http://www.pharmyaring.com/qareply.php?id=831
DMPA หรือ depot medroxyprogesterone acetate จัดเป็นยาคุมกำเนิดชนิด progestogen-only injectables (POIs)
ในแนวทาง SELECTED PRACTICE RECOMMENDATIONS FOR CONTRACEPTIVE USE Second edition, 2004 โดย Department of Reproductive Health and Research Family and Community Health World Health Organization, Geneva, 2004 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการ start และการ repeat ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ดังนี้
การเริ่มต้นฉีดยา :
1) กรณีมีประจำเดือน : สามารถฉีดยาคุมชนิดนี้ได้ภายใน 7 วันแรกหลังจากมีประจำเดือนวันแรก โดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการอื่นในการคุมกำเนิดร่วมด้วย หรือสามารถเริ่มวันไหนก็ได้หลังจากประจำเดือนวันแรกเกินกว่า 7 วันแล้ว (ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์) แต่จำเป็นต้องงดการมีเพศสัมพันธ์หรือคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยอย่างน้อย 7 วัน
2) กรณีไม่มาประจำเดือน : สามารถเริ่มต้นฉีดยาคุมกำเนิดเข็มแรกเมื่อใดก็ได้ (ถ้าแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์) และจำเป็นต้องงดการมีเพศสัมพันธ์หรือคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยอย่างน้อย 7 วัน
3) หลังคลอด 6 สัปดาห์ - 6 เดือน ให้นมบุตร และยังไม่มาประจำเดือน : สามารถเริ่มต้นฉีดยาคุมวันไหนก็ได้ และหากมีการาให้นมบุตรเต็มที่ ไม่จำเป็นต้องมีการคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย
4) หลังคลอด 6 สัปดาห์ – 6 เดือน ให้นมบุตร แต่มีรอบเดือนแล้ว : ให้ดูคำแนะนำในข้อ 1) (กรณีมีประจำเดือน)
5) หลังคลอด แต่ไม่ได้ให้นมบุตร และระยะเวลาน้อยกว่า 21 วันหลังคลอด : ฉีดยาคุมได้ any time โดยไม่จำเป็นต้องคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย (โอกาสตกไข่หรือตั้งครรภ์หลังคลอดภายใน 21 วัน มีน้อยมาก)
6) หลังคลอด แต่ไม่ได้ให้นมบุตร ระยะมากกว่าหรือเท่ากับ 21 วันหลังคลอด และประจำเดือนยังไม่มา : สามารถฉีดยาคุมครั้งแรกช่วงใดก็ได้ (หากแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์) และจำเป็นต้องงดมีเพศสัมพันธ์ หรือคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย 7 วัน
7) หลังคลอด แต่ไม่ได้ให้นมบุตร และมาประจำเดือนแล้ว : ให้ดูคำแนะนำในข้อ 1) (กรณีมีประจำเดือน)
8) หลังแท้งบุตร : สามารถให้ first injection ได้ทันทีหลังแท้ง และไม่จำเป็นต้องคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย
การฉีดยาคุมซ้ำ (repeat injection) :
1) กรณี DMPA รอบการฉีดแต่ละครั้งห่างกัน 3 เดือน
2) สามารถฉีด DMPA ก่อนถึงกำหนดฉีดครั้งต่อไป (กรณีมาฉีดไม่ตรงนัด และมาเร็วกว่ากำหนดฉีดเดิม) ภายใน 2 สัปดาห์ได้
3) สามารถฉีด DMPA หลังจากกำหนดฉีดครั้งต่อไป (กรณีมาฉีดไม่ตรงนัด และมา late กว่านัดเดิม) สามารถให้ยาได้จนถึง 2 สัปดาห์หลังจากกำหนดเดิม โดยไม่จำเป็นต้องคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย และหากเลยกว่าระยะนี้ และแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ สามารถฉีดได้ แต่จำเป็นต้องงดการมีเพศสัมพันธ์หรือให้คุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วย 7 วัน
อย่างไรก็ตาม ในปี 2008 องค์การอนามัยโลกได้มีการ update เนื้อหาในกรณีมาฉีดยาไม่ตรงนัดและมา late กว่ากำหนดเดิม จากเดิมที่ให้ฉีดได้โดยไม่ต้องคุมวิธีอื่นร่วมด้วย (late ได้สูงสุด 2 สัปดาห์) เป็น late ได้สูงสุด 4 สัปดาห์ (เฉพาะ DMPA) โดยไม่จำเป็นต้องคุมวิธีอื่นร่วมด้วย
และหากนานกว่า 4 สัปดาห์ แล้ว จะฉีดยาได้ก็ต่อเมื่อแน่ใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์แล้วเท่านั้น โดยที่จำเป็นต้องงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์หรือคุมกำเนิดวิธีอื่นร่วมด้วยเป็นเวลา 7 วัน รวมทั้งอาจใช้ emergency contraception ได้
ทั้งนี้ เหตุผลที่ The Expert Working Group ขยายเวลาดังกล่าวนั้น เกิดจากได้พิจารณาแล้วพบว่า โอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการตกไข่ภายใน 4 สัปดาห์หลังครบกำหนดฉีด DMPA ซ้ำ มีน้อยมาก (The expert Working Group considered the risk of ovulation to be minimal within 4 weeks following the time for a repeat injection for DMPA (3 months))
แต่การขยายเวลาเป็น 4 สัปดาห์นี้ ไม่ได้หมายความว่า จะขยายระยะเวลาฉีด DMPA ซ้ำ ไปจนถึง 4 สัปดาห์ให้เป็นเรื่องปกติหรือทำได้เป็นปกติไม่ รอบการฉีด 3 เดือน ก็ยังต้องใช้อยู่ เพียงแต่กรณีมีการ late เกิดขึ้น อาจพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
Ref :
- SELECTED PRACTICE RECOMMENDATIONS FOR CONTRACEPTIVE USE Second edition, 2004 โดย Department of Reproductive Health and Research Family and Community Health World Health Organization, Geneva, 2004, http://whqlibdoc.who.int/publications/2004/9241562846.pdf
- SELECTEDPRACTICERECOMMENDATIONSFOR CONTRACEPTIVEUSE, 2008 update, http://whqlibdoc.who.int/hq/2008/WHO_RHR_08.17_eng.pdf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น