/
แวนด้า เป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ พบในป่าตามธรรมชาติประมาณ 40 ชนิด มีกระจายพันธุ์อยู่ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่อินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย อินโดนีเซีย จนถึงฟิลิปปินส์ แวนด้าได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์ขึ้นอีกหลายพันธุ์ ปัจจุบันได้มีการจำแนกประเภทของแวนด้า โดยอาศัยรูปร่างลักษณะของใบออกเป็น 4 ประเภท คือ แวนด้าใบกลม แวนด้าใบแบน แวนด้าใบร่อง และแวนด้าก้างปลา ในบรรดาแวนด้าทั้ง 4 ประเภทนี้ แวนด้าใบกลมเป็นแวนด้าที่เลี้ยงง่ายที่สุด สามารถปลูกลงแปลงกลางแจ้งได้โดยไม่ต้องมีโรงเรือน แต่ดอกมักจะบานไม่ทน ส่วนที่เลี้ยงยากที่สุดคือ แวนด้าใบแบน มีหลายพันธุ์ ทั้งดอกใหญ่และดอกเล็ก แต่ที่ได้รับความนิยมได้แก่ ฟ้ามุ่ย เพราะดอกใหญ่ สีสวย การเลี้ยงแวนด้าใบแบนจำเป็นต้องมีโรงเรือนเพราะต้องการแสงที่พอเหมาะ สำหรับแวนด้าใบร่องเป็นลูกผสมระหว่างใบกลมและใบแบน ถูกผสมขึ้นเพื่อให้ปลูกเลี้ยงง่ายขึ้น แต่ดอกมักจะสีไม่สวยและปากหักง่าย
ยกตัวอย่างกล้วยไม้สกุลแวนด้าว่ามีอะไรบ้าง
***แวนด้าฮุกเคอเรียน่า (Vanda hookerriana)
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda hookerriana
แวนด้าฮุกเคอเรียน่า เป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด รากเป็นรากอากาศ เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของประเทศไทย จัดเป็นแวนด้าใบกลมพันธุ์แท้ ลักษณะลำต้นกลม ใบกลมคล้ายแวนด้าเอื้องโมกข์ แต่ใบเล็กแหลมปลายตัดขนาดลำต้นสูงตั้งแต่ 1 เมตรขึ้นไป ช่อดอกออกใกล้ยอด ยาวประมาณ 20 ซม. ออกดอกตั้งแต่ 3–5 ดอกต่อช่อ กลีบนอกบนสีขาวอมม่วงเป็นรูปไข่กลับ กลีบดอกคู่ล่างสีขาวล้วน กลีบในรูปไข่ขอบหยักสีขาวเหลือบม่วงประจุดสีม่วงแก่ ปาก 3 แฉกสีม่วงมีเส้นสีอ่อน เส้าเกสรกลมสีม่วง ดอกใหญ่ขนาดประมาณ 7 ซม.
***แวนด้าไตรคัลเลอร์ (Vanda tricolor)
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda tricolor
แวนด้า ไตรคัลเลอร์ (เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของชวา ลักษณะ กลีบดอกสีเหลืองปนขาว จุดสีน้ำตาลแดง ปากสีม่วง 1 ช่อมีประมาณ 5 – 10 ดอก ใบยาวประมาณ 40 ซม. กว้าง 4 ซม.
***แวนด้าแซนเดอเรียนา (Vanda sanderiana)
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda sanderiana
แวนด้าแซนเดอเรียนา เป็นกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดที่ประเทศฟิลิปปินส์ จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน หน้าตัดของใบเป็นรูปตัว ปลายใบเป็นฟันแหลมๆ ไม่เท่ากัน ใบเรียงซ้อนค่อนข้างถี่มีลักษณะเป็นแผง ช่อดอกตั้งแข็งตั้งยาวประมาณ 20–30 ซม. ช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5–15 ดอก ดอกเรียงรอบช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกเป็นพุ่มสวยงาม ดอกมีกลีบนอกคู่ล่างใหญ่ มีสีแตกต่างจากกลีบนอกบนและกลีบในทั้งคู่สีคล้ายครึ่งล่างและครึ่งบน ครึ่งบนเป็นสีชมพูม่วงอ่อน ครึ่งล่างเป็นน้ำตาลไหม้อยู่บนพื้นสีเขียว เป็นลายตาสมุก ปากยาวประมาณ 3 ซม กระเป๋าและคอปากสีเหลืองอมเขียว และมีเส้นสีแดงบางๆ แผ่นปากมีสีน้ำตาลไหม้ รูปดอกใหญ่ ขนาดดอกโตประมาณ 8–12 ซม.
