4 กับดัก พนักงานขายกองทุนรวม!
http://www.iammrmessenger.com/?p=753
พ.ย.18
ถึงผมจะอยู่ในสายธุรกิจธนาคาร เป็นพนักงานตัวเล็กๆคนเนิง (มีคนแซวว่า เล็กอะไร ตัวใหญ่คับลิฟท์จะตาย!!) แต่ในอีกฐานะหนึ่ง ผมก็คือ ลูกค้า ของธนาคาร และ บลจ. หลายแห่งเช่นกัน และด้วยความที่ผมอยากเห็นธุรกิจนี้เติบโตอย่างแข็งแรง และ ให้กองทุนรวมเป็นเครื่องมือรับใช้ประชาชนในการเก็บออม แทนที่จะทนทุกข์กับดอกเบี้ยต่ำติดดินในธนาคารอย่างเดียว ก็เลยเป็นที่มาที่ทำ Blog และ แชร์เรื่องราวเกี่ยวกับลงทุนมาตลอดนะครับ
คราวนี้ พอพี่ๆ น้องๆ และเพื่อนๆนักลงทุนสนใจลงทุนในกองทุนรวม ก็ต้องเข้าไปซื้อกับพนักงานผู้ให้คำแนะนำอีกที และด้วยความที่ สินค้ากองทุนรวมนั้น มันต้องการคำแนะนำที่เป็นกลาง และให้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงแก่เรา เพื่อประกอบการตัดสินใจ แต่ในชีวิตจริง คุณหวังสิ่งเหล่านั้น จากแหล่งข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งไม่ได้ โดยเฉพาะ พนักงานขาย (เชื่อผมเถอะ ผมก็เป็น ฮาๆๆ) มันจะมี Sale ขายรถโตโยต้า คนไหนในโลก ที่เชียร์ให้ลูกค้าซื้อฮอนด้า ไหมครับ? ทำอย่างนั้น มันก็ดูจะแปลกไปนิดเนิง แต่นั้นก็เป็นแค่ สิ่งที่คุณต้องระวัง ก่อนรับคำแนะนำจากพนักงานขายเป็นสิ่งแรก และนี่คืออีก 4 กับดัก ที่คุณต้องอย่าเสียรู้ เป็นอันขาด
1. กองทุนรวม มันเสี่ยงต่ำ เงินต้นไม่หายแน่นอนค่ะคุณพี่
ขึ้นชื่อว่า กองทุนรวม ต่อให้เป็นกองทุนที่เสี่ยงต่ำที่สุด ก็ไม่มีใครสามารถการันตีผลตอบแทนได้ 100% นะครับ แล้วยิ่ง คุณผู้ชายที่เจอพนักงานสาวๆสวยๆ ขายกองทุนครับ เรื่องว่า กองทุนพวกนี้ไม่เสี่ยง เงินต้นไม่หาย เรามักจะคิดเอาเองกับกองทุนพวกตราสารหนี้ ที่มีอายุแน่นอน 6 เดือน 12 เดือน แล้วก็มีการประกาศผลตอบแทนโดยประมาณการณ์ก่อนการเปิด IPO ประเด็นคือ กองทุน Term Fund เหล่านี้ เลือกที่จะออกไปลงทุนต่างประเทศ เพราะถ้าอยู่แต่ในบ้านเรา มันผลตอบแทนต่ำเกินไป ไม่จูงใจให้ลงทุน ดังนั้น ก็เลยไปหาของที่นอกบ้าน พนักงานที่ไม่เข้าใจ ก็อาจคิดว่า กองทุนพวกนี้เหมือนเงินฝากประจำ ชวนลูกค้าลงทุนโดยไม่คำนึงว่า กองทุนนั้น ไปลงทุนในตราสารหนี้ที่ไหน งานของคุณก็คือ กาง Fund Fact Sheet ออกมาดูเองนะครับ ว่าเขาไปลงทุนอะไร ตัวไหนติดขัด หรือมองเห็นแล้วไม่สบายใจ ก็ถามจากผู้รู้ น่าจะดีกว่า
