มัลเบอร์รี่ หรือ หม่อน ที่ได้รับความนิยมปลูกอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน มีด้วยกัน 2 ชนิด คือ “ไวท์มัลเบอร์รี่” หรือ MORUS MACROURA มีถิ่นกำเนิดจากประเทศ บังกลาเทศ ต้นสูง 2.5-3 เมตร ติดผลดก ผลมีขนาดใหญ่และยาวกว่าผลของหม่อนหรือ “มัลเบอร์รี่” พื้นเมืองอย่างชัดเจน ซึ่งผลอ่อน ของ “ไวท์มัลเบอร์รี่” เป็นสีเขียว รสชาติหวานเล็กน้อย ไม่เปรี้ยว ผลมีขนาดใหญ่คือ ยาว 8–10 ซม. เมื่อสุกเป็นสีขาวอมเหลือง รสชาติหวานจัดมีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นน้ำผึ้งรับประทานอร่อยมาก สามารถปลูกในบ้านเราได้ดี ปลูกลงกระถางติดผลได้ หากปลูกลงดินควรให้น้ำน้อยจะติดผลไม่ขาดต้น
อีกชนิดหนึ่ง คือ “มัลเบอร์รี่ลูกผสม” เคที 1 หรือ MORUS HYBRID นำเข้าจาก ประเทศไต้หวัน ปลูกเติบโตได้ดีในสภาพอากาศบ้านเรา เป็นพันธุ์ที่มีต้นแคระ สูงเต็มที่ไม่เกิน 1 เมตร แตกกิ่งก้านห้อยย้อยลง ผลมีความยาว 4–6 ซม. ผลเป็นสีแดงและแดงเข้ม เมื่อผลสุกเต็มที่จะเป็นสีดำ เหมือนกับสีของผลหม่อนหรือ “มัลเบอร์รี่” พันธุ์พื้นเมืองที่นิยมปลูกทั่วไป แต่ขนาดผลจะใหญ่และยาวกว่า รสชาติขณะผลสุกจะหวานสนิทไม่มีเปรี้ยวเจือปนเลย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว รับประทานอร่อยไม่แพ้ชนิดแรก ซึ่ง “มัลเบอร์รี่ลูกผสม” เคที 1 จะให้ผลผลิตสูง ติดผลดกสีสันสวยงามยิ่งนัก สามารถปลูกลงกระถางขนาดเล็กติดผลดกได้ ใบอ่อนเด็ดไปตากแห้งทำเป็นใบชาชงดื่ม มีกลิ่นหอมรสชาติดี เป็นที่นิยมทั่วไป จัดเป็นสายพันธุ์ที่ทนต่อโรคแมลงทุกชนิด “มัลเบอร์รี่” ทั้ง 2 ชนิด ถ้า ต้องการให้ติดผลทั้งปี ให้รูดใบแก่ทิ้ง เมื่อแตกใบใหม่จะมีดอกและติดผลทันที
ใครต้องการต้น “มัลเบอร์รี่” ทั้ง 2 ชนิด ติดต่อ “ร้านสวนสุโขทัย” โทร.08–9790–1057 หรือไปซื้อที่ งานเกษตรแฟร์ ม.เกษตรฯ บางเขน กทม. วันที่ 22–30 มี.ค.57 ที่ “ร้านสวนสุโขทัย” โซน เจ 204–207 และที่ตลาดนัดสวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ โครงการ 21 แผง “คุณพร้อม- พันธุ์” ราคาสอบถามกันเองครับ.