***แวนด้า เดียรีอิ (Vanda dearei)
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda dearei
แวนด้า เดียรีอิ เป็นกล้ายไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในหมู่เกาะบอเนียว จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน มีลักษณะของลำต้นอ้วนใหญ่ ใบกว้างและบิดเล็กน้อย ช่อดอกสั้นมีดอกน้อย กลีบนอกและกลีบในกว้าง แข็งหนา เนื้อละเอียด ดอกสีเหลืองนวลสะอาด หูปากสองข้างเล็กขาว โคนแผ่นปากสีขาว ปลายสีเหลือง ดอกมีกลิ่นหอม
**เอื้องสามปอยขาว (Vanda denisoniana)
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda denisoniana
เอื้องสามปอยขาว Vanda เป็นกล้วยไม้แวนด้าใบแบน มีลักษณะใบซ้อนแบบฟ้ามุ่ย แต่ใบบางและยาวกว่า ก้านช่อยาว ดอกมีสีขาว ปากใหญ่สีขาว ในปากเป็นสีเหลือง กลีบดอกด้านนอกและกลีบในมีรูปร่างลักษณะเหมือนกัน
***แวนด้า อินซิกนิส (Vanda insignis)
**ชื่อวิทยาศาสตร์ : Vanda insignis
อินซิก เป็นกล้วยไม้พื้นเมืองของเกาะโมลูกัส จัดเป็นแวนด้าประเภทใบแบน ใบยาวประมาณ 15–20 ซม. ช่อดอกไม่ยาว มีดอกประมาณ 4–7 ดอก มีกลีบนอกและกลีบในห่างสีเหลืองอมเขียว มีจุดสีช๊อกโกแลต หูปากเล็กสีขาว แผ่นปากกว้างสีม่วงกุหลาบขนาดโตประมาณ 6 ซม.
กล้วยไม้ สกุลช้าง
กล้วยไม้สกุลช้าง ที่มีอยู่ในโลก มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ประเทศในแถบอินโดจีน อินเดีย ศรีลังกา ภาคใต้ของหมู่เกาะในทะเลจีน และหมู่เกาะอินเดียตะวันออก สำหรับในประเทศไทยพบว่ากล้วยไม้สกุลช้างมีกระจายพันธุ์อยู่ทุกภาคของประเทศ บางภาคอาจมีกล้วยไม้สกุลช้างชนิดหนึ่งแต่อาจไม่มีอีกชนิดหนึ่ง กล้วยไม้สกุลช้างที่พบตามธรรมชาติเพียง 4 ชนิด คือ ช้าง (Rhynchostylis gigantea) ไอยเรศหรือพวงมาลัย (Rhynchostylis retusa) เขาแกะ (Rhynchostylis coelestis) และช้างฟิลิปปินส์ (Rhynchostylis violacea) สำหรับ 3 ชนิดแรกมีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง ส่วนช้างฟิลิปปินส์มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศฟิลิปปินส์
กล้วยไม้สกุลช้าง เป็นล้วยไม้ที่ ฮิตติดลมบนมานานในกลุ่มผู้รักการเลี้ยงกล้วยไม้ แทงช่อดอกเดือน พย-ธค ดอกบานช่วง ธค-กพ โดยเฉพาะปีนี้อากาศเย็นช้างจะชอบอากาศเย็นเป็นพิเศษ ให้ดอกชมกันมากมายสมใจคนเลี้ยงกล้วยไม้ปีนี้ วัสดุปลูกที่ช้างชอบคือกระเช้าไม้สัก ขอนไม้ต่างๆ ต้นไม้ก็ชอบเอาไปเกาะรากเดินดีมาก ดีกว่าเลี้ยงในกระถางพลาสติก วัสดุปลูกที่ใช้ปลูกในกระถางพลาสติกก็ถ่านก้อนเล็กๆใส่ เป็นหลัก
**ไอยเรศหรือพวงมาลัย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis retusa (L.) Blume วงศ์ : Orchidaceae
เอื้องไอยเรศมีชื่อพื้นเมืองหลายอย่างไม่ว่า ไอยเรศ, เอื้องพวงหางรอก, เอื้องหางฮอก, เอื้องไอยเรศมีลักษณะมีลำต้นใหญ่แข็งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้าง แต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า ใบยาวประมาณ 40 ซม.กว้างประมาณ 4 ซม. มีทางสีเขียวแก่สลับกับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายกล้วยไม้ช้าง ปลายใบมีลักษณะเป็นฟันแหลมไม่เท่ากัน ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก โค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 ซม.