ขึ้นชื่อว่า กองทุนรวม ต่อให้เป็นกองทุนที่เสี่ยงต่ำที่สุด ก็ไม่มีใครสามารถการันตีผลตอบแทนได้ 100% นะครับ แล้วยิ่ง คุณผู้ชายที่เจอพนักงานสาวๆสวยๆ ขายกองทุนครับ เรื่องว่า กองทุนพวกนี้ไม่เสี่ยง เงินต้นไม่หาย เรามักจะคิดเอาเองกับกองทุนพวกตราสารหนี้ ที่มีอายุแน่นอน 6 เดือน 12 เดือน แล้วก็มีการประกาศผลตอบแทนโดยประมาณการณ์ก่อนการเปิด IPO ประเด็นคือ กองทุน Term Fund เหล่านี้ เลือกที่จะออกไปลงทุนต่างประเทศ เพราะถ้าอยู่แต่ในบ้านเรา มันผลตอบแทนต่ำเกินไป ไม่จูงใจให้ลงทุน ดังนั้น ก็เลยไปหาของที่นอกบ้าน พนักงานที่ไม่เข้าใจ ก็อาจคิดว่า กองทุนพวกนี้เหมือนเงินฝากประจำ ชวนลูกค้าลงทุนโดยไม่คำนึงว่า กองทุนนั้น ไปลงทุนในตราสารหนี้ที่ไหน งานของคุณก็คือ กาง Fund Fact Sheet ออกมาดูเองนะครับ ว่าเขาไปลงทุนอะไร ตัวไหนติดขัด หรือมองเห็นแล้วไม่สบายใจ ก็ถามจากผู้รู้ น่าจะดีกว่า
2. กองทุนรวมอันนี้ การันตีผลตอบแทนนะครับเฮีย
ขนาด เงินต้น ยังการันตีให้ไม่ได้ ฉะนั้น อย่าหวังว่า กองทุนจะสามารถการันตีผลตอบแทนได้เลยครับ คำพูดนี้ ผมเห็นคนส่วนใหญ่จะเจอกับพนักงานที่ขายพวกกอง Trigger Fund ลงทุน 6 เดือน 9 เดือน บอกจะได้ 6% 9% เท่านั้นเท่านี้แน่นอน นั้นมันพูดเกินจริงนะ ใครโดนไปปีที่แล้ว จะเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะการลงทุนในตลาดหุ้น คุณต้องเจอกับความผันผวนของตลาด ต่อให้เก่งมาจากกาแลคซี่อื่นนอกโลก ก็ยังต้องชิดซ้ายให้กับคุณตลาด (Mr.Market) ที่มีอารมณ์ขึ้นลงแปรปรวนยิ่งกว่าผู้หญิงข้างกายคุณ!! ใครเจอพนักงานบอกแบบนี้ นี้ออกห่างเลย
ขนาด เงินต้น ยังการันตีให้ไม่ได้ ฉะนั้น อย่าหวังว่า กองทุนจะสามารถการันตีผลตอบแทนได้เลยครับ คำพูดนี้ ผมเห็นคนส่วนใหญ่จะเจอกับพนักงานที่ขายพวกกอง Trigger Fund ลงทุน 6 เดือน 9 เดือน บอกจะได้ 6% 9% เท่านั้นเท่านี้แน่นอน นั้นมันพูดเกินจริงนะ ใครโดนไปปีที่แล้ว จะเข้าใจเป็นอย่างดี เพราะการลงทุนในตลาดหุ้น คุณต้องเจอกับความผันผวนของตลาด ต่อให้เก่งมาจากกาแลคซี่อื่นนอกโลก ก็ยังต้องชิดซ้ายให้กับคุณตลาด (Mr.Market) ที่มีอารมณ์ขึ้นลงแปรปรวนยิ่งกว่าผู้หญิงข้างกายคุณ!! ใครเจอพนักงานบอกแบบนี้ นี้ออกห่างเลย
3. กองทุนของเราขนาดใหญ่ มั่นใจได้เลยครับ
