วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2557

หมิ่นประมาท

http://www.phuwarinlawyer.com/webboard-%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95-1-113726-1.html

มาดูว่าการหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต คืออะไร ก่อนที่จะพิจารณาถึงเรื่องนี้ควรจะพิจารณาก่อนว่า หมิ่นประมาทนั้น มีลักษณะการกระทำอย่างไร หมิ่นประมาทคือ การใส่ความผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดๆ เช่น พูด เขียน พิมพ์ข้อความ หรือแสดงกริยาต่างๆ โดยการใส่ความดังกล่าวนั้น ต้องเป็นการกระทำให้บุคคลที่สามรับทราบ ซึ่งเป็นการกระทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้น ได้รับความเสียหาย

          ดังนั้น ผู้กระทำการหมิ่นประมาท จะมีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา กล่าวคือ การหมิ่นประมาทนั้น ผู้กระทำผิดจะมีความหมายทางแพ่ง ฐานละเมิดตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423 ซึ่งมีหลักการสำคัญ คือ ผู้กระทำได้กล่าว หรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความที่ขัดต่อความเป็นจริง เป็นผลให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย ต่อชื่อเสียงเกียรติคุณ



          นอกจากนี้การหมิ่นประมาท ยังถูกบัญญัติให้เป็นความผิดหนึ่ง ในประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 326 ซึ่งลักษณะการกระทำคือ ผู้กระทำความผิดได้ใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง การพิจารณาข้อความที่เป็นการหมิ่นประมาทในทางอาญานั้น อาจเป็นความจริง หรือเท็จก็ได้ดังที่เคยมีคำกล่าวว่า"ยิ่งจริงยิ่งผิด" เพราะกฏหมาย มุ่งพิจารณาแต่เพียงว่าถ้ามีการกล่าวถึงบุคคลอื่น ในด้านที่ไม่ดีแล้ว ย่อมจะทำให้สังคมไม่สงบสุข ไม่ว่าข้อความนั้นจะเป็นจริงหรือไม่

 ความรับผิดทางอาญา และทางแพ่งมีข้อแตกต่าง ประการสำคัญที่สุด คือ หากข้อความที่กล่าวเป็นเรื่องเท็จ ผู้กระทำจะมีความผิดทางอาญา และต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง แต่ถ้าข้อความที่กล่าวเป็นจริง ผู้กระทำจะมีความผิดทางอาญา แต่ไม่ต้องชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่ง

กรณีความผิดทางอาญา ในการหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ต จะมีความผิดตามมาตรา 326 ที่บัญญัติว่า "ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่ทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือ ถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ"



          หากนำข้อความ หรือภาพที่มีลักษณะหมิ่นประมาท ไปลงไว้ในเว็บไซต์ คนทั่วไปย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ อันเป็นลักษณะของการโฆษณาด้วยภาพ หรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎด้วยวิธีใด อย่างหนึ่ง ซึ่งในมาตรา 328 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาท ได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนต์ ภาพ หรือ ตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎ ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท" ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษหนักกว่ามาตรา 326 เพราะการโฆษณาเป็นการทำให้ข้อความหรือภาพที่มีลักษระหมิ่นประมาทกระจายไปสู่คนจำนวนมากกว่าการหมิ่นประมาททั่วๆ ไป


 หากนำข้อความ หรือภาพที่มีลักษณะหมิ่นประมาท ไปลงไว้ในเว็บไซต์ คนทั่วไปย่อมสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ อันเป็นลักษณะของการโฆษณาด้วยภาพ หรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎด้วยวิธีใด อย่างหนึ่ง ซึ่งในมาตรา 328 บัญญัติไว้ว่า "ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาท ได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนต์ ภาพ หรือ ตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎ ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท" ผู้กระทำจะต้องได้รับโทษหนักกว่ามาตรา 326 เพราะการโฆษณาเป็นการทำให้ข้อความหรือภาพที่มีลักษระหมิ่นประมาทกระจายไปสู่คนจำนวนมากกว่าการหมิ่นประมาททั่วๆ ไป



          ความผิดสำเร็จในความผิดฐานหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ตนั้น จะถือว่าความผิดสำเร็จเมื่อใด เมื่อพิจารณาถ้อยคำที่ว่า "โดยประการที่ทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง" ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้นไม่ใช่ผลของการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ที่ต้องถือว่าเป็นความผิดสำเร็จแล้ว แต่จะพิจารณาว่าผิดสำเร็จ หรือไม่จากวิญญูชนทั่วไป (บุคคลทั่วไป) ว่าเมื่อได้รับทราบข้อความนั้นแล้ว เห็นว่าน่าจะเกิดความเสียหายแต่ผู้อื่นหรือไม่ ถ้าเห็นว่าน่าจะเสียหาย ผู้กระทำก็จะมีความผิดแล้ว แต่ถ้าบุคคลทั่วไปเห็นว่าไม่น่าจะเสียหายแต่ผู้อื่น ผู้กระทำก็ไม่มีความผิด และต้องได้ข้อเท็จจริงว่า บุคคลที่สามรับทราบข้อความนั้นแล้ว จึงจะถือว่าเป็นความผิดสำเร็จ



          ถ้าบุคคลที่สามยังไม่ได้รับทราบข้อความนั้นเลย ก็เป็นแต่เพียงขั้นพยายามหมิ่นประมาทเท่านั้น คือ ผู้กระทำได้กระทำไปตลอดแล้ว แต่การกระทำไม่บรรลุผล เช่น นายเอก ส่งอีเมลล์ให้นายโท โดยมีข้อความหมิ่นประมาทนายตรี ถ้านายโทยังไม่เปิ[คำไม่พึงประสงค์]่าน ถือว่านายเอกได้กระทำไปตลอดแล้ว แต่ไม่บรรลุผล คือ นายโท ยังไม่ได้รับทราบข้อความนั้น จีงมีความผิดเพียงขั้นพยายามหมิ่นประมาทรับโทษเพียงสองในสาม แต่ถ้านายโทเปิ[คำไม่พึงประสงค์]่านอีเมล์ฉบับดังกล่าวแล้ว ถือได้ว่ามีบุคคลที่สามรับทราบข้อความแล้ว จึงเป็นความผิดสำเร็จโทษเต็มตามที่กฎหมายบัญญัติ



* ในกรณีเมื่อได้รับอีเมลล์ที่มีข้อความหมิ่นประมาท และได้ forward ต่อไปให้ผู้อื่น จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ?

ประเด็นนี้เกิดขึ้นได้บ่อยมากในปัจจุบัน เพราะสามารถทำการส่งข้อความหรือภาพ ที่เราได้รับมาไปให้เพือนหรือ คนรู้จักกันได้อีกไม่จำกัดจำนวน ประเด็นนี้สามารถเทียบเคียงได้กับคำพิพากษาศาลฎีกาที 2822/2515 ซึ่งมีข้อเท็จจริงคือ จำเลยแสดงข้อความในจดหมายที่ได้รับจากผู้อื่น โดยรู้อยู่ว่าจดหมายนั่นมีข้อความหมิ่นประมาท ถือได้ว่าจำเลยมีความผิดฐานหมิ่นประมาท



          เหตุที่มองว่าการ Forward-mail ไปให้ผู้อื่นถือเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท เพราะผู้กระทำนั้นเมื่อได้รับทราบข้อความ แล้วได้ทำการเผยแพร่ต่อไป เท่ากับเป็นการใส่ความผู้เสียหายต่อไปอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการขยายความเสียหายออกไป อีกจึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้นเอง แล้วถ้าหาก Forward-mail ต่อไปให้บุคคลอื่นอีกหลายคน จะถือว่าเป็นการหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาที่ต้องรับโทษหนักขึ้น ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 นั้น จะต้องพิจารณาจากการกระทำเป็นหลัก ว่าเป็นการโฆษณาหรือไม่ โดยไม่คำนึงถึงจำนวนบุคคลผู้รับข้อความ ว่าจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด



*************************************************************************************

ขอเผยแพร่เป็นความรู้ที่เป็นกฎหมายที่ต้องรู้สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทุกท่านครับ



          สรุป การหมิ่นประมาททางอินเตอร์เน็ตสามารถฟ้องร้องเอาผิดได้ทั้งคดีอาญา และคดีแพ่ง โดยคดีอาญาฐานหมิ่นประมาทนั้น เป็นความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้ยอมความกันได้ เนื่องจากมิใช่คดีความผิดที่ร้ายแรง หากผู้กระทำความผิดรู้สึกสำนึกในการกระทำผิด ด้วยการขอโทษหรือชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ คู่กรณีก็สามารถยอมความกันด้วยการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาท เพื่อไม่ให้เรื่องถึงโรงถึงศาลได้ เพราะเมื่อมีการยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป  สิ่งสำคัญคือการรู้จักให้อภัยผู้กระทำผิดที่สำนึกแล้ว ส่วนผู้กระทำผิดก็ควรใช้สติคิดก่อนลงมือทำ หรือใคร่ครวญให้ดีก่อนแล้วจึงทำ จะได้ไม่ตกเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำความผิดทางอาญา และถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย





            ความผิดฐานหมิ่นประมาท กับฐานดูหมิ่น ซึ่งแต่ละฐานความผิดมีองค์ประกอบดังนี้

        1. ความผิดอาญาฐานหมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ แต่ถ้ากระทำด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท

