วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

โรคเมอร์ส อาการเป็นยังไง -- ผู้ต้องสงสัยติดเชื้อที่ระยอง


MERs มาจากชื่อเต็มๆที่ว่า
Middle East Respiratory Syndrome Coronavirus (MERS-CoV)

เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสทางเดินหายใจที่เริ่มระบาดจากตะวันออกกลาง
MERs เริ่มมีการระบาดตั้งแต่ ปี 2012 ทั้งนี้ทางองค์กร NIAID กำลังศึกษาและพัฒนาวัคซีน

                  ได้รับการรายงานการติดเชื้อครั้งแรก ที่ประเทศ ซาอุดิอาระเบีย เมื่อปี 2012   MERS มักจะมีผลต่อระบบทางเดินหายใจ (ปอด และทางเดินหายใจ) ผู้ป่วยส่วนมากมักมีอาการรุนแรงของระบบทางเดินหายใจ  รวมถึงอาการไข้ ไอ หอบ  ผู้ป่วยประมาณ 3-4 คน ในผู้ป่วยทุกๆ10 คน มักเสียชีวิต

MERS สามารถติดได้ทุกเพศทุกวัย ผู้ป่วยมีอายุตั้งแต่อายุ 1 - 99 ปี 
ขณะนี้ทางองค์กร CDC กำลังทำการศึกษาเกี่ยวกับการระบาด เพื่อให้เข้าใจปัจจัยความเสี่ยงในการติดเชื้อ รวมถึงสาเหตุต้นตอของเชื้อโรค การแพร่กระจาย  วิธีการแพร่กระจายเชื้อ เพื่อประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อโรค

MERS เริ่มระบาดในเกาหลี ตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม 2015  เกาหลีใต้ได้เริ่มมี
การสืบสวนโรคเนื่องจากการระบาดของโรคจำนวนมากที่สุด ถ้าไม่นับการติดเชื้อในตะวันออกกลางและแถบประเทศใกล้เคียง   CDC ยังไม่ได้เสนอคำแนะนำเกี่ยวกับการห้ามไปในเกาหลี ในขณะนี้ 

การรักษา -- ตอนนี้ยังไม่มียารักษาที่เฉพาะเจาะจงสำหรับการติดเชื้อ MERS-CoV  ในเคสทั่วไปการรักษาคือประคับประคองอาการ 

การติดต่อ
MERS-CoV เหมือนโคโรน่าไวรัสตัวอื่นๆ คือจะแพร่กระจายเชื้อจากสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจ โดยทางไอ แต่อย่างไรก็ตามตอนนี้ยังไม่ทราบการแพร่กระจายของไวรัสที่แน่นอน ต้องต้องศึกษาเพิ่มเติม
MERS-CoVสามารถแพร่กระจายจากคนที่ติดเชื้อโดยการสัมผัสใกล้ชิด เช่น การดุแล การอาศัยอยู่ในห้องเดียวกับผู้ป่วย  ผู้ติดเชื้อ MERS-CoV สามารถแพร่กระจายเชื่้อให้แก่คนอื่นๆในโรงพยาบาลได้








เคสรายงานทุกเคสมีความเชื่อมโยงกับประเทศในหรือใกล้เคียงตะวันออกกลาง   ผู้ติดเชื้อส่วนมากอาศัยอยู่ในตะวันออกกลาง หรือเพิ่งเดินทางกลับมาจากตะวันออกกลางก่อนที่จะเริ่มป่วย  ผู้ป่วยส่วนน้อยติดเชื้อจากการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อ ผุ้ซึ่งเพิ่งเดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด

ผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศตะวันออกกลาง
ถ้าคุณเริ่มมีอาการไข้ หรือมีอาการเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ไอ หอบ ภายใน 14 วัน หลังจากเดินทางไปประเทสเหล่านี้  ต้องติดต่อ โรงพยาบาล และขณะที่ป่วยอยู่นั้น ควรจะหยุดงานหรือหยุดเรียน หรือเลื่อนการเดินทาง เพื่อลดโดอกาสที่จะแพร่กระจายเชื้อโรคลง

หรือ ถ้าคุณมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนที่เดินทางกลับจากประเทศดังกล่าว ภายใน 14 วัน  และคนเหล่านั้นมีอาการไข้ และอาการทางเดินหายใจ คุณจะต้องสังเกตุอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 14 วัน เริ่มนับตั้งแต่วันสุดท้ายที่คุณสัมผัสคนป่วย