ขนาดของกองทุน เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาก็จริงครับ แต่ขนาดของกองทุน ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนที่เราจะได้รับในอนาคตเลยนะครับ (ย้ำให้อ่านตัวหนาอีกรอบ) ผมเห็นนักลงทุนมือใหม่หลายคน ก็บ้าจี้ไปกับ ขนาดกองทุนที่ใหญ่โต บอกว่า กองทุนเขาต้องเจ๋งสิ ไม่งั้นคนจะเอาเงินไปลงทุนมันเยอะๆทำไม …. จากประสบการณ์ในตลาดกองทุนรวมของผม ผมเห็นคนรวยจำนวนมาก ไม่ได้ใส่ใจกับเงินออมตัวเองเท่าไหร่ พนักงานให้ซื้ออะไรก็ซื้อตาม เพราะคำว่า “เกรงใจ” และใช้เวลาองตัวเองไปกับธุรกิจส่วนตัวเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพกันต่อไป ดังนั้น มันเป็นไปได้ครับ ที่ขนาดกองทุนใหญ่ ก็เพราะมีนักลงทุนรายใหญ่เหล่านั้นถืออยู่ ผมไม่ขอเอ่ยเชื่อกองทุนนั้นนะ ไปหากันเอาเอง แต่เอาเป็นว่า ถ้าใครไม่เชื่อ ลองดูตารางกองทุนหุ้นไทยผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีดีที่สุดในตลาด แล้วเทียบกับขนาดของกองทุนเหล่านั้นดูครับ ดูแล้วก็จะยืนยันว่า มันไม่ได้เกี่ยวกันเลย
ขนาดของกองทุน เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาก็จริงครับ แต่ขนาดของกองทุน ไม่ได้มีความสัมพันธ์กับผลตอบแทนที่เราจะได้รับในอนาคตเลยนะครับ (ย้ำให้อ่านตัวหนาอีกรอบ) ผมเห็นนักลงทุนมือใหม่หลายคน ก็บ้าจี้ไปกับ ขนาดกองทุนที่ใหญ่โต บอกว่า กองทุนเขาต้องเจ๋งสิ ไม่งั้นคนจะเอาเงินไปลงทุนมันเยอะๆทำไม …. จากประสบการณ์ในตลาดกองทุนรวมของผม ผมเห็นคนรวยจำนวนมาก ไม่ได้ใส่ใจกับเงินออมตัวเองเท่าไหร่ พนักงานให้ซื้ออะไรก็ซื้อตาม เพราะคำว่า “เกรงใจ” และใช้เวลาองตัวเองไปกับธุรกิจส่วนตัวเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพกันต่อไป ดังนั้น มันเป็นไปได้ครับ ที่ขนาดกองทุนใหญ่ ก็เพราะมีนักลงทุนรายใหญ่เหล่านั้นถืออยู่ ผมไม่ขอเอ่ยเชื่อกองทุนนั้นนะ ไปหากันเอาเอง แต่เอาเป็นว่า ถ้าใครไม่เชื่อ ลองดูตารางกองทุนหุ้นไทยผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีดีที่สุดในตลาด แล้วเทียบกับขนาดของกองทุนเหล่านั้นดูครับ ดูแล้วก็จะยืนยันว่า มันไม่ได้เกี่ยวกันเลย
4. ซื้อกองทุนของเราดีกว่าครับ กองทุนของเรา NAV ต่ำกว่าคู่แข่ง พี่จะได้หน่วยลงทุนเยอะกว่าไงครับ
เรื่องราคา NAV สูงต่ำที่ต่างกัน ให้พูดอีก 10 รอบ ผมก็เชื่อว่า ทั้งพนักงานขายเอง และลูกค้าเอง ก็ยังมีคนไม่เข้าใจ NAV นั้น คำนวณจาก มูลค่าของหลักทรัพย์ในตลาด ลบด้วย หนี้สิน (ถ้ามี) และ ลบด้วย ค่าใช้จ่ายกองทุน แล้วนำมาหารจำนวนหน่วย เป็น NAV ต่อหน่วย โดยกฎ กลต. ก็คือ ณ วันเทรดวันแรกของทุกกองทุนรวม จะต้องเริ่มต้นที่ 10 บาท ก่อนทุกครั้ง