        คำว่า “ใส่ความ” หมายถึงการยืนยันข้อเท็จจริง หรือกล่าวยืนยันความจริง หรือความเท็จ หรือเอาเรื่องไม่จริงไปแต่งความใส่ร้าย หรือเอาเรื่องจริงไปกล่าว ก็เป็นความผิด เรียกว่า ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท หรือแม้แต่การเล่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาไปพูดให้บุคคลอื่นฟังก็เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้ สำหรับข้อความจะเป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาตามความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว ๆ ไป มิใช่พิจารณาถึงความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว

        ส่วนการกล่าวข้อความที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้อื่นที่จะเป็นความผิดนั้นจะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้น การกล่าวถึงผู้หนึ่งผู้ใดในกลุ่มบุคคลโดยไม่ได้เจาะจงว่าหมายถึงผู้ใดโดยเฉพาะ และถ้อยคำที่กล่าวไม่อาจเข้าใจได้ว่าหมายถึงผู้ใด จึงไม่เป็นหมิ่นประมาท


        ข้อเท็จจริงที่จะเป็นหมิ่นประมาท หรือการใส่ความนั้นพอจะสรุปตามแนวคำวินิจฉัยศาลฎีกาได้ดังนี้ 

        - ต้องไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นคำหยาบ หรือเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้ 

        - ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอน ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่คลุมเครือ หรือเลื่อนลอยหรือกล่าวด้วยความน้อยใจ 

        - ข้อเท็จจริงที่กล่าวนั้น ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันในอดีตหรือปัจจุบันไม่ใช่เพียงการคาดคะเน หรือกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต แต่กรณีแสดงความคิดเห็นบางอย่างแม้จะเป็นการแสดงความคิดเห็นในอนาคต แต่หากฟังแล้วทำให้เข้าใจว่าในปัจจุบันเป็นเช่นไร ก็ย่อมเป็นหมิ่นประมาทได้

        ข้อความที่จะเป็นการจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องเป็นข้อความที่ทำให้เขาเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อาทิเช่น เป็นการใส่ความเกี่ยวกับความประพฤติ, เป็นการใส่ความเกี่ยวกับเรื่องประเวณี หรือการอันไม่สมควรทางเพศ, เป็นการใส่ความเกี่ยวกับหน้าที่การงาน หรือเป็นการกล่าวถึงความไม่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ทางการเงิน เป็นต้น

        2. ความผิดอาญาฐานดูหมิ่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 บัญญัติว่า ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

        การดูหมิ่นผู้อื่น หมายถึง การดูถูกเหยียดหยาม สบประมาท หรือทำให้อับอาย การวินิจฉัยว่าการกล่าววาจาอย่างไรเป็นการดูหมิ่นผู้อื่นหรือไม่ จึงต้องพิจารณาว่าถ้อยคำที่กล่าวเป็นการดูถูกเหยียดหยาม สบประมาทผู้ที่ถูกกล่าว หรือทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอับอายหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่น

                                                                      ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 256/2509 ศาลวินิจฉัยว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาทนั้น ต้องเป็นการแสดงข้อความให้คนฟังคนเห็นเชื่อจึงจะเกิดความรู้สึกเกลียดชัง ดูหมิ่นขึ้นได้ จำเลยกล่าวว่า “โจทก์เป็นผีปอบ เป็นชาติหมา” ความรู้สึกนึกคิดของคนธรรมดาไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้นไปได้ จึงไม่ก่อให้เกิดความเกลียดชังหรือดูหมิ่นอย่างใด และข้อความใดจะเป็นการทำให้เสียหายแก่ชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ต้องถือตามความคิดของบุคคลธรรมดาผู้ได้เห็นได้ฟัง คำกล่าวของจำเลยจึงไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท

        คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 481/2506 “ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อหน้าบุคคลหลายคนว่าโจทก์เป็นคนนิสัยไม่ดี มีความรู้สึกต่ำ เป็นถ้อยคำที่ไม่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจว่า โจทก์นิสัยไม่ดี หรือมีความรู้สึกต่ำอย่างไร จึงไม่เป็นถ้อยคำที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ส่วนถ้อยคำว่าโจทก์เป็นคนมีหนี้สินเป็นแสนๆ ยังใช้หนี้เขาไม่หมด อวดมั่งมีคาดเข็มขัดทองนั้น จำเลยก็ไม่ได้กล่าวถึงกับว่าโจทก์เป็นคนหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่เป็นถ้อยคำที่ทำให้ผู้ฟังเข้าใจถึงความชั่วร้าย คดโกง ขาดความน่าเชื่อถือไว้วางใจ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326”



 

-----------------------
ตามกฎหมายเรื่องพยานหลักฐานนั้น ให้รับฟังพยานวัตถุ พยานเอกสาร หรือพยานบุคคล ซึ่งน่าจะพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมีผิดหรือบริสุทธิ์ “ให้อ้าง” เป็นพยานหลักฐานได้ แต่ต้องเป็นพยานชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น และ “ให้สืบ” ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยาน และในการใช้ดุลพินิจรับฟังพยานหลักฐานตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลพิจารณาถึงพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ด้วย

(1) คุณค่าในเชิงพิสูจน์ ความสำคัญ และความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น

(2) พฤติการณ์และความร้ายแรงของความผิดในคดี

(3) ลักษณะและความเสียหายที่เกิดจากการกระทำโดยมิชอบ

(4) ผู้ที่กระทำการโดยมิชอบอันเป็นเหตุให้ได้พยานหลักฐานมานั้นได้รับการลงโทษหรือไม่เพียงใด

          ดังนั้น พยานหลักฐานต่าง ๆ จึงมีคุณค่าในตัวของพยานหลักฐานนั้น ๆ เอง หากสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยหรือผู้ที่ถูกกล่าวหากระทำความผิดได้ การที่คุณประสงค์จะให้ผู้ที่ทำให้คุณเสียหายได้รับโทษตามกฎหมาย คุณก็แจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ส่วนเรื่องที่ผู้กระทำความผิดจะได้รับโทษตามกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องของการรวบรวมพยานหลักฐาน และศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยครับ

           ส่วนตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่วินิจฉัยว่าเทปบันทึกเสียงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ เช่น ฎ.1123/2509 (ป.) รับฟังได้ แม้เป็นการบันทึกเทปในการสนทนาทางโทรศัพท์กับจำเลยก็รับฟังได้

และฎ.4674/2543 การที่จำเลยอ้างส่ง เทปบันทึกเสียงซึ่งบันทึกการสนทนาระหว่างโจทก์ และจำเลย พร้อมเอกสารที่ถอดข้อความบันทึกการสนทนาเป็นพยานหลักฐานนั้น นับเป็นพยานหลักฐานซึ่งเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยจะนำสืบในประเด็นเรื่องการใช้เงิน แม้โจทก์จะไม่ทราบว่า มีการบันทึกเสียงไว้ก็ตาม แต่เมื่อเสียงที่ปรากฏเป็นเสียงของโจทก์จริง และการบันทึกเสียงดังกล่าวเกิดจากการกระทำของจำเลย ซึ่งเป็นคู่สนทนาอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นผู้บันทึกเสียงไว้เอง ซึ่งโดยปกติจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะเบิกความอ้างถึงการสนทนาในครั้งนั้นได้อยู่แล้ว จึงไม่ถือว่าเทปบันทึกเสียงและเอกสารที่ถอดข้อความนั้น เป็นการบันทึกถ้อยคำ ซึ่งเกิดจากการกระทำโดยมิชอบ อันจะต้องห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 243 วรรคสอง
ความผิดฐานหมิ่นประมาทเป็นความผิดอันยอมความกันได้ ซึ่งความผิดฐานหมิ่นประมาทมีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี แต่ถ้ากระทำด้วยการโฆษณา มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสองปี อายุความสำหรับคดีประเภทนี้มี 2 ประเภท กล่าวคือ 

          1. ความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นอันขาดอายุความ 

          2. เมื่อได้ร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนแล้ว ถ้าไม่ได้ฟ้อง และได้ตัวผู้กระทำผิดมาศาล ภายในกำหนด 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่าหนึ่งปีถึงเจ็ดปี (หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี) นับแต่กระทำความผิด คดีเป็นอันขาดอายุความครับ

ตอบคำถามคุณคนพลาดพลั้งดังนี้ครับ

            ลักษณะความผิดฐานหมิ่นประมาท 
เป็นอย่างไร


                 หมิ่นประมาท คือ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื้นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง

                คำว่า ใส่ความหมายถึงการยืนยันข้อเท็จจริง  หรือกล่าวยืนยันความจริง  หรือความเท็จ หรือเอาเรื่องไม่จริงไปแต่งความใส่ร้าย  หรือเอาเรื่องจริงไปกล่าว ก็เป็นความผิด เรียกว่า ยิ่งจริงยิ่งหมิ่นประมาท  หรือแม้แต่การเล่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังมาไปพูดให้บุคคลอื่นฟังก็เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทได้  สำหรับข้อความจะเป็นหมิ่นประมาทหรือไม่ ต้องพิจารณาตามความรู้สึกของวิญญูชนทั่ว ๆ ไป มิใช่พิจารณาถึงความรู้สึกของผู้ถูกหมิ่นประมาทแต่ฝ่ายเดียว

              ส่วนการกล่าวข้อความที่ไม่ได้ระบุชื่อผู้อื่นที่จะเป็นความผิดนั้นจะต้องได้ความว่าการใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่าเป็นใคร หรือหากไม่ระบุถึงผู้ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็ต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ ดังนั้น การกล่าวถึงผู้หนึ่งผู้ใดในกลุ่มบุคคลโดยไม่ได้เจาะจงว่าหมายถึงผู้ใดโดยเฉพาะ และถ้อยคำที่กล่าวไม่อาจเข้าใจได้ว่าหมายถึงผู้ใด จึงไม่เป็นหมิ่นประมาท