สำหรับผู้ที่เพิ่งกลับตจากสถานพยาบาลในเกาหลีใต้
ถ้าคุณเริ่มมีอาการไข้ ร่วมกับอาการทางเดิืินหายใจ ได้แก่ อาการไอ หอบ ภายใน 14 วัน หลังจากที่ได้ไปสถานพยาบาล (ทั้งใน ฐานะ คนไข้ คนทำงาน หรือไปเยี่ยมไข้) ต้องติดต่อโรงพยาบาล และเล่าถึงว่าเคยไปสถานพยาบาลดังกล่าวมาก่อน และขณะที่มีอการป่วยควรหยุดงานหรือหยุดเรียน หรือเลื่อนการเดินทาง เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจาย


สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ MERS


      ถ้าคุณได้สัมผัสใกล้ชิด กับผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันการติดเชื้อ MERS  -CoV คุณควรจะติดต่อสถานพยาบาลเพื่อประเมินอาการ คุณจะได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของคุณด้วย      
      คุณอาจจะต้องรับการสังเกตุอาการอย่างน้อย 14 วัน โดยเริ่มนับจากวันสุดท้ายที่คุณได้สัมผัสผู้ป่วย
เฝ้าระวังอาการดังต่อไปนี้ คือ ไข้ (วัดอุณหภูมิร่างกายวันละ 2 ครั้ง) ไอ หอบ
      อาการเริ่มต้นอื่นๆ ได้แก่ อาการหนาวสั่น ปวดเมื่อยตัว เจ็บคอ ปวดหัว ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีน้ำมูก ถ้าคุณเริ่มมีอาการให้รีบติดต่อโรงพยาบาล


        ไวรัส MERS -CoV ถูกพบใน อูฐ  และ ผู้ป่วยติดเชื้อ MERs-CoV ส่วนหนึ่งได้รับการสัมผัสอูฐ อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ยังไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด เกี่ยวกับการติดเชื้อ MERS-CoV --ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ  
         WHO แนะนำวิธีการป้องกันเบื้องต้นสำหรับทุกคนที่เดินทางไปยังสถานที่ที่มีสัตว์อยู่  โดยรักษาความสะอาดเบื้องต้น ล้างมือบ่อย ทั้งก่อนละหลังสัมผัสสัตว์ หลีกเลี่้ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย หลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือปรุงไม่สุก
สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้่อรุนแรง ..ได้แก่ผู้ป่วย เบาหวาน ไตวาย โรคปอดเรื้อรัง หรือผู้มีที่ภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ซึ่งกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอูฐ ไม่ดื่มนมอูฐ หรือปัสสาวะอูฐ ไม่กินเนื้อสัตว์ไม่ปรุงสุก โดยเฉพาะเนื้ออูฐ

*Countries considered in the Arabian Peninsula and neighboring include: Bahrain; Iraq; Iran; Israel, the West Bank, and Gaza; Jordan; Kuwait; Lebanon; Oman; Qatar; Saudi Arabia; Syria; the United Arab Emirates (UAE); and Yemen.

**Close contact is defined as a) being within approximately 6 feet (2 meters) or within the room or care area for a prolonged period of time (e.g., healthcare personnel, household members) while not wearing recommended personal protective equipment (i.e., gowns, gloves, respirator, eye protection; or b) having direct contact with infectious secretions (e.g., being coughed on) while not wearing recommended personal protective equipment (i.e., gowns, gloves, respirator, eye protection–. Data to inform the definition of close contact are limited. At this time, brief interactions, such as walking by a person, are considered low risk and do not constitute close contact.

**นิยามของคำว่าสัมผัสใกล้ชิด 1/ใกล้กันในระยะ 2 เมตร หรืออยู่ในห้องเดียวกันในระยะเวลานาน (สถานพยาบาบ บ้าน) โดยที่ไม่สมอุปกรณ์ป้องกัน (เสื้อคลุม ถุงมือ หน้ากากกรอวอากาศ แว่น )  2/ได้รับการสัมผัสโดยตรงกับสารคัดหลั่งของคนที่ติดเชื้อ ขณะที่ไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกัน *** ตอนนี้การสัมผัสกันเพียงช่วงสั้นๆ เช่นเดินผ่าน ถือว่าเป็นกลุ่มความเสี่ยงต่ำ

       
 สำหรับสถานการณ์ในล่าสุด 21/07/2558 --- พบผู้ป่วย closed contact กับผู้ป่วยอีกรายที่เพิ่งกลับจากเกาหลี แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันการติดโรคนั้น ...พบว่าหลังจากส่งเสมหะเพาะเชื้อ ผู้สงสัยโรคทั้งสองรายไม่พบ เชื้อไวรัส MERS-CoV

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น