“นายเกษตร”
https://www.facebook.com/pages/DIY-Garden-%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2-10-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81/1431229423787066 พันธุืหิมาลายัน
การปลูกหม่อนให้มีผลรับประทานตลอดปี สามารถกระทำได้แต่ต้องเอาใจใส่ ทำการบังคับหรือเร่งให้ต้นหม่อนให้ผลิดอกออกผลนอกฤดูกาลหมุนเวียนกันตลอดปี แค่นี้เราก็มีผลหม่อนสดให้ลิ้มรสกันทุกวัน ลองตามอ่านดูว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง
- ต้องปลูกหม่อนอย่างน้อย 4 ต้น ถามว่าจะปลูกมากกว่านี้ได้หรือไม่ คำตอบคือได้ครับ เช่น เพิ่มเป็น 8 ต้นหรือ 12 ต้น จะทำให้หม่อน 2-3 ต้น มีผลสุกพร้อมให้เก็บผลผลิตเหลื่อมกันตลอด เป็นการประกันว่าจะมีผลหม่อนให้เรารับประทานแบบไม่ขาดช่วง แม้อาจจะมีปัจจัยเสี่ยงเกิดขึ้น เช่น สภาพอากาศร้อนจัด ทำให้ผลร่วงก่อนกำหนด ฯลฯ
- ต้องโน้มกิ่งหม่อนปีละ 1 ครั้ง รายละเอียดดังแผนภูมิและรูปภาพ
- ต้องตัดกิ่งแขนงต้นหม่อนให้ออกกิ่งใหม่ทุกปีๆละ 2 ครั้ง พร้อมรูดใบออก ดูรายละเอียดระยะการตัดแต่งแต่ละต้นตามแผนภูมิและรูปภาพ
- เก็บผลผลิตผลหม่อน ได้ทั้งในระยะผลห่าม (ผลมีสีแดงประมาณ 50% และสีม่วงประมาณ 50%) หรือระยะผลสุก(สีม่วงดำทั้งผล) ตามความต้องการว่าต้องการผลหม่อนรสหวานอมเปรี้ยว หรือหวานจัด มีระยะเวลาการเก็บผลได้ต้นละประมาณ 1 เดือน
หม่อนแต่ละต้นต้องเป็นอิสระต่อกัน
ตามแผนภูมิการปลูกหม่อนผลสดจำนวน 4 ต้น เราสามารถปลูกพร้อมกันได้ ถ้าสามารถให้น้ำต้นหม่อนได้ เราจะปลูกต้นหม่อนเดือนไหนก็ได้ แต่การปลูกจะให้เจริญเติบโตเร็วก็ควรปลูกในช่วงฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป การปลูกในปีแรกควรปล่อยให้ต้นหม่อนเลี้ยงลำต้นให้แข็งแรง เมื่อครบปีหรืออาจไม่ครบปีแต่กิ่งหม่อนแก่แล้วจึงจะทำการโน้มกิ่งได้ เพื่อให้หม่อนติดดอกออกผล ถ้าต้องการให้ต้นหม่อนมีตอสวยงาม ไม่มีตอเล็กตอน้อยมากเกินไปให้ตัดกิ่งไว้ตอ 1-3 ตอ ให้สูงจากพื้นดินประมาณ 80-100 เซนติเมตร
เมื่อกิ่งใหม่แตกออกแล้วมีอายุ 6-12 เดือน ก็เริ่มโน้มกิ่งเพื่อให้ผลิดอกออกผลได้ และทำการตัดแขนงทุกๆ 4 เดือน โดยกิ่งยังถูกโน้มไว้เช่นเดิม พูดง่ายๆคือหม่อนแต่ละต้นจะถูกบังคับให้ออกผลปีละ 3 ครั้ง ในช่วงระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป ดังแผนภูมิที่ 1, 2 และ 3
เมื่อเข้าใจว่าจะต้องทำอะไร อย่างไร คร่าวๆแล้ว เราไปลงมือปลูกหม่อนผลสดกันเลยนะครับ
การปลูกต้นหม่อนผลสด
- ระยะปลูก อาจปลูกเป็นแถว แต่ละต้นห่างกัน 4 เมตร เพื่อเผื่อรัศมีทรงพุ่มไว้อย่างน้อย 2.00 เมตร หรือจะปลูกในแปลงพื้นที่สี่เหลี่ยมด้วยระยะปลูก 4.00 x 4.00 เมตรก็ได้
- การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมลึก 50 x 50 x 50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 10 กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาว ประมาณ 1 กิโลกรัมต่อหลุม และปุ๋ยเคมี สูตร 15-15-15 อัตรา 250 กรัมต่อหลุม หรือจะให้แม่นยำต้องใส่ตามค่าการวิเคราะห์ดิน คลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วกลบหลุมด้วยหน้าดินให้พูนเล็กน้อย
- วิธีการปลูก ขุดดินบนหลุมที่เตรียมไว้ให้ลึกพอประมาณ แล้วนำต้นหม่อนที่เตรียมไว้ด้วยวิธีการต่างๆลงปลูกกลบดินให้แน่น
- การบังคับทรงต้น ต้นหม่อนที่ปลูกจากกิ่งชำชนิดล้างราก หรือชนิดชำถุง หรือปลูกด้วยท่อนพันธุ์จากกิ่งพันธุ์โดยตรง เมื่อต้นหม่อนเจริญเติบโตได้ประมาณ 6-12 เดือน จะต้องบังคับทรงพุ่มโดยตัดแต่งกิ่งให้เหลือเพียงกิ่งเดียวไว้เป็นต้นตอ มีความสูงประมาณ 80-100 เซนติเมตร จากพื้นดิน ปล่อยให้หม่อนแตกกิ่งใหม่หลายๆกิ่ง เก็บกิ่งที่สมบูรณ์ไว้ กิ่งที่ไม่สมบูรณ์ให้ตัดทิ้งเพื่อให้ด้านล่างโปร่ง ง่ายต่อการปฏิบัติดูแลรักษาด้านเขตกรรมต่างๆ เช่น การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย การพรวนดิน การตัดแต่งกิ่งแขนงและการเก็บเกี่ยวผลผลิต เป็นต้น อนึ่งสำหรับหม่อนที่ปลูกในปีแรกๆ ลำต้นและระบบรากยังเจริญเติบโตไม่มาก อาจจะหักล้มได้ง่าย ดังนั้นจะต้องทำการยึดลำต้นไว้ด้วยไม้ หรือไม้ไผ่ให้แน่นหนา
- การใส่ปุ๋ย ในปีที่ 2 ให้ใส่ปูนขาวหรือปูนโดโลไมท์ตามการวิเคราะห์ความต้องการปูนขาวของดินเพิ่ม ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในอัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น ร่วมกับปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 250 กรัมต่อต้น
- การให้น้ำ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้น้ำหม่อนในระยะที่หม่อนติดผลแล้ว (โดยปกติจะมีฝนหลงฤดูหรือฝนชะช่อมะม่วงผ่านเข้ามา จะทำให้ต้นหม่อนแตกตาติดดอก ถ้าไม่มีฝนหลงฤดู หลังโน้มกิ่ง รูดใบ ต้องให้น้ำกระตุ้นการแตกตาแทนน้ำฝน) หากขาดน้ำจะทำให้ผลหม่อนฝ่อก่อนที่จะสุก หรือทำให้ผลหม่อนมีขนาดเล็ก
- การตัดแต่งกิ่งและการดูแลรักษาทรงพุ่ม ตัดเฉพาะกิ่งแขนงที่ไม่สมบูรณ์และเป็นโรคทิ้ง เพื่อลดการสะสมโรคและแมลการบังคับให้หม่อนติดผลนอกฤดูกาล ใช้วิธีการบังคับต้นหม่อน เพื่อให้ได้ผลผลิตผลหม่อนในระยะเวลาที่ต้องการ มีวิธีการดังนี้
1) ทำการโน้มกิ่งหม่อนที่ปลูกแบบทรงพุ่ม โดยการโน้มกิ่งให้ปลายยอดขนานกับพื้น หรือโน้มลงพื้นดิน รูดใบหม่อนออกให้หมด พร้อมทั้งตัดยอดส่วนที่เป็นกิ่งสีเขียวออกยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ใช้เชือกผูกโยงติดไว้กับหลักไม้ไผ่ ซึ่งปักไว้บนพื้นดินสำหรับยึดเชือกไว้