     
         ส่วนข้อเท็จจริงที่จะเป็นหมิ่นประมาท  หรือการใส่ความนั้นพอจะสรุปตามแนวคำวินิจฉัยศาลฎีกาได้ดังนี้  - ต้องไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่เป็นคำหยาบ  หรือเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นไปไม่ได้          - ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่แน่นอน  ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่คลุมเครือ หรือเลื่อนลอยหรือกล่าวด้วยความน้อยใจ         - ข้อเท็จจริงที่กล่าวนั้น  ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ยืนยันในอดีตหรือปัจจุบันไม่ใช่เพียงการคาดคะเน  หรือกล่าวถึงเหตุการณ์ในอนาคต  แต่กรณีแสดงความคิดเห็นบางอย่างแม้จะเป็นการแสดงความคิดเห็นในอนาคต  แต่หากฟังแล้วทำให้เข้าใจว่าในปัจจุบันเป็นเช่นไร  ก็ย่อมเป็นหมิ่นประมาทได้

            ข้อความที่จะเป็นการจะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องเป็นข้อความที่ทำให้เขาเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง   อาทิเช่น เป็นการใส่ความเกี่ยวกับความประพฤติ, เป็นการใส่ความเกี่ยวกับเรื่องประเวณี หรือการอันไม่สมควรทางเพศ, เป็นการใส่ความเกี่ยวกับหน้าที่การงาน หรือเป็นการกล่าวถึงความไม่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ   ทางการเงิน เป็นต้น

          ในส่วนของคำถามคุณคนพลาดพลั้งว่าจะมีความผิดฐานหมิ่นประมาทหรือไม่ ผมไม่อาจตอบได้เพราะไม่เห็นข้อความที่คุณเขียน จึงวินิจฉัยไม่ได้ และคำถามที่ว่าคดีหมิ่นประมาทมีโทษอย่างไรบ้าง ก็สามารถอ่านได้จากหัวข้อนี้ครับ ส่วนศาลจะพิพากษาลงโทษเท่าใด หรือจะถูกจำคุกหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศาล พฤติการณ์แห่งคดีและความร้ายแรงแห่งความผิดครับ
----------------------------------------------
หมวดความผิดฐานหมิ่นประมาท
               มาตรา 326 ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะ ทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
                หมายเหตุ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535

                มาตรา 327 ผู้ใดใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่สามและการใส่ความนั้น น่าจะเป็นเหตุให้ บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 326 นั้น

                มาตรา 328 ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณา ด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินสองปีและปรับไม่เกินสองแสนบาท
                หมายเหตุ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535

                มาตรา 329 ผู้ใดแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต
                (1) เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม
                (2) ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
                (3) ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัย ของประชาชนย่อมกระทำ หรือ
                (4) ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรม เรื่องการดำเนินการอันเปิด เผยในศาลหรือในการประชุม
ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

                มาตรา 330 ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

                มาตรา 331 คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ ซึ่งแสดงความคิด เห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาล เพื่อประโยชน์แก่คดี ของตน ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท
                มาตรา 332 ในคดีหมิ่นประมาทซึ่งมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความ ผิด ศาลอาจสั่ง
                (1) ให้ยึด และทำลายวัตถุหรือส่วนของวัตถุที่มีข้อความหมิ่นประมาท
                (2) ให้โฆษณาคำพิพากษาทั้งหมด หรือแต่บางส่วนในหนังสือ พิมพ์หนึ่งฉบับหรือหลายฉบับครั้งเดียวหรือหลายครั้งโดยให้จำเลย เป็นผู้ชำระค่าโฆษณา