ดอกแน่นช่อ ในหนึ่งช่อมีดอกประมาณ 150 ดอก รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พวงมาลัย” ต้นใหญ่ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกขนาดมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 ซม.สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน แผ่นปากมีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไปข้างหน้า มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ฤดูกาลออกดอกอยู่ในเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม พบได้ในทุกภาคของประเทศไทย
**ช้าง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis gigantea วงศ์ : Orchidaceae
กล้วยไม้ช้างมีรูปร่างใหญ่โตกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นๆ ในสกุลเดียวกัน ใบหนา แข็ง ยาวประมาณ 25-30 ซม. กว้างประมาณ 5-7 ซม. ปลายใบเป็นแฉก 2 แฉก มน และสองแฉกของใบไม่เท่ากัน รากเป็นรากอากาศ มีขนาดใหญ่ ปลายรากมีสีเขียว ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอกโค้งลง ช่อดอกยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตร มีดอกแน่นช่อ ช่อละ 25-60 ดอก ขนาดดอกประมาณ 2.5-3.0 ซม. กลีบนอกคู่ล่างกว้างยาวพอๆ กันกับกลีบนอกบน ส่วนกลีบในเรียวกว่ากลีบนอก เดือยดอกอยู่ในลักษณะเหยียดตรงไปข้างหน้า ปลายแผ่นปากหนา แข็งและปลายสองข้างเบนเข้าหากัน ปลายปากมี 3 แฉก สองแฉกข้างมน แฉกกลางมนและมีขนาดเล็กกว่ามาก ใกล้โคนปากด้านบนมีสันนูนเตี้ยๆ 2 สัน ดอกมีกลิ่นหอมฉุน หอมไกล ดอกบานในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ และบานทนได้ประมาณสองหรือสามสัปดาห์ ช้างแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามลักษณะสีของดอก คือ ช้างกระ ช้างแดง และช้างเผือก ทั้งสามประเภทเป็นพันธุ์แท้พันธุ์เดียวกัน มีลักษณะลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกคล้ายคลึงกัน แต่ต่างกันตรงที่สีของดอก กล้วยไม้ช้างเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมากเนื่องจากเลี้ยงได้ง่าย ออกดอกทุกปี การที่กล้วยไม้ชนิดนี้ได้ชื่อว่า “ช้าง” อาจมาจากสองกรณีคือ ลักษณะที่มีลำต้น ใบ ราก ช่อดอก และดอกใหญ่กว่ากล้วยไม้ชนิดอื่น อีกกรณีหนึ่งอาจเป็นเพราะดอกตูมของกล้วยไม้ชนิดนี้มีรูปร่างคล้ายหัวช้างและมีเดือยดอกคล้ายกับงวงช้าง
**เขาแกะ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis coelestis วงศ์ : Orchidaceae
เขาแกะ ในธรรมชาติเรามักพบได้ทั่วไปบนคาคบไม้เตี้ย-สูงในป่าโปร่งร้อน เขาแกะ นับได้ว่าเป็นกล้วยไม้ที่ทนร้อนได้อย่างสุด ๆ ลักษณะของเขาแกะ ลำต้นเขาแกะ มีรูปทรงใบเป็นรูปทรงกระบอก ค่อนข้างเตี้ย ตั้งตรง เจริญเติบโตทางยอด ใบออกเรียงสลับซ้ายขวา โคนใบเป็นแผงชิดกันแน่น ปลายใบโค้งลงเล็กน้อย มองดูคล้าย เขาแกะ หรือเขาควาย แผ่นใบบางและเหนียวห่อเข้าหากัน ยาว 10-15 ซม. ดอกเป็นช่อตั้งตรง ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก มีดอกเบียดกันแน่น ขนาดดอกราว 1.5-2.0 ซม. กลีบเลี้ยงบนรูปรีแกมรูปไข่กลับ กลีบเลี้ยงคู่ข้างรูปไข่กลับ กลีบดอกรูปขนานแกมรูปไข่ กลีบทั้ง 5 กลีบมีสีขาว ขอบกลีบมีขลิบเป็นสีม่วงคราม บางต้นอาจมีสีออกไปทางแดง หรือไปทางสีน้ำเงินก็มี