ดังนั้น ข้อสังเกตแรกก็คือ กองทุนไหนเปิดมานานกว่า ถ้าไม่ได้ขาดทุน ก็ควรจะ NAV สูงกว่า กองทุนที่เพิ่งเปิดใหม่นะครับ ส่วนอีกข้อสังเกตก็คือ สมมติ เป็นพวกกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นหุ้นไทย และ กองทุน 2 กอง ไปลงทุนในหุ้น PTT เหมือนกัน ถ้าราคาหุ้น PTT ปิดตลาดวันนี้ที่ 387 บาท ไม่ว่า กองทุนจะ NAV อยู่ที่เท่าไหร่ ก็ต้อง Mark to Market ราคา PTT ที่ 387บาท แต่ความรู้สึกเรา ดันรู้สึกสบายใจกับกองทุนที่ NAV ต่ำกว่า นั้นเป็นเรื่องมายาที่หลอกเราครับ สิ่งที่ต้องดูคือ ผลการดำเนินงานย้อนหลัง นโยบายการลงทุน ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม ว่าสิ่งเหล่านั้นต่างกันหรือไม่ ส่วน NAV จะสูงจะต่ำ มันไม่มีผลครับ อย่าให้ใครมาหลอกเราได้ จำไว้!!
เรื่องราคา NAV สูงต่ำที่ต่างกัน ให้พูดอีก 10 รอบ ผมก็เชื่อว่า ทั้งพนักงานขายเอง และลูกค้าเอง ก็ยังมีคนไม่เข้าใจ NAV นั้น คำนวณจาก มูลค่าของหลักทรัพย์ในตลาด ลบด้วย หนี้สิน (ถ้ามี) และ ลบด้วย ค่าใช้จ่ายกองทุน แล้วนำมาหารจำนวนหน่วย เป็น NAV ต่อหน่วย โดยกฎ กลต. ก็คือ ณ วันเทรดวันแรกของทุกกองทุนรวม จะต้องเริ่มต้นที่ 10 บาท ก่อนทุกครั้ง
ดังนั้น ข้อสังเกตแรกก็คือ กองทุนไหนเปิดมานานกว่า ถ้าไม่ได้ขาดทุน ก็ควรจะ NAV สูงกว่า กองทุนที่เพิ่งเปิดใหม่นะครับ ส่วนอีกข้อสังเกตก็คือ สมมติ เป็นพวกกองทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่นหุ้นไทย และ กองทุน 2 กอง ไปลงทุนในหุ้น PTT เหมือนกัน ถ้าราคาหุ้น PTT ปิดตลาดวันนี้ที่ 387 บาท ไม่ว่า กองทุนจะ NAV อยู่ที่เท่าไหร่ ก็ต้อง Mark to Market ราคา PTT ที่ 387บาท แต่ความรู้สึกเรา ดันรู้สึกสบายใจกับกองทุนที่ NAV ต่ำกว่า นั้นเป็นเรื่องมายาที่หลอกเราครับ สิ่งที่ต้องดูคือ ผลการดำเนินงานย้อนหลัง นโยบายการลงทุน ค่าใช้จ่ายกองทุนรวม ว่าสิ่งเหล่านั้นต่างกันหรือไม่ ส่วน NAV จะสูงจะต่ำ มันไม่มีผลครับ อย่าให้ใครมาหลอกเราได้ จำไว้!!
กับดักข้างต้น เป็นสิ่งที่เราสามารถสังเกตเห็นได้ทันทีนะครับ ว่า เราควรเลือกรับคำปรึกษากับพนักงานเหล่านั้นหรือไม่ ส่วนพนักงานท่านใดเข้ามาอ่าน แล้วรู้ว่า ตัวเองเข้าใจผิด ก็ขอให้คิดใหม่ทำใหม่ เพื่อเป็นกลไก และเป็นฟันเฟื่องให้คนไทยใช้กองทุนรวมเป็นแหล่งเงินออมอย่างถูกต้องในระยะยาว น่าจะดีกว่าคิดแค่หวังทำเป้าระยะสั้นนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น