                มาตรา 333 ความผิดในหมวดนี้เป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
----------------------------
           เรื่องที่ 1  ความผิดฐานหมิ่นประมาท                    ตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 326   ระบุถึงการกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทไว้ว่า    “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการ ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียงถูก ดูหมิ่น   หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”  การหมิ่นประมาท ที่จะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญานั้นจะต้องมีการกระทำ ที่สำคัญ คือ“ใส่ความ
            ความหมายที่ได้บัญญัติไว้   โดยพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2493ให้ความหมายไว้ว่า พูดหาเหตุหรือกล่าวหาเรื่องร้ายให้ผู้อื่นได้รับ ความเสียหาย
            ตามความหมายที่ชาวบ้านธรรมดาเข้าใจกันก็คือการใส่ความแก่กัน ว่าใส่ร้ายหรือแสดงข้อความที่ไม่เป็นความจริง
            แต่ข้อเท็จจริงตามกฏหมายข้อความที่กล่าวแก่บุคคลอื่นนั้นแม้ที่กล่าว ออกไปนั้นเป็นความจริงก็ผิดกฎหมายมีโทษได้             การใส่ความในกฎหมายนั้นมิได้จำกัดแต่ว่าเอาเรื่องไม่จริง ไปแต่งความใส่ร้ายเขาแต่มุ่งการเอาข้อความไปว่ากล่าวเขาต้องเป็นการยืนยัน ข้อเท็จจริงว่าเป็นข้อความแน่นอนเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงด้วยประการ ต่าง ๆ   เช่น             ดำบอกแดงว่า มีข่าวลือว่าขาวเป็นชู้กับเมียนายเขียวแม้ดำจะเชื่อว่า ไม่จริงหรือเป็นความจริงก็ตามดำก็ผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว
            การหมิ่นประมาทต้องเป็นการกล่าว“ใส่ความ” “ผู้อื่น” ต่อ “บุคคลที่สาม”   ต้องมีบุคคลสามฝ่าย คือ             1. ผู้กล่าว         2. ผู้อื่น         3. บุคคลที่สาม เช่น             ดำบอกแดงว่า แดงขโมยของเขียวไม่ผิดฐานหมิ่นประมาทเพราะไม่มี บุคคลที่สาม แต่ถ้าดำบอกเหลืองว่า แดงขโมยของเขียวดำผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว เพราะเหลืองเป็นบุคคลที่สาม
            เมื่อมีการกล่าว การใส่ความบุคคลที่สามแล้ว ประการสุดท้ายที่จะ เป็นผิดฐานหมิ่นประมาทได้นั้นการใส่ความต้องทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียหาย ไม่ว่าจะเสียหายในชื่อเสียงถูกคนอื่นดูหมิ่นถูกเกลียดชังก็ได้
สรุปก็คือจะเป็นผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องมีการกระทำดังนี้          1. ใส่ความผู้อื่น          2. ต่อบุคคลที่สาม          3. ทำให้ผู้อื่นเสียหายในชื่อเสียงถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง             การใส่ความต้องมีผู้เสียหาย คือผู้ถูกใส่ความซึ่งตามหลักเกณฑ์ ทางกฏหมายคือผู้อื่น             ผู้อื่นนั้นต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลก็ได้
นิติบุคคลคือ บุคคลตามกฏหมาย เช่น บริษัทห้างหุ้นส่วนจำกัดวัดเป็นต้น             บุคคลผู้ถูกหมิ่นประมาทถ้าเป็นคนธรรมดา ต้องเป็นผู้มีชีวิตอยู่ แต่ถ้าตายไปแล้วก็ผิดกฏหมายได้จะได้กล่าวในลำดับต่อไป             บุคคลที่ถูกดูหมิ่นประมาทต้องมีตัวตนระบุไว้แน่นอนว่าเป็นใคร กลุ่มใด สามารถกำหนดตัวตนได้เป็นที่แน่นอน             ถ้ากล่าวกว้างเกินไปก็ไม่สามารเอาผิดฐานหมิ่นประมาทได้ เช่น หมิ่นประมาทคนนครปฐม คนราชบุรีเป็นการระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ไม่เป็นผิด
ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา          - การเขียนข้อความหมิ่นประมาทกำนันและปลัดอำเภอโดยไม่ระบุชื่อ ผู้อ่านบางคนรู้ว่าหมายความถึง บ.กำนันคนปัจจุบัน   และ ป. ปลัดอำเภอ คนหนึ่งที่เกี่ยวข้องเรื่องนั้น ปลัดอำเภออีก 4 คน ไม่เกี่ยว ก็เป็น หมิ่นประมาท บ. และ ป. ไม่จำเป็นที่ผู้อ่านบางคนจะต้องรู้ว่าหมายความถึง บ.และ ป.         -  ออกชื่อบุคคลในหนังสือพิมพ์ตอนแรกแต่ไม่ออกชื่อในตอนหลังอาจอ่านประกอบกันเป็นหมิ่นประมาทบุคคลที่ออกชื่อในตอนแรกก็ได้          - กล่าวว่า แพทย์ชายใจทราม ในโรงพยาบาลศิริราชหมายความถึง แพทย์ชายคนหนึ่งมิได้หมายความถึงแพทย์ทุกคนไม่เป็นความผิดฐานนี้          - กล่าวถึงบุคคลในพรรคประชาธิปัตย์สมาชิกในพรรคคนหนึ่ง ฟ้องไม่ได้ ในเมื่อไม่มีอะไรแสดงว่ากล่าวถึงผู้นั้นโดยเฉพาะ          - กล่าวว่าเทศมนตรีทุจริตแต่ในระยะ 1 ปี มีเทศมนตรีเปลี่ยนกัน มาแล้ว  7 ชุดยังเข้าใจไม่ได้ว่า หมายความถึงเทศมนตรีชุดปัจจุบัน3 นาย          - กล่าวว่าราษฏรบ้านกราดที่อพยพมา ล้วนเป็นคอมมิวนิสต์ราษฏร มี 4,000 คนไม่เข้าใจว่า หมายความถึงโจทก์ไม่เป็นหมิ่นประมาท         แต่ถ้ากล่าวข้อความหมิ่นประมาทถึงแม้จะกล่าวถึงคนเป็นกลุ่มเป็นพวก ก็ตามถ้าสามารถเป็นที่เข้าใจได้ว่าหมายถึง คนในกลุ่มในพวกนั้นทุกคนก็เป็น หมิ่นประมาทได้แต่ต้องคำนึงถึงด้วยว่า คนในกลุ่มพวกดังกล่าวต้องมีจำนวน ไม่มากเกินไปถ้าจำนวนคนในกลุ่มพวกมีจำนวนมาก ๆ อาจทำให้เป็นที่เข้าใจ ได้ว่าไม่หมายความถึงทุกคนไม่ผิดฐานหมิ่นประมาทดังตัวอย่างตาม คำพิพากษาศาลฎีกาข้างต้น
 ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา          - พูดหมิ่นประมาท “พระวัดนี้” หมายความว่าพระทั้งวัดซึ่งมี 6 รูป          - กล่าวว่า “ทนายความเมืองร้อยเอ็ดเป็นนกสองหัว” ซึ่งมีทนายความอยู่ 10 คนการใส่ความดังกล่าวมาแล้วข้างต้น คือเป็นการแสดงข้อเท็จจริงอันหนึ่ง อันใดแม้เป็นความจริงก็ผิดได้          วิธีการใส่ความก็คือแสดงข้อความให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆอาจเป็น พูดอ่านเขียน วาดภาพ แสดงท่าทาง ภาษามือ ใช้เครื่องหมายสัญญลักษณ์
ตัวอย่าง      - ดำวาดภาพแสดงข้อความว่าแดงเป็นคนไม่ดีให้เขียวดูเป็นหมิ่นประมาท      - ดำหมิ่นประมาทแดงโดยใช้ภาษามือกับเขียว เป็นหมิ่นประมาท      - ดำส่งกระดาษที่มีข้อความหมิ่นประมาทเขียวให้แดงอ่าน เป็นหมิ่นประมาท หรืออาจเป็นการแสดงออกโดยปิดประกาศหรือส่งจดหมายพูดทางโทรศัพท์ ก็ได้         ข้อความที่ใส่ความนั้นต้องหมิ่นประมาทด้วยกล่าวคือโดยประการ ที่น่าจะทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังซึ่งลักษณะ ของการกระทำเป็นเพียง “น่าจะ”เท่านั้น ไม่ต้องให้ผู้รับฟัง หรือบุคคลที่สาม เกลียดชังผู้ถูกดูหมิ่นก็ใช้ได้ ถือว่าผิดกฏหมายแม้บุคคลที่สามจะไม่เชื่อข้อความ ก็ตามข้อความที่กล่าวจะผิดหรือไม่ ต้องพิจารณาทั้งหมดรวม ๆกันถ้ารวมกัน ทั้งหมดแล้ว เป็นหมิ่นประมาทก็ผิด ไม่ใช่พิจารณาตอนใดตอนหนึ่ง         แต่คำกล่าวข้อความตอนต้นเป็นหมิ่นประมาทแล้วแม้ตอนหลังจะไม่เป็น หมิ่นประมาทก็ผิด
ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา          - หนังสือพิมพ์ ลงข่าวอดีตกำนันถูกฟ้องศาลพิจารณาคดีขบถ แต่ลงรูปถ่ายและข้อความว่า “คนขายชาติอดีตกำนัน ย.”เมื่อถูกตีแผ่ เป็นลมกลางศาล   ข้อความตอนนี้แยกเป็นคนละตอนต่างหากจากตอนแรก เป็นถ้อยคำของหนังสือพิมพ์เองอธิบายภาพว่า ย. ขายชาติซึ่งความจริง ย. เพียงแต่ถูกฟ้องเป็นความผิดตามมาตรา 326          - กล่าวถึงผู้พิพากษาว่า "ถ้ามันจะกินไข่ของเขาเข้าไป” หมายความว่า ผู้พิพากษารับสินบนผิดฐานหมิ่นประมาท          - กล่าวว่า “นายกเทศมนตรีกินเนื้อ น. วันละ 8 กิโล” ผิดฐานหมิ่น ประมาท          - กล่าวว่า “คุณติดตะรางเรื่องอะไร” แสดงว่าต้องโทษจำคุกมาแล้ว ผิดฐานหมิ่นประมาท          -ข้อความในหนังสือพิมพ์ว่า “ท.เป็นสาวก้นแฉะ” บรรยายความในฟ้อง ด้วยว่าหมายความว่าชอบร่วมประเวณีกับชายทั่วไปจำเลยให้การรับสารภาพ เป็นหมิ่นประมาท          การกล่าวข้อความบางทีมองผิวเผินอาจเข้าใจได้ว่าผิดกฏหมาย ฐานหมิ่นประมาท แต่จริง ๆ แล้วไม่ผิด ต้องผิดเป็นเรื่อง ๆ ไป เช่นเป็นเพียง คำพูดไม่สุภาพเป็นคำกล่าวลอย ๆไม่ยืนยันข้อเท็จจริงพูดกล่าวในสิ่งที่ เป็นไปไม่ได้ คำด่าทั่วไปแม้เป็นไปในทางเสื่อมเสียทำให้ผู้ถูกด่าโกรธโมโห เจ็บใจไม่เป็นหมิ่นประมาทไม่ใช่ว่าถ้ามีการด่าก็ผิดฐานหมิ่นประมาท (แต่อาจผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าได้)
 ตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกา          - กล่าวว่าทำไม่ชอบด้วยศีลธรรมไม่เป็นหมิ่นประมาท          - ว่าประพฤติเลวทรามที่สุดทั้งการกระทำและคำพูด ไม่เป็นหมิ่นประมาท        