ปลายกลีบมน กลีบปากรูปลิ่ม มีเดือย ดอกแบนและปลายโค้งลง ดอกบานทนนาน ประมาณ 2 สัปดาห์ และมีกลิ่นหอม ช่วงเวลาที่ออกดอก คือฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม เขาแกะบางต้นอาจมีสีต่างออกไป เช่น มีสีม่วงมากจนเกือบแดง เรียกว่า “เขาแกะแดง” บางต้นมีสีไปทางสีฟ้าหรือสีน้ำเงิน บางต้นดอกมีสีขาวบริสุทธิ์ เรียกว่า “เขาแกะเผือก” ซึ่งค่อนข้างหาได้ยาก เดือยดอกยาวกว่าและแคบกว่าของไอยเรศ ปลายของเดือยดอกโค้งลง ดอกบานทนประมาณสองสัปดาห์
**ช้างฟิลิปปินส์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rhynchostylis violacea วงศ์ : Orchidaceae
ช้างฟิลิปปินส์ ไม่มีถิ่นกำเนิดในไทย เป็นกล้วยไม้ที่มีรูปทรงของต้นและใบคล้ายกับช้างไทย แหล่งที่พบ ฟิลิปปินส์ พม่า ลาว กัมพูชา ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกของไทย ลักษณะ กลีบดอกสีขาว สีขาวจุดม่วงแดง สีม่วงแดง กลิ่นหอมฉุน ใบหนาแข็ง ปลายใบหยักใบกว้างประมาณ 5 – 7 ซม. ยาว 25 – 30 ซม. รากมีขนาดใหญ่ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์
กล้วยไม้ สกุลหวาย 2
ต่อจากโพสที่แล้ว เรื่องกล้วยไม้สกุลหวานมายกตัวอย่างกันต่อเลยดีกว่า
***เอื้องผึ้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium lindleyi Steud. เอื้องผึ้ง มักขึ้นอยู่บริเวณของป่าดิบแล้ง สูงจากระดับน้ำทะเลราว ๆ 300 – 1,500 ม. โดยเกาะอยู่กับต้นไม้ตามคาคบสูง ลักษณะต้นของ เอื้องผึ้ง จะมีผิวลำลูกกล้วยที่คล้ำคือมีสีเขียวเข้ม ใบมีลักษณะกลมรีและหนา และที่ดูง่ายที่สุด 1 ลำลูกกล้วยจะมีเพียง 1 ใบเท่านั้น เอื้องผึ้ง จะให้ดอกเร็วกว่าเอื้องคำ ดอก เอื้องผึ้ง จะออกดอกในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ดอกมีกลิ่นหอมแรงในช่วงกลางวัน สีเหลืองสดใส ช่อห้วยย้อยชลงยาวตั้งแต่ 15-40 ซ.ม. มีจำนวนดอกไม่แน่นจนเกินไปและพลิ้วไหวได้ง่ายยามต้องลม ดอกบานเต็มที่ขนาด 2-3 ซ.ม. แรกบานจะมีสีเหลืองอมเขียว ระยะต่อ ๆ มาสีจะเข้มขึ้น จนเป็นสีเหลืองอมส้มแสด ดอกของ เอื้องผึ้ง บานได้นานสุดราว ๆ 4 – 5 วันนับจากวันที่บานได้เต็มที่แล้ว แต่หากดอกของเอื้องผึ้งถูกน้ำจะบานได้เพียง 2-3 วันเท่านั้น
***พวงหยก, หยปมวา
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium findlayanum Par. & Rchb.f. เอื้องพวงหยก กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นสีเขียวอ่อน ผิวเป็นมันใส ปล้องโป่ง ส่วนโคนคอด ยาว 25-40 ซม.ดอก ออกเป็นช่อจากข้อใกล้ปลายยอด จำนวน 1-3 ดอกต่อช่อ ดอกบานเต็มที่ กว้าง 5-7 ซม. มีกลิ่นหอม สีม่วงอ่อนหรือสีขาว กลีบปากมีแต้มใหญ่ สีเหลือง บ้างก็มีสีดำเรียก พวงหยกตาดำ บานนานทน พบตามป่าดิบเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ออกดอกช่วงเดือน กุมภาพันธ์-มีนาคม
***เหลืองจันทบูร
ชื่อวิทยาศาสตร์ : DENDROBIUM FRIDERICKSIANUM RCHB.F. เหลืองจันทบูร เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยที่มีการเจริญเติบโตทางด้านข้าง โดยเกาะอาศัยอยู่ตามต้นไม้แต่ไม่ได้ ดูดน้ำเลี้ยงหรือแย่งอาหารเหมือน อย่างพวกกาฝาก เพียงอาศัยเกาะอยู่เท่านั้น เพราะเป็นกล้วยไม ที่มีระบบรากเป็นรากอากาศ ออกดอกเป็น ช่อทั้งต้น ดอกบานทนนาน ออกดอกปีละครั้ง ระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม กลีบดอกสีเหลืองสดเป็นมัน อาจมีแต้มสีแดงภายในคอขนาดต่าง ๆ กันหรือเป็นเพียงขีดสีแดง หรือไม่มีแต้มเลย ชนิดที่มีแต้มมักเรียกว่าเหลืองขมิ้นหรือเหลืองนกขมิ้น
**เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง, เอื้องไม้ตึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium tortile Lindl. เอื้องเก๊ากิ่วแม่สะเรียง, เอื้องไม้ตึง เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย สูง 30-50 ซม. ลำต้นค่อนข้างแบน เป็นสันเหลี่ยม กว้าง 1.4-1.8 ซม. โคนเรียวคอด ใบ รูปรี แกมขอบขนาน กว้าง 2-3 ซม. ยาว 8-15 ซม. ทิ้งใบเมื่อผลิดอก ดอก ออกเป็นช่อตามข้อ ที่ใกล้ปลายยอด จำนวน 2-3 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีม่วงอมแดงเรื่อๆ กลีบปากห่อคล้ายแตร สีเหลือง และมีขีดสีม่วงแดง ดอกบานเต็มที่กว้าง 6-7 ซม. มีกลิ่นหอม พบตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 100-1,000 ม. ทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ออกดอกช่วงเดือน กุมภาพันธ์-เมษายน
**เอื้องสายประสาท, เอื้องสายน้ำผึ้ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium primulinum Lindl. เอื้องสายประสาท, เอื้องสายน้ำผึ้ง เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นยาวรูปแท่งดินสอกลม เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 0.8-1.3 ซม. ยาว 40-80 ซม. ห้อยลง ใบ รูปรีแกม ขอบขนาน กว้าง 3 ซม. ยาว 10-12 ซม. ทิ้งใบเมื่อผลิดอก ดอก ออกตามข้อตลอดความยาวต้น กลีบเลี้ยงและกลีบดอก สีชมพูเข้ม กลีบปากแผ่มนเกือบกลมสีเหลืองอ่อน มีขนนุ่ม ขอบกลีบ หยักละเอียด ดอกบานเต็มที่กว้าง 4.5 ซม. มีกลิ่นหอมพบตามป่าผลัดใบถึงป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 700-1,600 ม. ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม
**เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium pulchellum Roxb. ex Lindl.เอื้องช้างน้าว, เอื้องคำตาควายเป็นกล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นรูปแท่งกลม สูง 0.8-1.5 ม. ใบรูปรีแกมขอบขนาน ยาว 10-12 ซม. กาบใบมีลายสีม่วงแดง ทิ้งใบเมื่อผลิดอก ดอกออกเป็นช่อใกล้ปลายยอด กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีครีม ขอบกลีบสีชมพู กลีบปากมีแต้มสีแดงเลือดหมูที่โคนด้านในทั้งสองข้าง ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
**เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium anosmum Lindl. เอื้องสายหลวง, เอื้องสาย เป็นกล้วยไม้ที่มีความสวยงามโดดเด่นไปจากสกุลหวายชนิดอื่น ๆ เนื่องจาก สายหลวง จะให้ดอกพลั่งพลูตลอด ลำเป็นที่ตรึงตาตรึงใจของนักเลี้ยงหลาย ๆ คน และด้วยรูปร่างที่ ใหญ่มหึมาของกล้วยไม้สกุลหวายชนิดนี้นี่เอง มันจึงได้รับชื่อสม ยานามว่า สายหลวง ลักษณะของเอื้องสายหลวงลำต้นเป็นลำลูกกล้วยทรงกระบอก เส้นผ่านศูนย์กลาง 1-1.5-1.3 ซม. ยาว 60-100 ซม.ใบ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 2 ซม. ยาว 8-10 ซม. ปลายใบแหลม ดอก ออกตามข้อ มี 1-2 ดอก ขนาด 4-5 ซม. กลีบเลี้ยงและกลีบดอกรูปขอบขนานแกมรูปไข่ มีสีชมพูอ่อน กลีบปากห่อเข้าหากัน ขอบกลีบหยัก ฤดูออกดอก เดือนเมษายน-กรกฎาคม
กล้วยไม้ สกุลหวาย 1