2) หลังการโน้มกิ่ง 8-12 วัน ดอกหม่อนจะแตกออกพร้อมใบ จากนั้นจะมีการพัฒนาการของ ผลหม่อน โดยผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาว สีชมพู สีแดง และสีม่วงดำ ตามลำดับ โดยใช้เวลาประมาณ 45-60 วัน ผลจะเริ่มแก่และสุก สามารถเก็บไปรับประทานสดหรือนำไปแปรรูปได้ มีระยะเวลาในการเก็บผลประมาณ 30 วันต่อต้น เพราะผลหม่อนจะทยอยสุก เนื่องจากออกดอกไม่พร้อมกัน
เมื่อต้นหม่อนมีอายุตั้งแต่ 2 ปี เป็นต้นไปจะให้ผลผลิตผลหม่อนประมาณ 1.5-35 กิโลกรัม(ประมาณ 750-1,850 ผลต่อครั้งต่อต้น) เพียงพอต่อการบริโภคผลสดทั้งครอบครัวทุกวัน ตลอดปี ซึ่งร่างกายต้องการวันละ 10-30 ผลเท่านั้น อีกทั้งยังมีผลหม่อนสดไว้แปรรูปเป็นอาหารและเครื่องดื่มได้อีกหลายชนิด เช่น น้ำหม่อน แยมหม่อน เชอเบทหม่อน ฯลฯ ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ สำหรับผู้รักสุขภาพทุกท่านที่จะปลูกหม่อนไว้รับประทานเอง หากสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ก็ติดต่อมาได้ที่กรมหม่อนไหม จตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 089-4476600 ในหรือนอกเวลาราชการก็ยินดีครับ
บรรณานุกรม
ธเนศ จันทน์เทศ, จินตนาภรณ์ วัฒนธร, สุภาพร มัชฌิมะปุระ, วิโรจน์ แก้วเรือง, เทอดไทย ทองอุ่น, ศุภชัย ติยวรนันท์, นงนุช เอื้อบัณฑิต, จิณัติตา จิตติวัฒน์, ณกรณ์ ไกรอนุพงษา และ สุกานดา คำปลิว. 2555. การศึกษาศักยภาพในการแปรรูปผลหม่อนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพในการป้องกัน และลดการทำลายของเซลล์ประสาทและความบกพร่องของความจำใน Alzheimer’s disease. การประชุมวิชาการหม่อนไหม ประจำปี 2555. กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
วสันต์ นุ้ยภิรมย์. 2546. หม่อนรับประทานผลและการแปรรูป. สถาบันวิจัยหม่อนไหม กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. นันทกานต์กราฟฟิคการพิมพ์. 74 หน้า
วิโรจน์ แก้วเรือง. 2552. ภูพยัคฆ์ แหล่งผลิตหม่อนผลสดรสเลิศ. จดหมายข่าวเส้นไหมใบหม่อน ปีที่4 ฉบับที่ 4
สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ที่มา : น.ส.พ.กสิกร ปีที่ 86 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม-มิถุนายน 2556 โดย วิโรจน์ แก้วเรือง และวิเชียร ขวัญอ่อน
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท ไร่นายจุล คุ้นวงศ์ จำกัด สาขา สำนักงานใหญ่
442 หมู่ที่ 3 ถ.สามัคคีชัย ต.วังชมภู อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ 67210
โทรศัพท์ 056-771101-4 ต่อ 135-136
แฟกซ์ 056-771536
หรือเว็บไซค์ http://www.chulthai.com/---ซื้อปลาส้มกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น