         - เป็นคนนิสัยไม่ดีมีความรู้สึกต่ำไม่เป็นหมิ่นประมาท          - อย่าเอาไม้ไปแหย่ขี้ เป็นแต่คำเปรียบเทียบไม่สุภาพ          - กล่าวข้อความว่า เป็นผีปอบ เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แม้คนบางกลุ่มจะ เชื่อแต่ต้องถือตามความเข้าใจของคนทั่วไปไม่เป็นหมิ่นประมาท              แต่หากกล่าวว่า “เวลาผัวไม่อยู่ มีชู้ตั้งร้อยอันพันอัน” หมายความว่า ประพฤติเลวทรามทางประเวณีไม่ใช่กรณีกล่าวในเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เป็นหมิ่นประมาท          - กล่าวว่า อ้ายเหี้ย อ้ายสัตว์อ้ายชาติหมา เป็นคำด่า หมายความว่า เลวทรามไม่ใช่ใส่ความหมิ่นประมาท          - กล่าวว่า พระเป็นจิ้งเหลืองคือสัตว์ห่มผ้าเหลือง เป็นดูหมิ่น ไม่ใช่หมิ่นประมาท            ถ้าคำด่ามีการหมิ่นประมาทรวมไปด้วยก็ผิดกฏหมายหมิ่น ประมาทได้ เช่น          - ป. ข. ก. ด่ากัน ง. พี่ ก. เข้าช่วยด่าป. ว่า “อีชาติดอกทองคบกับ พี่กูที่ปากสระลูกของมึงคนหนึ่งเป็นลูกของผัวกู”เป็นหมิ่นประมาท          - ล. ด่า ส. ว่า “อีส่องทำชู้กับผัวกู” พ่อแม่มันคบกับสัตว์กับหมา เป็นคำด่ามีข้อความหมิ่นประมาทรวมอยู่ด้วย          - ด่ากับคนหนึ่งแล้วเลยกล่าวไปถึงน้องของเขาว่ามีท้องรีดลูก เป็นหมิ่นประมาท          - ด่าว่า “อีดอกทอง อีหน้าด้านกะหรี่เถื่อน พวกมึง 3 คนแม่ลูกเป็น กะหรี่เถื่อน ให้เขาเอา 3 คน 50 บาทมีเงินก็เอาได้ไม่มีเงินก็เอาได้” เป็นหมิ่นประมาท          - มีคนบอก ส. ว่า พ. แอบดูเห็น ส.ร่วมประเวณีกับ ช.ส. ไปถาม พ. แล้วพูดโต้ตอบเถียงกันว่าเห็นจริงหรือไม่พ. พูดอีกว่ามึงเอากันจริง แล้ว ยังจะมาพาลหาเรื่องอีกดังนี้พ. ไม่เพียงแต่ตอบคำถามของ ส. แต่เมื่อเถียง กันแล้วยังยืนยันอีก เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท          - กล่าวในการทะเลาะโต้เถียงตอบโต้ย้อนซึ่งกันและกันไม่เป็นผู้เสียหาย ร้องทุกข์และฟ้องไม่ได้          การหมิ่นประมาท ต้องเป็นการใส่ความและมีพฤติกรรม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง           การเสียชื่อเสียง อาจหมายความว่าทำให้คนอื่นมองไปในทางไม่ดี ลดคุณค่า ความเชื่อถือ นับถือลง เช่น          - กล่าวว่า พระวัดนี้ดูหนัง เลวมากบ้าผู้หญิง ไม่มีศีล เป็นหมิ่นประมาท ทำให้ถูกดูหมิ่น   ถูกเกลียดชังเป็นความหมายตามธรรมดา ไม่ได้จำกัด แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างตามพิพากษาศาลฎีกา          - ด. กล่าวว่า ย.เป็นคนโกงเอาสัญญาปลอมมาฟ้อง จะต้องฟ้อง ย. ให้ติดคุก เป็นหมิ่นประมาท          - กล่าวว่า ง.ใช้คนไปลักเสาและเป็นคนทนสาบาน เป็นหมิ่น ประมาท          - กล่าวว่าผูเ้สียหายลักของจำเลยเป็นหมิ่นประมาท          - กล่าวว่าให้และรับสินบนเป็นหมิ่นประมาท          - ลงรูปถ่ายและข้อความหนังสือพิมพ์ ประกาศข้อหายักยอก ให้นำส่งสถานีตำรวจ แสดงว่าโจทก์ทุจริตจำเลยรู้ว่าโจทก์รับราชการ นำหมายจับจับได้แน่นอนการโฆษณาเป็นเรื่องส่วนตัวไม่เป็นประโยชน์แก่ ประชาชนแม้ตำรวจออกหมายจับตามที่จำเลยร้องทุกข์จริงก็เป็นผิดมาตรา 328          - ซ. ชี้หน้าช. ว่า คนชาติชั่ว หากินเท่าไรก็ไม่เจริญ โกงเอาทรัพย์สมบัติ เป็นหมิ่นประมาท          ข้อความบางข้อความเป็นการกล่าวลอย ๆไม่รุนแรง ไม่ทำให้ถูก
เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังก็ไม่เป็นหมิ่นประมาท
 ตัวอย่างตามคำพิากษาศาลฎีกา          - ช. นายอำเภอพูดว่า ง. ว่า,อีหน้าเลือดไม่ปรานีคนจน ไม่เป็น หมิ่นประมาท          - กล่าวเป็นคำถามว่า พ.ถูกเรียกชื่อพระราชทานคืนไม่ใช่หรือ ไม่เป็นคำใส่ร้ายไม่เข้าใจได้ว่า ประพฤติไม่ดีอย่างไรหรือทำชั่วร้าย อย่างไรไม่เป็นหมิ่นประมาท          - พูดว่าการกระทำขอ น. ไม่ชอบด้วยศีลธรรม ย่อมแล้วต่อการ กระทำนั้นหากไม่ระบุการกระทำเป็นการเลื่อนลอยไม่รู้ว่าชั่วอย่างไร ไม่เป็นหมิ่นประมาท          - ฟ้องบรรยายว่า ซ. กล่าวว่า ซ. ได้มอบเงินให้ ป. 150 บาทไปถวาย พระ แต่ความจริงไม่ได้มอบ ดังนี้เป็นแต่ซ. กล่าวเท็จไม่กล่าวหมิ่นประมาท ป.          - เขียนจดหมายถึง ก. กล่าวว่า ข.ประพฤติเลวทรามที่สุดทั้งการกระทำ และคำพูดไม่ได้หมายความว่า ข.ลักทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์์ไม่เป็นหมิ่นประมาท          - พระธุดงค์เข้าไปอยู่ในป่าเจ้าอาวาสไล่ชาวบ้านพอใจบ้างไม่พอใจบ้าง ล. กล่าวต่อหน้าประชาชนว่า “หลวงพ่อวัดนี้เอาประชาชนบังหน้าต่อต้านพระ ที่ป่าช้า” ไม่รุนแรงถึงเป็นหมิ่นประมาท          -  ลงหนังสือพิมพ์ว่า อ.ไม่มีชื่อในทำเนียบนักข่าวหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ถ้า อ.ไปอ้างที่ไหนว่า อ. เป็นนักข่าวให้แจ้งตำรวจจับได้เลยไม่เป็นหมิ่นประมาท
           ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่เป็นหมิ่นประมาท          - ลงข้อความในหนังสือพิมพ์ว่าไอ้เสี่ยวบ้ากาม หมายถึงโจทก์มักมาก ในวิสัยปุถุชนทั่วไป          - กล่าวหญิงมีสามีเป็นชู้กับชายอื่น          - กล่าวว่าพี่น้องร่วมบิดามารดาได้เสียกันจนมีครรภ์ต้องทำแท้ง          - กล่าวว่า พี่หร่ำระวังลูกสาวจะท้องโตหมายความว่าลูกสาวคบชู้สู่ชาย          - กล่าวว่าข้าราชการหญิงเป็นกะหรี่ที่ดิน          - กล่าวว่ากำนันประพฤติตนไม่สมควรแก่หน้าที่ส่งเสริมลูกบ้านให้มีคดี อวดอ้างสนิทชิดชอบกับตุลาการและธุรการหลอกเอาเงินกินนอกกินเหนือ ทำให้ราษฎรเดือดร้อนอย่างแรง          - กล่าวว่ากำนันเกเร กำนันเกะกะกำนันเป็นผู้ร้าย          - ว่ากรมอากาศยานเสียดายเครื่องบินยิ่งกว่าชีวิตมนุษย์          - ว่าสมเด็จพระสังฆราชสั่งสึกพระ อ.ก่อกรรมแก่พวกสามเณรไม่รับ สามเณร ณ. ไว้ในอาวาสไม่รับที่ดินเป็นธรณีสงฆ์ประพฤติผิดหลักธรรม ผู้ใหญ่ ริษยา อาธรรม์ ถืออำนาจเป็นธรรมไม่ละอายแก่บาป          - ว่าพระจับมือ กอด เอาหญิงนั่งตัก          - ว่าผู้พิพากษากินเลี้ยงฉลองกับผู้ชนะคดีในเย็นวันที่ตอนตัดสินคดีนั้น หมายความในทำนองว่าพิพากษาคดีโดยไม่สุจริต          - ว่าปลัดอำเภอช่วยผู้ต้องหามิให้ต้องรับโทษ ขู่พยานไม่ให้ยันผู้ต้องหา          - ว่านายอำเภอเป็นเสือผู้หญิงไปตรวจราชการเที่ยวเอาผู้หญิงเป็นเมีย          - ว่าตำรวจจับในข้อหามีไม้ขีดไฟผิดกฎหมายควบคุมแล้วเรียกเอาเงิน          - ว่าตำรวจสอบสวนไม่ยุติธรรมจดคำพยานไม่ตรง          - กล่าวว่า ข. ซึ่งเป็นข้าราชการโกงบ้านโกงเมือง          - ผู้สมัครรับเลือกตั้งออกแถลงการณ์ว่าอีกฝ่ายหนึ่งเป็นนายก เทศมนตรี บริหารงานบกพร่องมากจนสมาชิกไม่สนับสนุนเทศมนตรี ลาออกฐานะการเงินทรุดหนักเป็นเลศนัยให้เข้าใจในทางอกุศล มีมูลเป็น หมิ่นประมาท          - ว่าโจทก์ไม่อุทิศเวลาให้แก่ราชการมาสายเป็นประจำไม่ทำตามคำสั่ง ผู้บังคับบัญชาทำให้ข้าราชการแตกความสามัคคี          - ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดประพฤติตนอย่างไร้ศีลธรรมมีส่วนพัวพันเป็น ผู้จ้างคนฆ่านักข่าวใช้อำนาจในทางที่ผิดเป็นหมิ่นประมาท          - ว่าหลบหนีเจ้าหนี้แสดงว่าตั้งใจบิดพริ้วไม่ชำระหนี้ เป็นหมิ่นประมาท          - เจ้าหนี้ปิดประกาศว่าแจ้งความให้พี่น้องทั้งหลายทราบล. ติด 53 สตางค์ ติด 1 ปี...ขอให้คิดว่าอาย ดังนี้อาจทำให้เข้าใจว่า ล. เป็นคนที่เชื่อถือ ไม่ได้แม้เป็นหนี้เล็กน้อยก็ปล่อยให้ค้างเป็นแรมปีเป็นหมิ่นประมาท          - หนังสือพิมพ์ลงข้อความว่า จ. ออกเช็คจ่ายเงิน 1 ล้านบาทไม่มีเงิน ธนาคารงดจ่ายเงิน จ. เป็นนายกเทศมนตรีและทำการค้าเป็นหมิ่นประมาท เป็นที่เข้าใจว่า จ. ฐานะการเงินไม่น่าเชื่อถือ
 ตัวอย่างที่ศาลได้เคยพิพากษาไว้ว่าไม่เป็นหมิ่นประมาท          - พูดว่า อ้ายครูชาติหมาสอนเด็กให้ต่อยกัน          - กล่าว่า ด ซึ่งเป็นครูประชาบาลเป็นคนนิสัยไม่ดี มีความรู้สึกต่ำ เป็นการเลื่อนลอยไม่ทำให้เข้าใจว่าไม่ดีหรือต่ำอย่างไร          - กล่าวว่า “ไอ้ทนายกระจอกทนายเฮงซวย” เป็นการพูดดูหมิ่น เหยียดหยามให้อับอายเจ็บใจ ไม่เป็นการใส่ความให้เสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่น
ไม่เป็นหมิ่นประมาท         - นายตำรวจกำลังเปรียบเทียบให้ ก. เสียค่าซ่อมรถที่ชนกัน ก.ว่า ผู้กองพูดอย่างนี้เอากฎหมายมาพูดไม่มีศีลธรรม          - บ.โกรธ ม.ผู้อำนวยการโรงพยายาลจึงว่าผู้อำนวยการคนนี้ ใครว่าดีเดี๋ยวนี้ดีแตกแล้วไปติดต่อคนไข้มาก็ไล่...ใจร้อยยังกับไฟ...ถึงเจ็บ ก็จะไม่มารักษาที่นี่”   เป็นคำกล่าวที่ไม่สมควร ขาดคารวะ          - กล่าวว่า  “นิคมเป็นตำรวจหมา ๆบ่รู้จักอีหยังฯ”เป็นถ้อยคำไม่สุภาพ แต่ไม่ถึงทำให้เข้าใจว่าเป็นตำรวจเลวหรือไม่รับผิดชอบไม่เป็นหมิ่นประมาท          - ผู้รับจำนองขอให้คนอื่นช่วยไกล่เกลี่ยให้ผู้จำนองไถ่จำนองเพื่อไม่ต้อง ฟ้องคดีแม้จะกล่าวว่าได้เตือนแต่เพิกเฉยไม่ชำระหนี้ไม่เป็นการใส่ความ          - ประกาศเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ปิดที่ร้านและบ้านลูกหนี้ ที่ตู้ยาม ตำรวจ เพราะไม่พบตัวลูกหนี้ส่งทางไปรษณีย์ก็ไม่มีคนรับ          - ประกาศว่าโจทก์พ้นจากตำแหน่งประธานชมรมร้านขายยาแล้ว ถ้าผู้นี้ไปแอบอ้างชื่อชมรมชมรมไม่รับผิดชอบ          - ลงหนังสือพิมพ์เป็นประกาศสำนักงานทนายความให้ลูกหนี้ใช้หนี้ ภายใน 7 วันนำสืบไม่ได้ว่าแกล้งโดยไม่สุจริต หลังจากทวงหลายครั้ง ยังเกี่ยวจำนวนหนี้กันอยู่เป็นการที่เจ้าหนี้มีสิทธิทำได้ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 284 ไม่เป็นหมิ่นประมาท
คัดลอกจาก...http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42025/section1.htm