กล้วยไม้ สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นสกุลหนึ่งของพืชวงศ์กล้วยไม้ ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2342 โดย Peter Olof Swartz ชาวสวีเดน มาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ dendron (ต้นไม้) และ bios (ชีวิต) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยบนต้นไม้อื่น ทั่วโลกพบกล้วยไม้ที่อยู่ในสกุลนี้ถึง 900 ชนิด ในไทยพบ 184 ชนิด
กล้วยไม้สกุลหวาย (Dendrobium) เป็นกล้วยไม้สกุลใหญ่ที่สุด มีการแพร่กระจายพันธุ์ออกไปในบริเวณกว้างทั้งในทวีปเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก นักพฤกษศาสตร์ได้จำแนกออกเป็นหมู่ประมาณ 20 หมู่ และรวบรวมกล้วยไม้ชนิดนี้ที่ค้นพบแล้วได้ประมาณ 1,000 ชนิดพันธุ์
กล้วยไม้หวายป่าของไทยมีสีสวยงาม ก้านช่อสั้น สำหรับกล้วยไม้สกุลหวายที่เป็นกล้วยไม้อยู่ในป่าของไทย มีหลายชนิดอันได้แก่พวก “เอื้อง” ต่างๆ เช่น
**เอื้องเงิน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium draconis Rchb.f. เอื้องเงิน หรือ เอื้องตึง เอื้องงุม เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย สูง 60-80 ซม. ลำต้นรูปแท่งดินสอกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.2-1.7 ซม. กาบใบมีขนสีดำสั้นๆประปราย ใบ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 1.5 ซม. ยาว 6-8 ซม. มักทิ้งใบ เมื่อผลิดอก ดอก ออกเป็นช่อตามข้อใกล้ปลายยอด จำนวน 3-5 ดอกต่อช่อ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีขาว กลีบปากห่อ รูปกระทง ปลายสอบเรียว โคนกลีบมีแต้มสีแสดอมแดง ดอกบานเต็มที่ กว้าง 6 ซม. มีกลิ่นหอม พบตามป่าดิบ ที่ระดับความสูง 500-1,000 เมตร ทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม
**เอื้องคำ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium chrysotoxum Lindl. เอื้องคำ เป็นกล้วยไม้อิงอาศัยโดยมากพบบนคาบไม้ ลำต้นมีลักษณะเป็นลำลูกกล้วยยาวรี โคนลำเล็ก และพองโป่งบริเวณตรงกลาง ผิวสีอมเหลืองหรือเหลืองเป็นร่องตามความยาวของลำ สูงประมาณ 15-30 ซม. ใบมีลักษณะแข็ง เป็นรูปไข่ เรียงสลับกันใกล้ๆยอด มีประมาณ 3-6 ใบ สีเขียวเข้ม ยาวประมาณ 10-15 ซม. ดอกเป็นช่อก้านช่อดอกแข็ง และห้อยลง ยาวประมาณ 20-30 ซม. กลีบดอกสีเหลืองสด มีสีเหลืองอ่อนเรื่อๆอยู่ในส่วนปาก กลีบปากมีขนระเอียดนุ่ม ขนาดดอกประมาฌ 5 ซม. ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ถ้าจะให้สวยควรเลี้ยงเป็นกอใหญ่เวลาออกดอกจะออกทีละหลายช่อ
**เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium thyrsiflorum Rchb.f. เอื้องม่อนไข่, เอื้องม่อนไข่ใบมน เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย สูง 30-50 ซม. พบตามป่าดิบเขาที่ระดับความสูง 1000-1500 ม. ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลำต้นรูปแท่งดินสอกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. ผิวมีร่องตามยาว ใบรูปรี กว้าง 4 ซม. ยาว 7-10 ซม. มันจะทิ้งใบเมื่อผลิดอก ดอก ออกเป็นพวง ออกตามข้อ ห้องลงด้านล่าง ยาว 20-25 ซม. กลีบเลี้ยงและกลิบดอกสีขาว กลีบปากสีเหลืองมีขนนุ่ม ขอบกลีบหยักละเอียด ดอกบานเต็มที่กว้าง 2-2.5 ซม. มีกลิ่มหอม ออกดอกช่วงเดือนกุมมภาพันธ์ถึงมีนาคม
**เอื้องมะลิ, แส้พระอินทร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium crumenatum Sw. เอื้องมะลิ, แส้พระอินทร์ เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีการเจริญเติบโตทางด้านข้าง ลำต้นเป็นลำลูกกล้วยอ้วนกลมบริเวณโคนต้น สูงเรียวประมาณ 50-80 ซม. ใบเป็นรูปไข่ หนา ยาวประมาณ 5-12 ซม. บริเวณปลายมา ดอก มีกลีบดอกสีขาว และมีแต้มสีเหลืองบริเวณคอปาก ดอกโตประมาณ 4 ซม. มีกลิ่นหอม ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ดอกบานแล้วจะร่วงภายในสามวัน แต่เป็นกล้วยไม้ที่ปลูกง่ายและให้ดอกดี
**เอื้องครั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium parishii Rchb.f. เอื้องครั่ง เป็นกล้วยไม้อิงอาศัย มีการเจริญทางข้าง พบตามกิ่งไม้ในป่าดิบเขา พบตามป่าดิบเขา ที่ระดับความสูง 800-1,800 เมตร ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นลำลูกกล้วยรูปทรงกระบอกเป็นสัน ยาวประมาณ 25 – 60 ซม. ใบเรียว ปลายใบแหลม ใบยาวประมาณ 5 – 8 ซม. กว้างประมาณ 1 – 21 ซม. ออกดอกเป็นช่อ ที่ข้อของลำลูกกล้วย แต่ละช่อมีประมาณ 1 – 4 ดอก กลีบทุกกลีบสีส้มแดง โคนกลีบสีขาว กลีบดอกและกลีบเลี้ยงแคบ ยาวเรียว มีความกว้างไล่เลี่ยกันและกลีบมีลักษณะม้วนโค้งออก กลีบปากสีครีม โคนกลีบปากม้วนขึ้นเป็นหลอปลายกลีบแผ่ออก มีเส้นสีน้ำตาลอมแดงตามความยาวของกลีบปาก ขอบของกลีบปากเรียบ ออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน
**เอื้องแปรงสีฟัน
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrobium secundum (Blume) Lindl. เอื้องแปรงสีฟัน จึงได้รับฉายาที่หลากหลาย เช่น เอื้องหงอนไก่,แปรงสีฟันพระอินทร์, คองูเห่า และ กับแกะ เป็นต้น ลักษณะทั่วไป ต้นเป็นลำกลม ยาวประมาณ 15-30 ซม. ขึ้นเป็นกอ ผิวต้นเป็นร่องตื้นๆ ปลายเรียว ใบ เป็นรูป ขอบขนานแกมรูปรีปลายมนหยักเว้าตื้นๆ แผ่นใบบาง ทิ้งใบก่อนออกดอก ดอกเป็นช่อดอกเกิดใกล้ยอดเอื้องแปรงสีฟันเป็นกล้วยไม้ รูปคล้ายกรวยเรียงแนวตั้ง ยาวประมาณ 6-12 ซม. มีดอกแน่นช่อ ที่มีดอกขนาดเล็ก 1 ช่อดอกจะประกอบด้วยดอกย่อยได้มากถึง 50-60 ดอก ดอกจะทยอยบานจากโคนไปสู่ปลายช่อ ใช้เวลานานหลายอาทิตย์ กลีบดอกสีม่วงแดง โคนกลีบดอกสีขาว ปากสีเหลืองส้ม ขนาดดอกประมาณ 6 มม สีดอกมีตั้งแต่สีขาว ชมพูอ่อน ชมพูอมม่วง ไปจนถึงม่วงเข้มราก ฤดูกาลออกดอกช่วงกุมภาพันธ์ – เมษายน ออกดอกปีละครั้ง นิยมปลูกเลี้ยงเกาะติดขอนไม้ หรือเครื่องปลูกถ่านหุงข้าว กาบมะพร้าว เพื่อให้รากเกาะ
ไม้นิ้ว เข็มม่วง(Ascocentrum ampullaceum)
เข็มม่วง เป็น กล้วยไม้ที่มีลักษณะใบแบน กว่า กล้วยไม้สกุลเข็มชนิดอื่นๆ มีระบบรากแข็งแรงและเจริญเติบโตไว เหมาะสำรับการปลูกในเขตร้อน ทั่วไป กล้วยไม้ชนิดนี้เป็นกล้วยไม้เลี้ยงง่าย นิยมปลูกใส่กระถางหรือกระเช้าแขวน หรือมัดติดไม้ได้ ชอบแสงค่อนข้างจัด และอดทนต่อความแห้งแล้งมากกว่ากล้วยไม้ชนิดอื่นๆได้ดี ดอกรูปร่างกลม สีม่วงชมพูอ่อน ไปจนถึงสีม่วงเข้ม ออกดอกเป็นช่อแน่นดอกดกได้มากกว่า๒o ดอกขึ้นไป ก้านช่อดอกตั้งตรงแทงออกที่ข้อระหว่างใบ ข้างลำต้น ในต้นที่สมบูรณ์ ก้านช่อดอกยาวได้ประมาณ๑o-๑๕ ซม. ซึ่งในต้นเดียวสามารถออกดอกได้หลายช่อต่อครั้ง ทำให้ดูพรูแน่นสวยงาม หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่่ยวกับ กล้วยไม้ เข็มม่วง และรายละเอียดของกล้วยไม้ชนิดต่างๆในสกุลนี้ ติดตามคลิ๊ก เข้าไปอ่านได้ที่นี่ครับ >>กล้วยไม้สกุลเข็ม<<