               เรื่องที่ 2.1  หมิ่นประมาทคนตาย
      การหมิ่นประมาทต้องเป็นการหมิ่นประมาท “ผู้อื่น” ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มี ชีวิตอยู่จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้

       แต่กฎหมายยังได้บัญญัติกำหนดโทษผู้ที่ทำการหมิ่นประมาทคนตายไว้ด้วย คือต้องหมิ่นประมาทคนที่ตายไปแล้ว
       การหมิ่นประมาทคนตาย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา  327 บัญญัติ ไว้ว่า “ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามและการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้ บิดามารดา คู่สมรสหรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทต้องระวางโทษตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 326 นั้น”
        ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่จะเป็นผิดฐานหมิ่นประมาทคนตายนั้น จะมีหลักเกณฑ์เหมือนกับหมิ่นประมาทธรรมดาคือ
        เป็นการใส่ความผู้ตาย ต่อบุคคลที่สามแต่หลักเกณฑ์ที่จะทำให้การ หมิ่นประมาทคนตายเป็นการผิดกฎหมาย ก็คือ
       การใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา มารดาคู่สมรส หรือบุตรของ ผู้ตาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังไม่ใช่ว่าใส่ความผู้ตาย แล้ว น่าจะเป็นเหตุให้ผู้ตายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นถูกเกลียดชัง
       ผู้ตาย คือคนตายที่ไม่มีชีวิตต้องดูว่าขณะใส่ความหรือกล่าวหมิ่นประมาท นั้น คนที่ถูกใส่ความตายหรือยังที่เป็นเช่นนี้เพราะมีผลทางกฎหมาย คือ ถ้าขณะใส่ความตายไปแล้ว แต่ผู้ตายไม่มีบิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตร ก็จะเอาผิดแก่ผู้ใส่ความไม่ได้

 กฎหมายกำหนดตัวบุคคลที่เป็นผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาท คนตายไว้ดังนี้
      บิดา  ต้องเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย คือต้องจดทะเบียนสมรสกับมารดา
      มารดา  คือเป็นแม่ นั่นเอง  แต่ไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรสกับพ่อ
      คู่สมรส  ต้องมีการจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายถ้าเพียงแต่ อยู่กินกันฉันสามีภรรยาแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็ไม่ถือเป็นผู้เสียหาย
      บุตร  ก็ต้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายถ้าผู้ตายเป็นบิดาบิดาก็ต้อง จดทะเบียนสมรสกับมารดาแต่ถ้าผู้ตายเป็นมารดามารดากับบุตรมีความ สัมพันธ์กันตามกฎหมายอย่างถูกต้องเสมอแม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับพ่อ
      กฎหมายกำหนดตัวบุคคลที่จะเป็นผู้เสียหายไว้เพียงเท่านี้บุคคลนอกเหนือ จากนี้ไม่ถือเป็นผู้เสียหาย  มิฉะนั้นการใส่ความผู้ที่ตายไปแล้วร้อยปีพันปีนั้น เป็นผิดหมด
      เช่นหมิ่นประมาทพระเจ้าเอกทัศน์หากใครพิสูจน์ได้ว่าเป็นลูกหลาน พระเจ้าเอกทัศน์ก็เอาผิดผู้หมิ่นประมาทได้ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง
      อย่างไรก็ตามถ้าผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาทตายเสียก่อนร้อง ทุกข์ให้บิดา มารดา คู่สมรสหรือบุตรผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็น ผู้เสียหายหมายความว่าถ้าได้มีการหมิ่นประมาทคนที่ยังมีชีวิตอยู่แต่คนที่ถูก หมิ่นประมาทได้ตายในเวลาต่อมาบุคคลดังกล่าวข้างต้นจะดำเนินต่อไปกับ ผู้หมิ่นประมาทได้ 
คัดลอกจาก... http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42025/section2-1.htm