เอื้งจำปาน่าน บวกมัจฉาเหลือง
กล้วยไม้ชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้หวายไทยลูกผสม ต้นแม่คือเอื้องจำปาน่านนำมาผสมกับต้นพ่อคือ เอื้องมัจฉาเหลือง โดยกล้วยไม้ทั้งสองชนิดมีช่อแน่นห้อยลงมาเป็นพวงสีเหลืองสด ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ลํกษณะของต้นที่ได้มีลักษณะกึ่งกลมกึ่งแบนซึ่งเป็นการถ่ายทอดสายเลือดมาจากต้นพ่อแม่ เนื่องจากเอื้องจำปาน่าน จะมีลำต้นแบน ในขณะที่เอื้องมัจฉาเหลืองจะมีลำต้นเป็นเหลื่ยมค่อนข้างกลม
ดอกที่คาดว่าจะได้น่าจะเป็นลักษณะดอกสีเหลืองสดมีกลิ่นหอม ออกดอกที่ข้อด้านบน ดอกเป็นช่อแน่นห้อยย้อยลงมาเป็นพวงคล้ายกล้วยไม้ในกลุ่มเดียวกันเช่นเอื้องมอนไข่
กล้วยไม้ป่าลูกผสมชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายแตกกอได้เร็วครับ เลี้ยงได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศร้ิอน ในทุกพื้นที่ของไทย การปลูกเลี้ยงก็เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลหวายทั่วไป ใช้เครื่องปลูกที่ระบายน้ำได้ดี เช่นถ่านผสมกับกาบมะพร้าวสับ หรือรากเฟินชายผ้าสีดาหั่นเป็นชิ้น สถานที่ปลูก ควรมีแสงรำไร อากาศถ่ายเทสะดวก ให้น้ำวันละครั้งให้ชุ่ม ช่วงเช้าตรู่ หรือช่วงค่ำ บำรุงต้นด้วยการฉีดพ่น ปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำสูตรเสมอ21-21-21 อาจใช้สลับกับปุ๋ยสูตรตัวกลางตัวท้ายสูง16-21-27เป็นบางครั้ง ตามอัตราส่วนอาทิตย์ละครั้งหรืออาจเสริมด้วยปุ๋ยเม็ดละลายช้าสูตร3เดือน โรยเพียงหยิบมือ(ประมาณ10-15เม็ด)บริเวณใกล้โคนต้น บนผิวหน้าของเครื่องปลูก -สารเคมีป้องกันเชื้อรา ฉีดพ่นสลับกันเป็นระยะ การดูแลที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ จะทำให้กล้วยไม้โตเร็วขึ้น และออกดอกสวยงามครับ
ดอกที่คาดว่าจะได้น่าจะเป็นลักษณะดอกสีเหลืองสดมีกลิ่นหอม ออกดอกที่ข้อด้านบน ดอกเป็นช่อแน่นห้อยย้อยลงมาเป็นพวงคล้ายกล้วยไม้ในกลุ่มเดียวกันเช่นเอื้องมอนไข่
กล้วยไม้ป่าลูกผสมชนิดนี้ เป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่ายแตกกอได้เร็วครับ เลี้ยงได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศร้ิอน ในทุกพื้นที่ของไทย การปลูกเลี้ยงก็เช่นเดียวกับกล้วยไม้สกุลหวายทั่วไป ใช้เครื่องปลูกที่ระบายน้ำได้ดี เช่นถ่านผสมกับกาบมะพร้าวสับ หรือรากเฟินชายผ้าสีดาหั่นเป็นชิ้น สถานที่ปลูก ควรมีแสงรำไร อากาศถ่ายเทสะดวก ให้น้ำวันละครั้งให้ชุ่ม ช่วงเช้าตรู่ หรือช่วงค่ำ บำรุงต้นด้วยการฉีดพ่น ปุ๋ยเกร็ดละลายน้ำสูตรเสมอ21-21-21 อาจใช้สลับกับปุ๋ยสูตรตัวกลางตัวท้ายสูง16-21-27เป็นบางครั้ง ตามอัตราส่วนอาทิตย์ละครั้งหรืออาจเสริมด้วยปุ๋ยเม็ดละลายช้าสูตร3เดือน โรยเพียงหยิบมือ(ประมาณ10-15เม็ด)บริเวณใกล้โคนต้น บนผิวหน้าของเครื่องปลูก -สารเคมีป้องกันเชื้อรา ฉีดพ่นสลับกันเป็นระยะ การดูแลที่เหมาะสมและสม่ำเสมอ จะทำให้กล้วยไม้โตเร็วขึ้น และออกดอกสวยงามครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น