      เรื่องที่ 3.1ข้อยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาท
 การกระทำผิดฐานหมิ่นประมาทกฎหมายมีข้อยกเว้น ดังนี้
  1. ข้อยกเว้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่  5พุทธศักราช  2538  มาตรา 131 และ 132ซึ่งมีใจความว่า      ในที่ประชุมวุฒิสภาก็ดีที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรก็ดี ที่ประชุมร่วมกันของ รัฐสภาก็ดี สมาชิกผู้ใดจะกล่าวถึงถ้อยคำใดๆในทางลบข้อเท็จจริง หรือแสดง ความคิดเห็นหรือออกเสียงลงคะแนน ย่อมเป็นเอกสิทธิ์โดยเด็ดขาดผู้ใดจะนำ ไปฟ้องร้องว่ากล่าวสมาชิกผู้นั้นในทางใดมิได้      เอกสิทธิ์ตามข้างต้นไม่คุ้มครองสมาชิกผู้กล่าวถ้อยคำในการประชุมที่มีการ ถ่ายทอดทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์หากถ้อยคำที่กล่าวในที่ประชุม ไปปรากฎนอกบริเวณรัฐสภาและการกล่าวถ้อยคำนั้นมีลักษณะเป็นความผิดทาง อาญาหรือละเมิดสิทธิในทางแพ่งต่อบุคคลอื่น      เอกสิทธิ์ข้างต้นย่อมคุ้มครองไปถึงผู้พิมพ์และโฆษณา รายงานการประชุม ตามข้อบังคับของรัฐสภา วุฒิสภาหรือสภาผู้แทนราษฎรแล้วแต่กรณีและ คุ้มครองไปถึงบุคคลซึ่งประธานในการที่ประชุมอนุญาตให้ลบข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็น ในที่ประชุมตลอดจนผู้ดำเนินการถ่ายทอดการประชุม สภาทางวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ที่ได้รับอนุญาตจากประธานแห่ง สภานั้นด้วยโดยอนุโลม       ข้อยกเว้นข้างต้นนี้เป็นข้อยกเว้นโดยเด็ดขาด ซึ่งหากมีการหมิ่นประมาท เกิดขึ้นในการประชุมสภา ก็ไม่ต้องรับผิดแต่อย่างไรก็ดีถ้ามีการ่ายทอดทางวิทยุ โทรทัศน์ ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นยังคงต้องรับผิดอยู่ เหตุผลเพราะบุคคลผู้ถูกหมิ่น ประมาทนั้นไม่สามารตอบได้หรือแก้ข้อกล่าวหาในที่ประชุมได้นั่นเอง
  2.  แสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริต       การแสดงความคิดเห็น หรือข้อความใด ๆถ้าได้กระทำโดยสุจริตแล้ว ก็จะไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทแม้จะเป็นการใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ทำให้ผู้ถูกใส่ความนั้นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือูกเกลียดชังก็ตาม       การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความนั้นต้องเป็นการกระทำโดยสุจริต หมายความว่าผู้กระทำกล่าวโดยเชื่อว่าเป็นความจริงโดยมีเหตุผลประกอบ ดังต่อไปนี้
      2.1  เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับ ตนตามคลองธรรม       2.2  ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่       2.3  ติชมด้วยความเป็นธรรม ซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยของ ประชาชนย่อมกระทำหรือ       2.4  ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผย ในศาลหรือในการประชุม
      ถ้าได้กระทำโดยสุจริตมีเหตุผลประการใดประการหนึ่งไม่มีความผิด ฐานหมิ่นประมาท       ถ้ากล่าวโดยรู้อยู่แล้วว่าไม่เป็นความจริงหรือเป็นเรื่องเท็จก็เป็นการ กระทำโดยไม่สุจริตยังคงมีความผิดฐานหมิ่นประมาท
      ตัวอย่างตามที่ศาลได้เคยพิพากษา       - บรรณาธิการเขียนข้อความลงหนังสือพิมพ์ว่าโจทก์โกงเพราะไม่พอใจ ที่โจทก์ขัดขืนไม่ยอมจ่ายเงินสวัสดิการของโรงพิมพ์ให้เป็นสาเหตุส่วนตัว ไม่ได้รับความคุ้มครองเป็นความผิด       - โจทก์ จำเลยสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกเทศบาลจำเลยพิมพ์ใบปลิว โฆษณาออกแจกจ่าย มีความว่าโจทก์ทำการค้ากับร้านสหกรณ์รับเหล้าและ บุหรี่ไปขายแล้วไม่นำเงินมาให้ร้านสหกรณ์และจ่ายเช็คไม่มีเงินให้จำเลยเข้า ไปรับงาน ผู้จัดการภายหลังรู้เรื่องขึ้นจึงมาฟ้องร้องดำเนินคดีเรียกเงินให้ร้าน สหกรณ์สำเร็จขณะนี้โจทก์ยังคงผ่อนชำระให้ร้านสหกรณ์ตามคำสั่งศาลอยู่ ดังนี้ ส่อให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าต้องการใส่ความโจทก์หาใช่เป็นการแสดง ความคิดเห็นโดยสุจริตไม่       - ส่งข่าวไปลงหนังสือพิมพ์เป็นข้อความยืนยันที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ร่วมให้ ประชาชนกู้เงินโดยวิธีการขูดรีดผู้กู้ ถึงขนาดทำให้เจ้าพนักงานของรัฐยึดเอา เอกสารไปทำการสอบสวนได้ความจริงตามที่ชาวบ้านร้องเรียนว่าโจทก์ร่วม เป็นนายทุนเงินกู้ขูดรีดชาวบ้านโดยไม่เป็นธรรมข้อความหมิ่นประมาท ดังกล่าวตัดสินว่าไม่ใช่ข้อความที่แสดงความคิดเห็นโดยบริสุทธิ์หรือไม่มี เจตนาร้ายต่อโจทก์ร่วม       - กล่าวถ้อยคำต่อลูกบ้านของโจทก์ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นคน ไม่ดีไม่มีศีลธรรมผู้ใหญ่บ้านหมา ๆ บ้า ๆฯลฯอย่างนี้ไม่ควรเป็นผู้ใหญ ่บ้านต่อไป เพราะราษฎรจะได้รับความเดือดร้อนแต่จำเลยมิได้อ้างถึง ข้อความจริงอันใดทำให้จำเลยแสดงความคิดเห็นเช่นนั้น ทั้งผู้ได้ยินได้ฟัง ก็มิได้รู้ถึงความจริงอันควรจะเชื่อหรือไม่ว่าเป็นดังที่จำเลยกล่าวแต่จำเลย ยืนยันข้อเท็จจริงให้ผู้ฟังเชื่อว่าโจทก์เป็นคนไม่ดี ไม่มีศีลธรรมและยังซ้ำเติม ถึงขนาดว่าไม่ควรเป็นผู้ใหญ่บ้านจึงไม่ใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือ ข้อความโดยสุจริต       -  หญิงอยู่ในความปกครองของจำเลยและได้เสียกับจำเลยต่อมาหญิง นั้นตามชายไป ชายที่พาหญิงนั้นไปให้คนไปบอกจำเลย จำเลยกล่าวว่าหญิงนั้น เป็นเมียจำเลยจำเลยไม่เอาความตัดสินว่า จำเลยกล่าวตามที่จำเลยรู้สึกซึ่งคิดเห็นโดยสุจริตไม่มีความผิด       นอกจากจะต้องเป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริตแล้วต้อง เป็นกรณีใด กรณีหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
      2.1  เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตน ตามคลองธรรม       เพื่อความชอบธรรม หมายความว่าเพื่อความถูกต้อง ไม่จำเป็นต้อง ถูกต้องตามกฎหมายแต่เป็นการถูกต้องในความคิดของคนทั่วๆ ไปก็เพียงพอ เพื่อป้องกันหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนหมายความว่าเพื่อป้องกันมิให้ ความเสื่อมเสียเกิดขึ้นแน่นอนจึงจำเป็นต้องตอบโต้
      ตัวอย่างที่ศาลเคยพิพากษาว่าไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท       -  พระ 11 รูป แสดงตนเป็นโจทก์ตามพระธรรมวินัย กล่าวโทษพระใน ที่ชุมนุมสงฆ์โดยสุจริตว่าเสพเมถุนกับหญิงโดยมีเหตุให้ผู้กล่าวเข้าใจว่าพระผู้ ถูกกล่าวหาทำความเสี่อมเสียที่วัดและพระในวัดเดียวกันได้รับยกเว้นความผิด       -  พ. ข้าราชการตำรวจถูกสอบสวนทางวินัย พ. ชี้แจงต่อกรรมการผู้ สอบสวนว่า ล. แบล็กเมล์ พ.ด้วยการกล่าวหานั้นเป็นการกล่าวโดยสุจริต ตามข้อยกเว้นนี้ แม้เป็นคำกล่าวยืนยัน       -  ผู้จัดการปิดประกาศไว้ที่แผ่นประกาศโฆษณาของบริษัทว่าโจทก็ได้ ถูกห้ามไม่ให้เข้ามาในบริษัทไม่ว่าเข้ามาติดต่อการงานใด ๆ เพราะโจทก์ซึ่ง เป็นอดีตผู้จัดการฝ่ายเคมีได้ทำผิดระเบียบทำให้บริษัทเสียหายเป็นการแสดง ข้อความโดยสุจริตป้องกันประโยชน์ของบริษัทโดยปรากฎว่าโจทก์ติดต่อให้ บริษัทที่โจทก์ไปทำงานใหม่ขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่แข่งของบริษัทจำเลย       -  ส. ผู้ใหญ่บ้านเรียกเงินจาก อ. อ.จึงพูดกับกำนันว่า ส. ไม่มีศีลธรรม ไม่ซื่อตรงจะกินเงินผมดังนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเพื่อความชอบ ธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนเองมาตรา 329       -  แพทย์ในโรงพยาบาลทำหนังสือร้องเรียนต่อผู้อำนวยการกองว่าผู้ อำนวยการโรงพยาบาลรับสินบนและบกพร่องทางศีลธรรมทางชู้สาวผิดวินัย อาจทำให้ราชการเสียหายกระทำโดยสุจริตจากฐานความจริงและพฤติการณ์ของโจทก์ทำให้จำเลยเข้าใจเช่นนั้นเป็นการทำเพื่อความชอบธรรมป้องกันตามคลองธรรมและติชมตามปกติวิสัย        -  จำเลยเป็นภริยาอยู่กินกับ ท. มีบุตร 2 คนแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส ก.มีสัมพันธ์กับ ท. ในทำนองชู้สาว จำเลยพูดกับ ก. ต่อหน้าคนอื่นว่า “คุณเป็น ข้าราชการจะแย่งผัวฉันดูซิว่าจะมีผิดไหม” โดยเป็นการพูดด้วยความหึง โดย สุจริตป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนด้วยความชอบธรรม       -  น. ลงประกาศหนังสือพิมพ์ว่า บริษัท ก. ข.และ ค. ผลิตรองเท้ายาง ละเมิดสิทธิ์เครื่องหมายการค้า ทำรองเท้ายางปลอมโดยใช้ตราดาวของ น. ประทับบนพื้นฐานรองเท้าหลอกลวงประชาชน น.ได้นำตำรวจจับดำเนินคดี แล้ว เป็นการตามความจริงเพื่อป้องกันประโยชน์ของ น.ได้รับยกเว้น       -  หนังสือพิมพ์ของโจทก์ลงรูปจำเลย ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง มหาดไทยรวมอยู่ในหมู่ผู้ร้ายทำให้คนเข้าใจว่าจำเลยเป็นคนประเภทเดียวกัน จำเลยจึงกล่าวในการให้สัมภาษณ์ว่าบรรณาธิการทำอย่างนั้นจิตใจเลวทรามต่ำ ช้ามาก ไอ้คนปัญญาทรามเป็นการป้องกันส่วนได้เสียโดยสุจริตตามคลองธรรม       -  ป. ทนายความ ช.ผู้จัดการแผนกเช่าซื้อเรื่องรถยนต์ที่ลูกความของ ป. เช่าซื้อ ช. กล่าวว่า ป.เป็นทนายความไม่รีบรักษาประโยชน์ของลูกความจะโทษ ช. ไม่ได้เป็นการกล่าวในหน้าที่การงานเพื่อความชอบธรรมป้องกันตน       -  พฤติกรรมของโจทก์ซึ่งเป็นนายตำรวจทำให้จำเลยเข้าใจว่าจะให้บุตร จำเลยยอมรับค่าทำขวัญในคดีที่บุตรสะใภ้จำเลยถูกฆ่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม จำเลยจึงเล่าเรื่องให้คนเขียนข่าวหนังสือพิมพ์ทราบจำเลยไม่มีความผิด       -  มีผู้บอกเล่าจำเลยว่า โจทก์กับพวกว่าจ้างให้เขามาฆ่าจำเลยแต่ไม่ให้ ค่าจ้างล่วงหน้าจึงโกรธ เลยมาเล่าเรื่องให้จำเลยฟังจำเลยจึงไปแจ้งความตำรวจ เป็นการกระทำตามกฎหมายเพื่อให้เจ้าพนักงานสืบสวนจับกุมโจทก์กับพวกดำเนินคดีและเพื่อขอให้ตำรวจช่วยคุ้มครองความปลอดภัยแก่ตัวจำเลยไม่มีความผิด
      ตัวอย่างคำพิพากษาศาลแสดงว่าไม่เป็นการกล่าวข้อความโดยสุจริตเพื่อ ความชอบธรรมหรือป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรม       - โจทก์เป็นทนายความของ อ. ในคดีที่ อ. ฟ้องส. เรื่องเช็คไม่มีเงิน จำเลย อ้างว่าเป็นเจ้าหนี้ ส. พูดกับ อ. ว่า ทนายของ อ. คือ โจทก์เอาเงินของ ส.มาแล้วไม่เอามาให้ อ.จึงตกลงเลิกคดีกันไม่ได้ ดังนี้ไม่เป็นการแสดงความชอบธรรมป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับงาน       - ทนายความของ จ. กล่าวว่า ย.เป็นคนโกงเอาสัญญาปลอมมาฟ้อง จ. จะต้องฟ้อง ย. ให้ติดคุกเป็นคำยืนยันไม่ใช่แสดงความคิดเห็นไม่เข้าข้อยกเว้น       - ดำสงสัยว่า แดงลักทรัพย์จึงแจ้งความต่อตำรวจและปรึกษาทนายความ แล้วเที่ยวพูดอยู่ร่ำไปว่าแดงลักทรัพย์เป็นความผิดไม่ต้องด้วยข้อยกเว้น       - เขียนจดหมายถึงคนหลายคนว่าหญิงที่จะแต่งงานกับผู้อื่นได้เสียกับตน และชายอื่นไม่ได้รับการยกเว้นตามนี้       - สามี ข. ไปดูภาพยนตร์กับ ส. รุ่งขึ้น ช.บอกมารดาและป้าของ ส. ว่า ส. ได้เสียกับ ช. ที่ใต้ต้นลำพู และใต้ถุนบ้านไม่ได้รับยกเว้น       - ด.ให้หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่า จำเลยแจ้งความเท็จว่า อ.ลักทรัพย์ ความจริง อ. ไม่ต้องรับผิดในหนี้ร่วมกับจำเลยจำเลยลงหนังสือพิมพ์ว่า ด. เป็นเมียจำเลย ทำให้สามี ด. เข้าใจผิดไม่เป็นข้อแก้ตัว
      2.2 ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติการตามหน้าที่       - การที่จะเข้าหลักเกณฑ์ข้อนี้ต้องเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายหากไม่ใช่ เจ้าพนักงาน เช่นผู้จัดการธนาคารย่อมจะใช้สิทธิตามข้อนี้ไม่ได้
      ตัวอย่างที่ศาลเคยพิพากษา       - สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจอำเภอกล่าวในที่ประชุมราชการอำเภอประจำ เดือนว่า โจทก์ตั้งบ่อนการพนันเลี้ยงโจร ขอให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านสอดส่องเป็น การกล่าวตามหน้าที่ราชการไม่ผิด       - ผู้ว่าการท่าอากาศยาน ตอบหนังสือกองทัพอากาศว่าโจทก์ถูกปลดเพราะต้องหาว่าลักทรัพย์ของการท่าอากาศยานเป็นการแสดงข้อเท็จจริงโดยสุจริตของเจ้าพนักงานตามหน้าที่ไม่ผิด
      - ข้าราชการที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชากันตามสายงานทำหนังสือกล่าวโทษต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดส่งสำเนาไปยังปลัดกระทรวงไม่ใช้เจ้าพนักงานปฏิบัติการ ตามหน้าที่         2.3 ติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใดอันเป็นวิสัยประชาชน ย่อมกระทำหมายความว่าเป็นการกล่าวโดยผู้พูดเข้าใจว่าถูกต้องและสมควร ตามความรู้สึกของคนทั่วไปแต่ต้องไม่ใช่แกล้งกล่าวบิดเบือนเสียดสียั่วยุ       - ที่ว่าอันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำหมายความว่าเป็นเรื่องที่ ประชาชนสนใจและสมควรวิจารณ์ได้
      ตัวอย่างที่ศาลเคยพิพากษา       - คฤหัสถ์กล่าวในที่ประชุมสงฆ์และคฤหัสถ์ก็ว่า พระ ช.จับข้อมือ ง. กอดขึ้นนั่งบนตัก กล่าวทำนองประจาน ไม่สุจริตไม่เป็นข้อแก้ตัว       - พระธุดงค์เข้าไปอยู่ในป่าช้า เจ้าอาวาสไล่ราษฎรพอใจบ้างไม่พอใจบ้าง ล.กล่าวต่อหน้าประชาชนว่า หลวงพ่อวัดนี้เอาประชาชนบังหน้าต่อต้านพระที่ ป่าช้า ล.กล่าวตามความคิดของตน ในพฤติการณ์ที่ประชาชนรู้กันทั่วไป ไม่ใช่ เรื่องส่วนตัวประชาชนมีสิทธิแสดงความคิดเห็นได้ ถ้อยคำไม่รุนแรงเป็นการติ ชมด้วยความเป็นธรรมตามวิสัยของประชาชนไม่ผิดหมิ่นประมาท       - แจกใบปลิวในการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลกล่าวถึงคู่แข่งขัน ว่าค้ากับสหกรณ์รับของไปขายแล้วไม่ใช้ราคาออกเช็คไม่มีเงินในธนาคารถูกฟ้องศาลตัดสินให้ใช้เงินยังผ่อนใช้ไม่หมดไม่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต       - ส. เป็นครูใหญ่โรงเรียนประชาบาล กรรมการหมู่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่ บ้านค.เป็นนายอำเภอผู้บังคับบัญชาของ ส.ส. พูดที่ร้านด้วยจึงพูดว่า ผมทำ อะไรให้คุณ ส. ตอบว่าเพราะค.ไม่เป็นประชาธิปไตยบังคับผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ลงคะแนนเลือกตั้งคนที่ตัวชอบถ้าไม่เลือกก็ไม่ขึ้นเงินเดือนให้ ไม่ทำตามที่ พูดไม่ขาวสะอาดซึ่งข้อความเหล่านี้เป็นจริงตามที่ ส.กล่าวเพราะ ค.ว่าจะสั่ง ปูนซิเมนต์มาให้ใช้ในการทำทำนบแล้วไม่สั่งมากลับเอาเงินไปใช้การอย่างอื่น ซึ่ง ส. ไม่รู้เป็นการกล่าวโดยสุจริตอันเป็นการติชมตามวิสัยของประชาชน ตามมาตรานี้       - ในคราวประสบวาตภัย ราษฎรได้รับแจกผ้า บกพร่องไม่เรียบร้อย ร. จึง พูดว่า “ไม่ยุติธรรม” แล้วไปร้องเรียนต่อนายอำเภอและเล่าแก่บรรณาธิการ ซึ่ง ได้นำไปลงหนังสือพิมพ์วินิจฉัยว่ามีเหตุให้ราษฎรธรรมดาคิดว่าผู้แจกผ้ากระทำ การโดยไม่เป็นธรรมจึงเล่าเรื่องแก่บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ตามเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นการติชม ด้วยความเป็นธรรมตามวิสัยของประชาชนไม่เป็นความผิดตาม มาตรานี้       - จำเลยเกิดความเข้าใจผิดกับโจทก์ซึ่งเป็นนายตำรวจ พูดรุนแรงกับจำเลย จำเลยส่งข้อความไปลงหนังสือพิมพ์ถึงอธิบดีกรมตำรวจเพื่อความชอบธรรมได้ ข้อความที่กล่าวของรัฐบาลให้ผู้ใหญ่ตักเตือนให้ตำรวจสุภาพเข้ากับประชาชนได้เป็นการติชมด้วยความเป็นธรรมดาตามมาตรานี้       - หนังสือพิมพ์ลงข้อความว่าโจทก์เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดประพฤติตน เป็นคนไร้ศีลธรรมมีส่วนพัวพันจ้างคนฆ่านักข่าวใช้อำนาจในทางที่ผิดคือไม่ได้ ว่ากล่าวติชมด้วยความเป็นธรรมตามวิสัยหนังสือพิมพ์ พึงกระทำ
      2.4 ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการอันเปิดเผยใน ศาลหรือในการประชุม หมายความว่าแจ้งเรื่องราวที่เกิดขึ้นในศาลหรือในการ ประชุมแต่ทั้งนี้ต้องเป็นไปด้วยความเป็นธรรมจึงจะไม่ผิดฐานหมิ่นประมาท       ตัวอย่างเช่น       -  หนังสือพิมพ์ลงข่าวแถลงของนายกเทศมนตรีต่อที่ประชุมเทศบาล อันเป็นเรื่องการอันเปิดเผยในการประชุมโดยสุจริตและด้วยความเป็นธรรม ไม่เป็นผิดฐานหมิ่นประมาทตามมาตรา 369
  3.  คู่ความหรือทนายความของคู่ความซึ่งแสดงความคิดเห็นหรือข้อความในกระบวนพิจารณาของศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตนไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท       ศาล หมายความถึง ศาลยุติธรรมที่พิจารณาคดี       คู่ความ คือ โจทก์หรือจำเลยในคดี       ทนายความ คือ ผู้ที่เป็นทนายความในคดี       กระบวนพิจารณาคดี หมายถึง การกระทำในศาล ซึ่งเกี่ยวด้วยคดี ซึ่ง ได้กระทำไปโดยคู่ความ ศาล หรือทนายความ การแสดงความคิดเห็นที่จะ ไม่เป็นฐานะหมิ่นประมาท ในข้อนี้ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ในคดีต้องเกี่ยว ด้วยประเด็นที่จะพิจารณาคดีว่านอกเรื่องหรือเป็นเรื่องอื่นก็ผิดฐานหมิ่นประมาท       ตัวอย่างเช่น       - ทนายความซักค้านพยาน ถามพยานซึ่งเป็นหญิงเมื่ออัยการตามประเด็น ไปสืบว่าได้นอนมุ้งเดียวกับพยานใช่ไหมเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชั่งน้ำหนักคำพยาน ไม่มีความผิด       - โจทก์ฟ้องหย่าสามีกล่าวในคำฟ้องว่าสามีเลี้ยง ก. เป็นภรรยาไม่เป็น หมิ่นประมาท ก.

คัดลอกจาก... http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42025/section3-1.htm
http://www.franchisecb.com/customize-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97-2542-1.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น